โรงพยาบาลนนทเวช รักษาผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช และมะเร็งทางนรีเวช อย่างมืออาชีพ

Pacraa

ขีดเขียนหน้าใหม่ (49)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:55
เมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563 10.43 น.

  

 

          หนึ่งอาการที่สร้างความกวนใจให้คุณผู้หญิงอยู่เสมอ นั่นคืออาการปวดท้องน้อย ปวดประจำเดือน บางคนถึงขั้นต้องลางานเวลาถึงวันนั้นของเดือน หลายคนจะคิดว่าการปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือนนั้นเป็นเรื่องปกติ บางครั้งรับประทานยาแก้ปวดก็จะดีขึ้น แต่ก็มีหลายรายที่อาการปวดท้องประจำเดือนจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดไปหลัง เอว ก้นกบ ปวดร้าวไปที่หน้าขามีอาการท้องอืดท้องบวม เวลามีระดูจะถ่ายอุจจาระเหลวหรือท้องเสีย บางรายถ่ายอุจจาระจะปวดเบ่งปวดถ่ายมากกว่าช่วงไม่มีประจำเดือน บางคนเวลามีประจำเดือนจะปวดปัสสาวะบ่อยมากขึ้น  ปัสสาวะขัดหรือเวลามีเพศสัมพันธ์จะเจ็บท้องน้อย เจ็บมดลูก ซึ่งปกติแล้วไม่ควรมี

          อาการปวดประจำเดือนอาจจะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคบางอย่างที่ได้ เช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่, เยื่อบุโพรงมดลูกแทรกในกล้ามเนื้อ, เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก, พังผืดในอุ้งเชิงกราน, การอักเสบติดเชื้อ, ตั้งครรภ์นอกมดลูก หรืออาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้

 

          โรงพยาบาลนนทเวชเป็นอีกหนึ่งโรงพยาบาลที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคของสตรีทุกช่วงวัย ด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ พร้อมให้การรักษาความผิดปกติจากอาการปวดท้องน้อย ปวดประจำเดือน ตกขาว และอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ของสตรี ซึ่งอาจเป็นสาเหตุมาจากการคลอดลูกเองหรือมีอายุมากกว่า 50 ปี ให้การรักษาผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช และมะเร็งทางนรีเวช

 

เมื่อลองมองย้อนกลับไปในอดีตหากพูดถึงการรักษาด้วยการผ่าตัด หลายคนคงรู้สึกวิตกกังวลเรื่องอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด จึงไม่แปลกที่คนไข้หลายรายจะปฏิเสธการรักษาด้วยวิธีนี้แล้วหันไปพึ่งวิธีอื่นแทน แต่ปัจจุบันวิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง จึงเป็นอีกทางเลือกที่จะตอบโจทย์ของผู้ป่วย เป็นวิธีที่กระทบกระเทือนต่ออวัยวะภายในน้อยและแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ผู้ป่วยจึงฟื้นตัวได้เร็ว หมดปัญหาหน้าท้องมีแผลยาวไม่สวยงาม สามารถกลับไปทำงานและทำกิจวัตรประจำวันตามปกติได้เร็วกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบเดิม

 

     เทคโนโลยีนี้เหมาะสำหรับผ่าตัดรักษาโรคทางนรีเวช ทั้งโรคซีสต์ ช๊อกโกแลคซีสต์ ผ่าตัดซีสต์ เนื้องอกในโพรงมดลูก เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกและรังไข่ การผ่าตัดไส้ติ่งทางหน้าท้อง เลาะผังผืดในอุ้งเชิงกราน การฉีดสีตรวจดูท่อนำไข่ การผ่าตัดในกรณีตั้งครรภ์นอกมดลูก ผ่าตัดมดลูก ประจำเดือนมากผิดปกติจากเยื่อบุโพรงมดลูกหนา เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การผ่าตัดทำหมัน การผ่าตัดเนื้องอกถุงน้ำรังไข่ ค้นหาสาเหตุภาวะมีบุตรยาก เนื้องอกหรือติ่งเนื้อในโพรงมดลูก พังผืดในโพรงมดลูก

 

การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช มี 2 ประเภท

  1. 1. การผ่าตัดผ่านกล้องทางหน้าท้อง (Laparoscopic Surgery) เป็นการใช้กล้องส่องเข้าไปเพื่อการวินิจฉัย และทำการผ่าตัดภายในช่องท้อง
  2. 2. การผ่าตัดผ่านกล้องในโพรงมดลูก (Hysteroscopic Surgery) เป็นการใช้กล้องส่องดูความผิดปกติของโพรงมดลูกโดยผ่านทางปากมดลูกเพื่อการวินิจฉัย และการผ่าตัด

การตรวจวินิจฉัย ด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์ช่องคลอด (Vagina Ultrasound) เพื่อดูความผิดปกติของมดลูก ปีกมดลูก และรังไข่ ซึ่งเป็นสาเหตุ ของโรคและนำมาซึ่งการรักษาผ่าตัดทางนรีเวช

