มาทำความรู้จักโรคนิ้วล็อค โรคฮิตของคนส่วนใหญ่ในวัยทำงาน
หลาย ๆ คนในวัยทำงานมักจะเจอปัญหา โรคนิ้วล็อค กันเยอะมาก เพราะส่วนใหญ่ต้องใช้มือในการเกร็งทำงานเป็นเวลานาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพครูที่จะต้องจับปากกา หรือชอล์กเขียนกระดานเป็นเวลานาน หรือช่างตัดผมที่จะต้องใช้มือ หรือนิ้ว ในการจับกรรไกรไว้ตลอด ซึ่งการหยิบจับสิ่งของ หรือใช้อุปกรณ์เป็นเวลานานเป็นต้นเหตุของการเกิดอาการนิ้วล็อคได้ แต่ในปัจจุบันโรคนิ้วล็อคไม่ได้เป็นแค่วัยทำงานเท่านั้น แต่ยังเกิดกับคนที่ใช้สมาร์ทโฟนนาน ๆ ได้เนื่องจากการออกแรงกำแน่น ๆ แล้วทำต่อเนื่องกันซ้ำ ๆ เป็นเวลาครั้งละนาน ๆ ก็ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้ อีกด้วยเช่นกัน
โรคนิ้วล็อค
“ เป็นความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ อาจเป็นนิ้วเดียวหรือหลายนิ้วภาวะนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่ปลอกเอ็นบริเวณข้อโคนนิ้วหนาตัวขึ้น เอ็นบวม ทำให้ปลอกรัดเอ็นมากขึ้น ”
สาเหตุ
อาจเกิดจากการใช้แรงงอนิ้วมาก ๆ หรือกำนิ้วแน่นมาก ๆ ทำให้เกิดการเสียดสีบริเวณปลอกหุ้มเอ็นมาก ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลง หรือการเสื่อมของเซลล์ร่วมด้วย พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบได้บ่อยร่วมกับโรคเบาหวาน รูมาตอยด์
อาการแบ่งเป็น
ระยะที่ 1 : มีอาการปวดตึง งอสะดุดบ้าง กดเจ็บบริเวณข้อโคนนิ้วทางด้านหน้ายังงอเหยียดได้เต็มที่
ระยะที่ 2 : งอนิ้วสะดุดนิ้วติดเหยียดไม่ออกต้องช่วยง้างออก
ระยะที่ 3 : งอนิ้วไม่ได้ หรืองอได้แล้วนิ้วติดเหยียดไม่ออกต้องช่วยง้างออก
การรักษา
อาการระยะที่ 1 และ 2
อาจรักษาหายได้โดย
- การกินยา NSAID
- แช่น้ำอุ่น
- ทายา ค่อย ๆ บริหารเหยียดนิ้วทุกวัน
อาการขั้นที่ 3 และ 4
- ฉีดยาสเตียรอยด์ เข้าบริเวณปลอกหุ้มเอ็น ซึ่งจะต้องผสมยาชาเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยปวดมาก
- บริหารเหยียดนิ้ว และไม่ควรฉีดยาเกิน 2 ครั้ง ถ้าไม่หายหรือหายแล้วกลับมาเป็นซ้ำอีก แนะนำให้ผ่าตัด เนื่องจากการฉีดยาบ่อย ๆ จะทำให้เอ็นเปื่อยและขาดได้
การผ่าตัดรักษา
ควรผ่าตัดในห้องผ่าตัด ใช้ยาชาฉีดบริเวณแผลผ่าตัด เปิดแผลด้านหน้าข้อโคนนิ้วที่จะผ่าตัด แยกหลอดประสาทออกไปด้านข้างจนเห็นปลอกหุ้มเอ็นชัดเจน ใช้ใบมีดตัดปลอกหุ้มเอ็น จากนั้นเย็บปิด
แผล ผู้ป่วยจะงอนิ้วได้ปกติทันทีโอกาสเกิดข้อแทรกซ้อนแทบไม่มีเลย
การดูแลหลังผ่าตัด
ผู้ป่วยควรกำมือบ่อย ๆ และยกมือสูง ๆ ไม่ควรให้แผลถูกน้ำ โดยทั่วไปจะตัดไหมประมาณ 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด
การป้องกันโรคนิ้วล็อค
1. ไม่หิ้วของหนักเช่น ถุงพลาสติก ตะกร้า ถังน้ำ แต่หากจำเป็นควรมีผ้าขนหนูรอง และให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือหรือใช้วิธีอุ้มประคองหรือนำใส่ รถลาก
2.ไม่ควรบิดผ้าแรงๆ เพราะจะทำให้ปลอกหุ้มเอ็น บวมซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโรคนิ้วล็อคควรซักผ้าด้วยเครื่อง
- นักกอล์ฟที่ต้องตีแรง ตีไกล ควรหลีกเลี่ยงใช้ก้านเหล็กตีกอล์ฟขณะปวด ควรเปลี่ยนก้านไม้กอล์ฟเป็นก้าน Fiber ชั่วคราว
- หลีกเลี่ยงงานที่มีแรงสั่นสะเทือน หรือควบคุมเครื่องจักรเช่น ไขควง กรรไกรตัดกิ่งไม้ เลื่อย ค้อน ควรใส่ถุงมือหรือหุ้มด้ามจับให้นุ่มขึ้น
- ควรหลีกเลี่ยงการยกของด้วยมือเปล่า และควรใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถเข็น รถลาก
- งานที่ต้องทำต่อเนื่องนาน ๆ ควรพักมือเป็นระยะ
วิธีคลายปวดจากข้อนิ้วล็อค
1. ขยับนิ้ว+แช่มือในน้ำอุ่นตอนเช้า ๆ 5-10 นาที
2. เมื่อต้องกำ หรือจับสิ่งของแน่น ๆ ควรดัดแปลงอุปกรณ์ให้ด้ามจับนุ่มขึ้น
การป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อคคือ เราต้องเข้าใจว่าโรคนิ้วล็อคเป็นความเสื่อมของร่างกายอย่างหนึ่ง เหมือนกับการที่เรามีผมหงอก เหมือนข้อเสื่อม แต่นิ้วล็อคเป็นการเสื่อมของเส้นเอ็น ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้งานหนักของเส้นเอ็นมากที่จนเกินไป โดยเฉพาะท่าที่ต้องกำมือแน่น ๆ เช่น การบิดผ้าให้แห้งมาก ๆ หรือกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อมือเพื่อให้กำแน่น ๆ และควรบริการกล้ามเนื้อมือและนิ้วบ่อย ๆ เพื่อเป็นการออกกำลังกายเส้นเอ็น
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือจำเป็นต้องการรักษาโรคนิ้วล็อค โรงพยาบาลนนทเวช ยินดีให้การรักษาโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เฉพาะทางศัลยกรรมกระดูกสันหลัง
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nonthavej.co.th/Trigger-Finger.php
#โรคนิ้วล็อค, โรงพยาบาลนนทเวช
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้