แปรรูปรอบ 2 ปตท. เพื่อใคร?

kamponsuwannawong

ขีดเขียนชั้นอนุบาล (91)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:93
เมื่อ 6 มกราคม พ.ศ. 2563 15.19 น.

OR ไม่ใช่การแปรรูปรอบ 2 ปตท.
     ในปี พ.ศ. 2544 ปตท.ได้เข้าสู่กระบวนการแปลงสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายในรูปบริษัทมหาชน จำกัด ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 และช่วงปลายปีเดียวกัน บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ก็ได้ดำเนินการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการกระจายหุ้นจำหน่ายให้แก่ประชาชนและเอกชนโดยทั่วไป จนปัจจุบันบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทมหาชน โดยมีรัฐบาล(กระทรวงการคลัง) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่สัดส่วนประมาณร้อยละ 51 และตกอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การดำเนินธุรกิจอย่างเดียวกันกับเอกชนที่ประกอบกิจการทำนองเดียวกัน ทั้งในเรื่องการต้องขออนุญาตประกอบกิจการ การเช่าที่ดินของรัฐเพื่อการดำเนินงาน การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีอื่น ๆ การไม่มีอำนาจพิเศษที่จะบังคับเหนือนิติบุคคลเอกชนอื่น รวมตลอดไปถึงการไม่มีสถานะเป็นหน่วยงานทางปกครองที่จะต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครอง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ด้วย

     เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวเรื่องของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) จะนำบริษัทลูกเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อีกหนึ่งบริษัท นั้นคือ บริษัท ปตท.น้ำมัน และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือเรียกอีกชื่อว่า โออาร์ ซึ่งมีกระแสทัดทานจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเรื่องการนำเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ จึงเป็นที่มาของคำว่าแปรรูปรอบสองขึ้นมาในฟากฝั่งผู้ที่เป็นขาประจำของกลุ่มองค์กรที่ไม่ใช่ของรัฐที่เราคุ้นเคยว่า NGO ที่ตั้งตัวขึ้นมาเพื่อมีบทบาทในสังคมยกตัวเป็นผู้นำทำเพื่อสังคมด้านพลังงาน ขาประจำที่คุ้นเคยกันด้านพลังงานก็จะเป็น กลุ่ม เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย หรือที่เรียกว่า คปพ. ซึ่งหยิบยกประเด็นขึ้นมาโจมตีก็จะใช้คำว่า “แปรรูปรอบสอง” เป็นวลีเด็ด แล้วตามมาว่า “ขายสมบัติชาติ”

     ตามวิธีปฏิบัติแล้วรัฐบาลจะมีหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลกิจการรัฐวิสาหกิจที่ชื่อว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักในการบริหาร พัฒนา เพิ่มมูลค่ารัฐวิสาหกิจ และหลักทรัพย์ของรัฐ ตลอดจนการดำเนินงานเกี่ยวกับการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน และรัฐบาลยังกำหนดให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องรัฐวิสาหกิจนั้นๆดูแล อย่าง ปตท.ก็จะมีกระทรวงพลังงานกำกับดูแลอีกทีหนึ่ง ถ้าเป็นการท่าอากาศยานและการบินไทยจะมีกระทรวงคมนาคมกำกับดูแลอยู่ด้วย เพราะฉะนั้นการทำอะไรก็ต้องมีลำดับขั้นตอน อีกทั้งกระบวนการนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็ยิ่งมีการตรวจสอบขั้นตอนมากมายจนยากที่จะกระทำผิดหรือไม่มีความรอบคอบ อย่างเช่นหากจะนำบริษัทลูกเข้าจดทะเบียน

     ในกรณีนี้ขอยกตัวอย่างโออาร์ นะครับ ทางปตท.ต้องมีการประชุมบอร์ดเพื่อแยกบริษัทลูกออกจดทะเบียนเมื่อมีมติเห็นชอบสียงส่วนใหญ่ ก็ต้องผ่านประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติอีกครั้งเมื่อเสียงส่วนใหญ่ยอมรับแล้ว ก็จะทำเรื่องไปที่กระทรวงการคลังกับกระทรวงพลังงานเพื่อขอความเห็นชอบ รัฐบาลก็ต้องนำเข้าประชุมครม.เพื่อขอความเห็นชอบ ถ้าผ่านก็ต้องยื่นเรื่องไปที่ตลาดหลักทรัพย์และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.) เพื่ออนุมัติอีกครั้งหนึ่ง ขั้นตอนการตรวจสอบและอนุมัติมากมายอย่างนี้จะมีการทุจริตหรือข้อครหาตรงไหนอีกครับ จะบอกว่ารัฐบาลหรือ ปตท.ผิดก็ไม่ได้เพราะกระบวนการวิธีปฏิบัติก็มีกันอยู่แล้ว อีกทั้งปตท.ก็จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้ว จะว่าแปรรูปรอบสองก็ไม่ใช่ความจริง เป็นเพียงแค่การจัดองค์เพื่อแบ่งแยกความชัดเจนและเพื่อความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ หากินหลายๆบริษัทของรัฐวิสาหกิจก็ผิดทั้งหมดสิครับ ก็ขายสมบัติชาติทั้งหมดสิครับ ทั้งลำดับขั้นตอนและการตรวจสอบที่เข้มงวดขนาดนี้ ทางผู้เขียนเลยอยากจะให้เป็นที่เข้าใจกันนะครับว่าการที่นำข้อความว่า แปรรูปรอบสองบ้าง ขายสมบัติชาติบ้าง เป็นการปลุกกระแสความรักชาติแบบไม่รู้ให้ผู้คนเข้าใจผิดเพื่อต่อต้านและโจมตีมายังรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลเพื่อหวังผลทางการเมืองและแสวงหาตำแหน่งของคนที่หวังดีแต่ประสงค์ร้ายครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/or-ไม่ใช่การแปรรูปรอบ-2/

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา