มหากาพย์ทวงคืนปตท. จะเป็นอย่างไร? มาดูกัน

kamponsuwannawong

ขีดเขียนชั้นอนุบาล (91)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:93
เมื่อ 9 เมษายน พ.ศ. 2562 15.02 น.



ผมหรือใคร ที่ให้ข้อมูลเรื่องท่อก๊าซคลาดเคลื่อน?
ที่นางสาวรสนา โตสิตระกูลโพสต์ในเฟสบุ๊คตั้งคำถามว่าบทความเรื่องท่อก๊าซของผม “มีข้อเท็จจริงที่น่าจะคลาดเคลื่อน หรือไม่” ผมขอยืนยันต่อสาธารณชนว่าสิ่งที่ผมเขียนเป็นไปตามข้อเท็จจริงครับ

1- “ปตท.” เป็นชื่อย่อของทั้ง การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ก่อนแปรรูปและหลังแปรรูป ที่ปัจจุบันชื่อเต็มว่า บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)

2- แต่ที่ น.ส.รสนาบอกว่า ปัจจุบันรัฐถือหุ้นใน ปตท.เพียง 51% นั้น คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เพราะนอกจากที่กระทรวงการคลังถือหุ้นตรง 51% แล้ว ยังมีอีก 12% ที่ถือโดยกองทุนวายุภักษ์*ของกระทรวงการคลัง (ณ วันที่ 12 ต.ค.2561) รวมเป็น 63% ถ้ารวมที่กองทุนประกันสังคม.ถือด้วยก็จะเป็น 65% ดูเพิ่มเติมด้านล่าง

3- ที่ น.ส.รสนากล่าวว่าแนวทางของรัฐบาลชวนฯ ในปี 2542 กำหนดให้ระบบท่อก๊าซที่แยกออกมาก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นบริษัทที่การปิโตรเลียมถือหุ้น 100% แต่เมื่อแปรรูปจริงในปี 2544 ที่กำหนดให้แยกท่อฯ ภายใน 1 ปีให้หลังเข้าตลาดฯ จึงมีผลทำให้ทรัพย์สินที่ควรจะตกเป็นของรัฐ 100% ตกเป็นชอง ปตท.ซึ่งรัฐถือหุ้นเพียงไม่ถึง 100% นั้น เป็นความเข้าใจผิดจากข้อเท็จจริง ซึ่งตรวจสอบได้ไม่ยากจากการสรุปสาระสำคัญในมติ กพช.วันที่ 15 สิงหาคม 2557 เรื่องที่ 2 ข้อที่ 1 ความว่า

“....คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2543 รับทราบแนวทางการแปรรูปของ ปตท. ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดย ในส่วนของกิจการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติจะแยกออกมาจัดตั้งเป็นบริษัท ปตท. ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จำกัด ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2542 โดยมี บมจ. ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100

4- การแยกท่อก๊าซ “ก่อน” เข้าตลาดหลักทรัพย์ กับ “หลัง” เข้าตลาดฯ 1 ปีนั้น ไม่ได้ทำให้มูลค่าหุ้น ปตท.แตกต่างกัน เพราะอย่างที่ผมอธิบายด้วยมติ กพช.ข้างต้น บริษัทที่เป็นเจ้าของท่อนั้นจะเป็นของ บจม.ปตท.100% ไม่ว่าแยกระบบท่อก๊าซก่อนหรือหลังการเข้าตลาดฯ (ดูแผนภูมิในcomment ประกอบ)

แต่ถ้าผมมีอำนาจเต็มที่ซึ่งผมไม่มี ผมจะแยกท่อให้เป็นที่เรียบร้อยก่อนเข้าตลาดฯ รวมทั้งออก พรบ.การประกอบกิจการพลังงานเพื่อดึงอำนาจรัฐทั้งหมดออกมาจาก ปตท. และเปิดบริการผ่านท่อให้บุคคลที่
3 เข้ามาแข่งขันกับ ปตท.ได้ (TPA) ด้วย
ผมจบคณิตศาสตร์แค่ปริญญาตรี ไม่ใช่ปริญญาเอกอย่างที่กล่าว แต่ตรรกะนี้ผมว่าคนจบคณิตศาสตร์ประถม 4 ก็น่าจะพอเข้าใจได้

5- ที่ผมถามว่า 1 ปีหลังการเข้าตลาดฯ (ธันวาคม 2544) แล้วรัฐบาลไม่ดำเนินการแยกท่อก๊าซนั้น “ฝ่ายทวงคืน ปตท.” อยู่ที่ไหน ทำไมไม่โวยวาย น.ส.รสนาตอบว่าก็ตนได้ยื่นฟ้องเพิกถอนการแปรรูป ปตท.กับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในเมื่อสิงหาคม 2549 ไงเล่า

ผมไม่ลืมครับ แต่เป็นการตอบที่ไม่ตรงคำถาม เด็กป.4 ก็คิดเลขได้ว่า 2544 + 1 = 2545 แล้วมาลบจาก 2549 จะได้คำตอบว่า 4 ปี เด็ก ป.7 อาจจะคิดเดือนด้วย ก็จะได้ 3 ปี 8 เดือน ไม่ว่าตัวเลขไหนก็ถือว่านานนะครับ

แล้วถ้าคิดจากปีที่ ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์
2544 ก็ยิ่งนานเข้าไปอีก แล้วเหล่าพลเมืองเสียงดังที่อ้างว่าปกป้องผลประโยชน์ชาติตอนนั้นมัวทำอะไรอยู่? ปล่อยให้สิ่งที่เขาเรียกว่า “ขายชาติ” เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา โดยไม่ด่าทอ ไม่ต่อต้านคัดค้าน ไม่แม้แต่ท้วงติง ผมถึงต้องตั้งข้อสันนิษฐานว่าพวกเขาในตอนนั้นยังชื่นชมหรือได้ประโยชน์จากทักษิณ จึงมิได้ตำหนิติเตียนแต่ประการใด

6- เรื่องคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด ที่ผมบอกว่าให้คืน “ท่อบางส่วน” แต่ น.ส.รสนาบอกว่านั่นผิด เพราะศาลสั่งให้คืน “ท่อทั้งระบบ” นั้นเป็นเรื่องของการตีความของ น.ส.รสนาเองที่แตกต่างจากศาล

ส่วนผมนั้นน้อมรับคำตัดสินของศาล และได้มีส่วนในปฏิบัติตามในช่วงที่ผมมีอำนาจหน้าที่ ซึ่งศาลท่านก็ยืนยันหลายครั้งแล้ว ว่า ปตท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว

7 ** น.ส.รสนาและบางคนไม่เห็นด้วยกับการตีความของศาล และได้ยื่นฟ้องต่อศาลอีกหลายครั้ง แต่ศาลก็ยังยืนยันว่า ปตท.คืนท่อครบแล้ว อีกทั้งยังไปวิจารณ์ศาลจนเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2559 ศาลปกครองสูงสุดได้ไต่สวนคำร้องกรณีละเมิดอำนาจศาล **

ระหว่าง ปตท. ผู้กล่าวหาและ น.ส.รสนา โตสิกูล นายศรีราชา วงศารยางกูร และนายดนัย เอกมหาสวัสดิ์ ผู้ถูกกล่าวหาที่
1-3 และต่อมาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2560 ศาลได้อ่านคำสั่งซึ่งมีสาระสำคัญว่า

การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด มิได้มีลักษณะเป็นการวิจารณ์การพิจารณาหรือการพิพากษาคดีของศาลปกครองโดยสุจริต ด้วยวิธีการทางวิชาการ
 
แต่เป็นการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์การพิจารณาหรือการพิพากษา ที่เข้าข่ายเป็นการละเมิดอำนาจศาลตามมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ศาลปกครองสูงสุด 
จึงเห็นควรลงโทษผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 3 สถานเบา โดยมีคำสั่งตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร

นอกจากนั้นในคำสั่งละเมิดอำนาจศาลดังกล่าว ศาลปกครองสูงสุดยังได้วินิจฉัยในสาระสำคัญเกี่ยวกับข้อความที่ผู้ถูกกล่าวหากล่าวพาดพิงคำพิพากษาและคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด โดยได้ให้เหตุผลและยืนยันถึงความรอบคอบ ยุติธรรม และเป็นกลางของศาลในการทำคำสั่งและวินิจฉัยในคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.
35 / 2550 ด้วย

8- ในฐานะ รมว.พลังงานผมเป็นผู้ลงนามในหนังสือถึง ครม.เมื่อวันที่18 ธันวาคม 2550 เกี่ยวกับการดำเนินการตามคำวินิจฉัยและคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งหนังสือดังกล่าวระบุชัดเจนว่า “ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบ และรับรองความถูกต้อง”

และยังได้เปิดช่องไว้ด้วยว่า “หากมีข้อโต้แย้งทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับการตีความคำพิพากษาของศาลฯ ในการดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สิน ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้พิจารณาเพื่อให้มีข้อยุติต่อไป” ทั้งนี้ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ร่วมอยู่ในที่ประชุม ครม.นั้นด้วย และ ครม.ก็เห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ

ผมพ้นตำแหน่ง รมว.พลังงานตั้งแต่วันที่
5 กุมภาพันธ์ 2551 และหลังจากนั้นก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ ปตท.หรือกลุ่ม ปตท.เลย จนมารับตำแหน่งประธานเมื่อกรกฎาคม 2557

9- มาทราบภายหลังว่า สตง.มิได้มีหนังสือ ”รับรองความถูกต้อง” ของรายการทรัพย์สินที่ได้ตกลงกันระหว่าง กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และ ปตท.ตอนที่ยื่นต่อศาลเมื่อ 25 ธันวาคม 2551 แต่ก็ทราบมาด้วยว่า

ปตท.ได้ยื่นรายการทรัพย์สินที่จะแบ่งแยกให้กับ สตง.อย่างเป็นทางการตั้งแต่ต้นปี
2551 แต่ สตง.ก็มิได้มีการตอบหนังสือนั้นแต่ประการใด

ปตท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการตามคำพิพากษาจำนวน
4 ครั้ง เพราะกระบวนการแบ่งแยกที่ดินต่าง ๆ ต้องใช้เวลามาก แต่ ปตท.ได้ส่งรายงานความคืบหน้าต่อศาลโดยตลอดตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนธันวาคม 2551 รวม 9 ครั้ง ก็ไม่น่าแปลกนักที่ศาลสามารถออกคำวินิจฉัยในวันที่ 26 ธันวาคม 2551

** สตง.เพิ่งจะส่งหนังสือคัดค้านถึง ปตท.ในภายหลัง แม้หนังสือจะลงวันที่ 26 ธันวาคม แต่ก็ไม่ได้มีการส่งมา ปตท.จนกระทั่งวันที่ 29 ธันวาคม 2551 ** 
ทั้งนี้ทั้งนั้น สตง.ในฐานะผู้สอบบัญชีของ ปตท. ได้เซ็นรับรองงบการเงินของ ปตท.แบบไม่มีเงื่อนไขตลอดมา โดยในงบการเงินของ ปตท. ปี 2551 สตง.ได้หมายเหตุว่า ปตท. ได้รับหนังสือ สตง. ดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2551 และตั้งแต่ปี 2552 สตง.ก็มิได้มีหมายเหตุดังกล่าวอีกจนปัจจุบัน

10 การวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อเดือนกันยายน ปี 2559 ที่ น.ส.รสนาอ้างถึงนั้น เกิดขึ้นหลังจากที่มีคำสั่งศาลปกครองหลายครั้งยืนยันการส่งมอบทรัพย์สิน โดยเฉพาะคำสั่งศาลปกครองสูงสุดเต็มองค์คณะ วันที่ 7 เมษายน 2559 ไม่เพิกถอนคำสั่งศาลวันที่ 26 ธันวาคม 2551

นักกฎหมายอาจมีความเห็นไม่ตรงกันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทยไม่ว่าฉบับไหน ศาลคือฝ่ายตุลาการ เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการตีความกฎหมายและตัดสินคดีความทั้งปวง

ปตท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดอย่างเคร่งครัด และไม่สามารถปฏิบัติตามความเห็นของนักกฎหมายอื่นได้

11- อนึ่ง แม้คำตัดสินของศาลได้กล่าวถึง “การแปรรูปที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” แต่ก็ได้ระบุว่า...
ดังนั้นเมื่อพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเพิกถอนพระราชกฤษฎีกา และบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 รวมทั้งวิธีการแก้ไขความไม่ชอบด้วยกฎหมาย

จึงเห็นว่าไม่จำเป็นต้องเพิกถอนบทบัญญัติในมาตรา
4 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิและประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิและประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550

อีกทั้งเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นว่านั้น ก็มิได้มีความร้ายแรงถึงขนาดที่จะเพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.
2544 ตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้งห้า”

** จึงถือว่าการออก พรบ.การประกอบกิจการพลังงานมีผลในการเยียวยาปัญหานี้ ศาลจึงได้ตัดสินให้ ปตท.คืนเฉพาะทรัพย์สินที่ได้มากจากการใช้อำนาจมหาชนและเงินของรัฐ **

เรื่องท่อในทะเลที่ น.ส.รสนาเห็นว่าควรคืนให้รัฐนั้น ผมขี้เกียจจะอภิปรายด้วย เพราะศาลได้ยืนยันว่า ปตท.คืนท่อครบถ้วนแล้วหลายรอบ เถียงกันไปก็เสียเวลาผมเปล่าๆ ขนาดศาลปกครองสูงสุด น.ส.รสนายังไม่ฟังเลย แถมวิพากษ์วิจารณ์จนถูกตัดสินว่าละเมิดอำนาจศาล

** ที่ น.ส.รสนากล่าวหาด้วยคำถามว่าผมในตำแหน่งประธานบอร์ด ปตท.ได้ “ผลักดันนโยบายแยกท่อส่งก๊าซมาตั้งเป็นบริษัทลูกของ ปตท.โดยกำหนดลดสัดส่วนหุ้นของรัฐบาลเหลือเพียง 25% ใช่หรือไม่ ?” ขอตอบชัดๆ ว่า ไม่ใช่ และไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด **

- ที่ผ่านมาผมได้ฟ้องร้องบุคคลจำนวนหนึ่งที่ให้ข้อมูลบิดเบือนต่อสังคมและทำให้ผมเสียหาย ถ้าเขาเหล่านั้นไม่ให้ร้ายผม ผมก็คงไม่ไปเสียเวลาฟ้องร้องหรอกครับ

- ที่ผมพูดรวมๆ ถึงอดีตลิ่วล้อทักษิณนั้น ไม่ได้เอ่ยชื่อใคร น.ส.รสนาก็ไม่ควรกินปูนร้อนท้อง แต่ผมเหมารวมเนื่องจากเป็นกระแสที่สื่อสายหนึ่งซึ่งเคยเชลียร์ทักษิณจนน่าสะอิดสะเอียน เช่นในรายการทุกวันศุกร์ช่อง 9 อสมท. แต่ภายหลังได้เปลี่ยนจุดยืนไปโดยสิ้นเชิง จากเชลียร์เป็นชำแหละ และด่าทอต่อต้านทักษิณอย่างรุนแรง

ผมไม่ทราบว่าคุณรสนาเคยชื่นชมอะไรในระบบทักษิณหรือเปล่า แต่ผมแค่ตั้งข้อสังเกตว่าทุกคนที่รุมด่าผมในช่วงที่ผ่านมา คนเด่นๆ ในกระบวนการ “ทวงคืน ปตท.” ไม่มีใครออกมาคัดค้านการแปรรูป ปตท.ในสมัยทักษิณเรืองอำนาจเลย อีกทั้งบางคนยังเคยรับใช้ทักษิณอย่างชัดเจน

อาจจะเป็นกระแสสังคมที่หลงรักทักษิณตามกันไป ก่อนใครบางกลุ่มจะพลิกจุดยืนมาสร้างกระแสเกลียดชังทักษิณและ “ทวงคืน ปตท.” เพราะทราบมาว่าตอน ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ ก็มีกรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคบางท่าน (ไม่ได้ชื่อรสนานะครับ) ได้ซื้อหุ้น
IPO ด้วย

ขอบคุณข้อมูล :
https://www.facebook.com/fellowshipoftheenergy/posts/2030711713662672?__tn__=-R
http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/ประโยชน์การแปรรูป-ปตท/

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา