จะเลี้ยงลูกให้ฉลาด คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมความพร้อมตั้งแต่แรกเกิด
บทบาทคุณพ่อคุณแม่ นอกจากทำให้เด็กๆ เติบโตแข็งแรงสมวัย การเลี้ยงลูกให้ฉลาด ก็เป็นอีกหนึ่งหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ ร่างกาย และสมองจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะช่วงวัยแรกเกิด - 6 ขวบ ลูกน้อยของคุณ สามารถเติบโตได้ไวถึง 90 % วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กๆ ในแต่ละช่วงวัยดังกล่าวมาฝากด้วยค่ะ
พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กตามช่วงวัยของลูกน้อย
ในแต่ละช่วงวัยของลูกน้อย จะมีพัฒนาการเจริญเติบโตและพฤติกรรมด้านต่างๆ ตามช่วงอายุที่เพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรให้ความสนใจ และกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยอยู่เสมอ ดังนี้ค่ะ
วัยแรกเกิด - 6 เดือน
ในช่วง 3 เดือนแรก เป็นช่วงรากฐานแห่งการเติบโตและต้องการการดูแลเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของลูกจะถูกพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และพัฒนาอย่างต่อเนื่องหลังแรกเกิด สมองช่วงนี้จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว สมองทุกส่วนจะพัฒนาพร้อมๆกัน จะเห็นพฤติกรรมพัฒนาการของเด็กชัดเจน เช่น การดูด การกางนิ้ว การพัฒนากล้ามเนื้อต่างๆ ลูกจะเริ่มจดจำใบหน้า คุณพ่อคุณแม่ได้ เด็กจะสื่อสารกับพ่อแม่ผ่านทาง ท่าทาง น้ำเสียง การหัวเราะ ร้องไห้ เริ่มจดจำเสียงพ่อแม่ได้ สามารถขยับตัวได้มาก เช่น พลิกตัว คว่ำหงาย และ นั่ง
6 - 12 เดือน
ช่วงนี้ร่างกายจะสร้างกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ให้แข็งแรงขึ้น เพื่อพัฒนาไปยังการใช้ร่างกายที่มากขึ้น เช่น เริ่มคลาน ตั้งไข่ และเดินกระเตาะกระแตะ ส่วนพัฒนาการทางสมอง จะมีพฤติกรรมชอบทำอะไรซ้ำๆ โดยช่วงนี้สมองส่วนความจำจะพัฒนาอย่างมาก เพื่อพร้อมสำหรับการเรียนรู้ทุกประเภท โดยจะสร้างความจำและมีการเรียนรู้จากพฤติกรรมของคนรอบข้าง เช่น การโบกไม้โบกมือ ก้มหัวสวัสดี พูดคำสั้นๆง่ายๆได้ อย่าง แม่ พ่อ กิน ช่วงวัยนี้คุณพ่อคุณแม่จะเห็นนิสัยที่ชัดเจนขึ้น จากกิจกรรมเล็กๆน้อยๆ ที่เจ้าตัวน้อยชอบทำนั่นเอง
วัย 1 ปี
ระยะนี้เป็นช่วงเวลาที่กำลังน่ารักและซนของลูกเนื่องจากสมองจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 30-40% ของผู้ใหญ่ เซลล์ต่างๆ มีการขยายอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ถือเป็นช่วงเริ่มต้นของวัยทองแห่งการเรียนรู้ นั่นคือพัฒนาการของเครือข่ายใยประสาท โดยสมองจะทำหน้าที่ประสานกันในการควบคุมร่างกาย ให้ยืน เดิน กระโดด ได้ดีขึ้น การรับข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 7 การประมวลข้อมูล และการตอบสนอง เป็นช่วงเริ่มต้นของการเลี้ยงลูกให้ฉลาดสมวัย และร่างกายที่เจริญเติบโตได้อย่างเต็มที เด็กจะจดจำคำศัพท์ได้เยอะขึ้น เริ่มพูดคำ 2-3 คำได้ หยิบอาหารกินเองได้ เริ่มเห็นนิสัยที่ชัดเจนมากขึ้น เดินได้ด้วยตัวเอง
วัย 2 ปี
ช่วงนี้เป็นช่วงเตรียมพร้อมก่อนเข้าโรงเรียนและมีพฤติกรรมชอบทำตามเด็กวัยเดียวกัน เด็กสามารถจดจำใบหน้าและชื่อคนทั่วไปได้ดี เพิ่มจำนวนการจดจำชื่อของคนในครอบครัวและเพื่อนบ้านหรือเพื่อนเล่นได้ รวมถึงสามารถบอกชื่อตัวเอง กินข้าวเองได้ ทำกิจกรรมง่ายๆ ด้วยตัวเอง เช่น ร้องเพลง เต้นตามจังหวะเป็นท่าทางต่างๆ
วัย 3 - 4 ปี
สมองเพิ่มน้ำหนักเป็น 60% และจะพัฒนาสติปัญญาให้เพิ่มขึ้นด้านสิ่งแวดล้อม กิจกรรม การเรียนรู้คำศัพท์ ภาษา ความอยากรู้อยากเห็น และความคิดที่มีเหตุผลมากขึ้น จะเริ่มมีคำถามที่ซับซ้อนขึ้น คุณแม่สามารถเสริมทักษะต่างๆ ให้ลูกได้ในช่วงเวลานี้ เช่น มีกิจกรรมร่วมกันกับเจ้าตัวน้อย เล่นเกม เล่านิทานเสริมจินตนาการ โดยเครือข่ายใยประสาทก็ยังพัฒนาต่อในช่วงวัยนี้ เพราะจะช่วยให้ลูกสามารถคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง เล่าเรื่องต่างๆที่พบเจอด้วยตนเองหรือจำจากที่คุณแม่เล่าได้ดีขึ้น
วัย 5 - 6 ปี
ช่วงวัยนี้เป็นช่วงที่สมองสั่งการให้เด็กๆ ควบคุมตัวเองได้ดีขึ้นมากแล้ว สามารถช่วยเหลือตัวเองได้แบบเด็กที่โตแล้ว มีการเรียนรู้ประสบการณ์ มีความจำ คิดคำนวณได้ เช่น การบวกเลขหลักเดียว สามารถอยู่ตามลำพังโดยไม่ต้องมีคนดูแลตลอดเวลาได้ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ คุณแม่ควรพาลูกออกไปพบกับผู้คน ได้ท่องเที่ยวในโลกกว้างได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ถือเป็นอีกปัจจัยที่จะช่วยเรื่องพัฒนาการสมอง พัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และสังคม เป็นไปในทางที่ดี
เพราะพัฒนาการด้านสมองและร่างกายมีความสัมพันธ์กัน คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับทั้งสองอย่างไปพร้อมๆ กัน เด็กที่มีพัฒนาการที่ดี ก็จะช่วยให้สุขภาพจิตดีไปด้วย ทั้งนี้เป็นพัฒนาการโดยรวมตามช่วงอายุปกติของเด็กเล็ก อาจจะมีช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่ หลังจากช่วงอายุนี้การสร้างเครือข่ายใยประสาทจะลดลงและส่วนที่ไม่ได้ใช้ก็จะถูกตัดแต่งให้หายไป เพราะฉะนั้นช่วงอายุ 0 – 6 ปี เป็นช่วงที่สำคัญในการพัฒนาสมองและร่างกายของลูก เป็นสิ่งสำคัญที่ห้ามมองข้ามเด็ดขาด คืออาหารที่ถูกหลักโภชนาการของลูกน้อย
“นม” อาหารที่เหมาะสมและจำเป็นต่อลูกน้อย
หากคุณแม่อยากเลี้ยงลูกน้อยให้เป็นเด็กฉลาดเติบโตและแข็งแรงสมวัย อาหารคือสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะวัยเริ่มต้น โดยเฉพาะช่วง 1-6 ขวบ เพราะจะส่งผลในระยะยาวโดยเฉพาะพัฒนาการสมอง อาหารที่คุณแม่เลือกจึงต้องมีประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองและร่างกายของลูกน้อย ถึงจะพัฒนาการของแต่ล่ะช่วงวัยที่แตกต่างกันแต่อาหารที่เหมาะสมและขาดไม่ได้คือ กรดอะมิโนและโอเมก้า 3,6 และ 9 ซึ่งมีอยู่ในนม เพราะ ‘นม’ ขึ้นชื่อว่าเป็น อาหารสำคัญที่สุดตั้งแต่แรกเกิด ในนมมีโปรตีนที่สำคัญมากต่อการพัฒนาร่างกายและสมองเด็ก รวมถึงสารอาหารที่สำคัญอย่าง ‘กรดอะมิโนจำเป็น’ หลังจากลูกน้อยหย่านมแม่แล้วต้องมั่นใจว่า นมที่เลือกมาให้ลูกน้อยทานต่อนั้นจะมีสารอาหารจำเป็นและมีกรดอะมิโนครบถ้วน นอกจากนี้ในนมยังมีสารอาหารที่สำคัญอื่นๆ ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟระบุไว้ว่ามีผลต่อการเจริญเติบโต สร้างภูมิคุ้มกัน และพัฒนาการสมองให้เฉลียวฉลาดทางสติปัญญา (IQ) และโภชนาการที่ดีจะยังส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ด้วย ได้แก่ แคลเซียม วิตามินเอ สังกะสี วิตามินอี โปรแตสเซียม วิตามินซี แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินดี
เด็กแต่ละคน แต่ละในช่วงวัย มีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป การเตรียมความพร้อมให้ลูกน้อยพร้อมรอบด้าน จำเป็นต้องไปรับสารอาหารที่ครบทั้ง 5 หมู่ รวมไปถึงนม ที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็น และโอเมก้า เพื่อให้สมองและร่างกายของลูกน้อยของคุณพัฒนาได้อย่างเต็มที่ เติบโตเฉลียวฉลาดสมวัยอีกด้วย
ขอบคุณขอบที่มาจาก : https://www.foremostthailand.com/บทความความรู้/การบริโภคนม/พัฒนาการและพฤติกรรมเด็กแต่ละช่วงวัยของลูกน้อย?utm_campaign=2019&utm_medium=content&utm_source=socialsubmision
โพสตอบ
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้