 

อาการของโรค

     ปวดประจำเดือน ปวดท้องน้อยมาก หรือมีอาการร่วม เช่น ปวดร้าวไปหลัง เอว ก้นกบ ปวดลงขา เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะบ่อยขัด ถ่ายอุจจาระลำบาก ปวดเบ่งมากในขณะมีระดู เลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก เลือดปจะจำเดือนออกมาก ออกนาน ปวดท้องน้อยเรื้อรัง มีบุตรยากโดยยังหาสาเหตุไม่พบ

 

ผ่าตัดผ่านกล้องเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Myoma uteri)

ผ่าตัดผ่านกล้องเนื้องอกรังไข่ (Ovarian tumor)

ผ่าตัดผ่านกล้องถุงน้ำรังไข่ (Ovarian cyst)

ผ่าตัดผ่านกล้องช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate cyst)

ผ่าตัดผ่านกล้องเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

ผ่าตัดผ่านกล้องพังผืดในอุ้งเชิงกราน (Pelvic adhesion)

ผ่าตัดผ่านกล้องตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy)

ผ่าตัดผ่านกล้องท่อนำไข่อุดตัน (Tubal obstruction)

ผ่าตัดผ่านกล้องหาสาเหตุภาวะมีบุตรยาก (Infertility)

ผ่าตัดผ่านกล้องเนื้องอกหรือติ่งเนื้อในโพรงมดลูก (Polyp,myoma)

ผ่าตัดผ่านกล้องพังผืดในโพรงมดลูก (Uterine synechiae)

ผ่าตัดผ่านกล้องผนังกั้นกลางในโพรงมดลูก (Septate uterus)

ผ่าตัดผ่านกล้องการทำหมันหญิง (Tubal Sterilization)

ผ่าตัดผ่านกล้องห่วงอนามัยทะลุเข้าช่องท้อง (Perforated IUD)

ผ่าตัดผ่านกล้องการตัดมดลูกออกเนื่องจากสาเหตุต่างๆ (Hysterectomy)

ผ่าตัดผ่านกล้องมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก (Early stage of Cervical cancer)

ผ่าตัดผ่านกล้องมะเร็งรังไข่ในระยะต้น (Early stage of Ovarian cancer)

ผ่าตัดผ่านกล้องมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial cancer)

ผ่าตัดผ่านกล้องเนื้องอกถุงน้ำรังไข่ ชนิดที่ไม่เป็นมะเร็งหรือช็อกโกแลตซีสต์ที่มีขนาดใหญ่ สามารถ        ผ่าตัดผ่านกล้องทางแผลผ่าตัดเล็กได้

ผ่าตัดผ่านกล้องเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก (Myomectomy) ขนาดใหญ่ซึ่งเป็นเนื้อตัน สามารถผ่าตัดผ่านกล้องด้วยการใช้เครื่องมือชนิดพิเศษที่ตัดย่อยชิ้นเนื้อเป็นชิ้นเล็กๆ เอาออกผ่านแผลเล็กๆ และสามารถเย็บปิดโดยผ่านกล้อง

ผ่าตัดผ่านกล้องกรณีที่มีข้อบ่งชี้ในการตัดมดลูก (Hysterectomy ) การผ่าตัดผ่านกล้องมีวิธีให้เลือก เช่น ตัดมดลูกออกโดยเหลือปากมดลูกไว้ ตัวมดลูกจะเอาออกโดยเครื่องตัดย่อยชิ้นเนื้อ หรือการตัดมดลูกออกพร้อมปากมดลูกโดยเอาออกทางช่องคลอด เย็บปิดโดยผ่านกล้อง

 

ผลดีของการผ่าตัดผ่านกล้องเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบธรรมดา

-แผลผ่าตัดเล็กกว่า โดยแผลยาวประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร

-เจ็บแผลน้อยกว่ามาก เนื่องจากความบอบช้ำจากการผ่าตัดน้อยกว่า

-ระยะเวลาพักฟื้นน้อยกว่าสามารถกลับไปทำงานหรือกิจวัตรประจำวันได้ภายใน 5-10 วัน

-โอกาสเกิดพังผืดจากการผ่าตัดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง

-พักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน

-อาการแทรกซ้อนจากแผลผ่าตัด เช่น แผลอักแสบ แผลแยก แผลเป็นหนอง จะน้อยกว่าผ่าตัดใหญ่มาก

 

 

 

 

 

ศูนย์มะเร็งทางนรีเวช

การบริการ

  1. 1. การตรวจสุขภาพทางนรีเวช หรือ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งของระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี
  • ตรวจมะเร็งปากมดลูก โดยใช้วิธี Liquid – Based Cytology (LBC) เช่น Thin Preb, Sure Path ซึ่งสามารถค้นหามะเร็งในระยะแรกเริ่มได้มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีเดิมที่เคยตรวจกันมา
  • การตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด (Vaginal Ultrasound) เพื่อสืบค้นรอยโรคที่ซ่อนเร้น แลสามารถค้นหาเนื้องอกมดลูก ถุงน้ำรังไข่ ช็อคโกแล็ตซีสต์ เนื้องอกรังไข่ มะเร็งรังไข่ ในระยะเริ่มแรกได้เร็วยิ่งขึ้น โอกาสในการรักษาหายจึงเพิ่มมากขึ้น
  • การตรวจชนิดของเชื้อไวรัส HPV ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก โดยวิธี HPV DNA ใช้ร่วมกับการตรวจ Liquid Based Cytology (LBC) Pap Smear ทำให้สามารถค้นหาความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก และแพทย์จะรักษาให้หายขาดได้โดยง่ายก่อนที่มะเร็งปากมดลูกจะเกิดขึ้น
  • การส่องกล้องตรวจความผิดปกติของปากมดลูก แล้วนำเนื้อเยื่อที่ผิดปกติมาตรวจทางพยาธิวิทยา (Colposcopy) มีประโยชน์อย่างมากในการตรวจหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่สงสัยเป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก โดยทั่วไปนิยมส่องกล้องตรวจในผู้ที่พบความผิดปกติจากการตรวจ LBC

2.การตัดเนื้อปากมดลูกตรวจโดยใช้กล้องคอลโปสโคปช่วย (Colposcopic Directed Biopsy)

3.การจี้เย็น (Cryosurgery) คือการทำลายมะเร็งโดยทำให้บริเวณที่เป็นมะเร็งเย็นจนเป็นน้ำแข็ง

4.การผ่าตัดเซลล์ที่ผิดปกติออกจากมดลูกด้วยลวดไฟฟ้า (Loop Electrosurgical Excision Procedure) หรือ LEEP เป็นการใช้ห่วงโลหะบางๆ ซึ่งมีกระแสไฟฟ้าผ่านผ่าตัดเอาเซลล์ที่ผิดปกติออกจากมดลูก

5.การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) คือการใช้ยาต้านมะเร็ง ซึ่งสามารถผ่านไปถึงทุกส่วนในร่างกายเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งรวมทั้งเซลล์มะเร็งที่แพร่กระจายไปในอวัยวะอื่นๆ โดยมีแผนกเคมีบำบัด ภายใต้การดูแลของทีมผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการอบรมเฉพาะทาง

  1. 6. การผ่าตัด (Surgery) ทั้งการผ่าตัดผ่านกล้องเพื่อรักษามะเร็งนรีเวช (Laparoscopic Gynecological Cancer Surgery) และการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (Open Gynecological Cancer Surgery)

 

นอกจากนี้ยังมีบริการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน และช่วยลดอุบัติการณ์เกิดมะเร็งจากนรีเวช

  1. 1. ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก สามารถรับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อรับวัคซีนได้ตั้งแต่ 9-55 ปี

2.การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Thin Prep Pap Test / Pap Smear หรือร่วมกับการตรวจไวรัส HPV กลุ่มเสี่ยงสูงปีละ 1 ครั้ง เพื่อวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะแรก ช่วยลดอุบัติการณ์เกิดมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามได้

 

หากท่านมีลักษณะหรืออาการดังต่อไปนี้ ?

- ผู้หญิงทุกคนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป

- มีเพศสัมพันธ์มากกว่า 3 ปี

- มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย

- สูบบุหรี่

- ทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน

- การตั้งครรภ์หลายครั้ง

- ประจำเดือนมาผิดปกติ

- มีเลือดออกจากช่องคลอดเมื่อมีเพศสัมพันธ์

- ตกขาวมีสีและผิดปกติ

 หากว่าท่านมีลักษณะหรืออาการดังกล่าวตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป ท่านมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งสตรีได้ในอนาคต ควรปรึกษาแพทย์ทางนรีเวชเพื่อรับคำแนะนำ หรือรับการตรวจคัดกรองมะเร็งสตรี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 อย่างไรก็ตามคุณผู้หญิงทุกท่านไม่ควรนิ่งนอนใจต่ออาการผิดปกติต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งอาจนำพาไปสู่โรคร้าย ควรดูแลสุขภาพตัวเองอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นการรับประทานที่มีประโยชน์, การออกกำลังกาย และเฝ้าสังเกตความผิดปกติของร่างกายหากพบความผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาได้อย่างทันถ่วงที รู้เร็ว รักษาได้

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nonthavej.co.th/Gynecologic-Laparoscopic-Surgery-Center-section1.php

#มะเร็งทางนรีเวช ,ศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช ,โรงพยาบาลนนทเวช 

Misumisou

เด็กใหม่ (2)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST: 4
1 เมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563 14.26 น.
Thank a lot for infomation.
หน้า จาก 1 ( 1 ข้อมูล )
แสดงจำนวน ข้อมูลต่อแถว
1

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา