ดื่มนมวัวอย่างไร ให้ขับถ่ายดีหมดปัญหาท้องเสีย

sandeejing

ขีดเขียนชั้นอนุบาล (92)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:112
เมื่อ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 03.52 น.

 

คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังกังวลกับปัญหาสุขภาพการขับถ่ายของลูกน้อย จากการให้ลูกดื่มนมวัวแล้วมีอาการท้องเสีย ท้องอืด ท้องผูก วันนี้เรามีคำตอบให้คุณพ่อคุณแม่ได้เข้าใจถึงสาเหตุของปัญหานี้กันค่ะ

จริงๆแล้ว ปัญหาท้องเสียจากการ "ดื่มนมวัว" ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนค่ะ แต่คนที่ดื่มนมแล้วท้องเสีย อาจจะทรมานกว่าคนอื่น เพราะกินนมเข้าไปทีไรก็จะเกิดอาการ ท้องไส้ปั่นป่วน ท้องเสีย ท้องอืด ท้องผูก ตามมาเกือบทุกครั้งที่ดื่มนมไป จึงทำให้คุณแม่หลายๆท่านเกิดความกังวลกับการให้ลูกดื่มนมวัว แต่จะแก้ปัญหานี้อย่างไร หากจะไม่ให้ลูกดื่มนมเลยก็ไม่ได้ เพราะนมมีประโยชน์และมีความสำคัญมากในการเสริมสร้างและบำรุงรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ

การที่ลูกน้อยจะเติบโตแข็งแรงและมีพัฒนาการที่สมบูรณ์รอบด้านนั้น โภชนาการก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อพัฒนาการเด็ก เด็กที่ได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ในปริมาณที่พอเหมาะ จะมีการเติบโตที่ดี ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ โดยแหล่งสารอาหารเสริมที่สำคัญสำหรับช่วงวัยเด็กก็คือ “นม” โดยเฉพาะนมวัว

 

‘นมวัว’ ตัวการทำให้เกิดอาการขับถ่ายไม่เป็นปกติ?

คุณแม่ทุกคนล้วนทราบดีว่า นมวัวมีสารอาหารที่มีประโยชน์มากมายที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูก แต่บางครั้งก็อาจเคยได้ยินหรือประสบปัญหากับตัวเอง เรื่องการขับถ่ายไม่ปกติจากการดื่มนมวัว เช่น ท้องเสีย ท้องอืด และท้องผูก เรามาทำความเข้าใจสาเหตุ ข้อเท็จจริงของปัญหาเหล่านี้กัน

 

ท้องเสียหลังการดื่มนม เนื่องจากในนมมีน้ำตาลแลคโตส ที่จำเป็นต้องใช้เอ็นไซม์แลคเตส (Lactase)ในการย่อย และเอ็นไซม์นี้มีอยู่น้อยในคนเอเชีย และลดลงเวลาที่เราโตขึ้น เมื่อเอ็นไซม์มีไม่เพียงพอในการย่อยน้ำตาลแลคโตส น้ำตาลแลคโตสจะถูกย่อยโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่แทน และกระบวนการนี้จะก่อให้เกิด แก๊ส และปฏิกิริยาอินทรีย์จนก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้

ท้องอืดหลังการดื่มนม แท้จริงแล้วเมื่อเด็กดื่มนมไม่ว่าชนิดใด หรือดื่มน้ำในปริมาณมาก หรือเร็วเกินไป เด็กก็สามารถที่จะกลืนลมเข้าไปในกระเพาะอาหารได้ และสิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้ลูกน้อยไม่สบายตัว จากแก๊สในกระเพาะและอาจก่อให้เกิดความเครียดได้

ท้องผูก ถ่ายแข็ง ท้องผูกในเด็กสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การที่เด็กได้รับอาหารที่มีเส้นใยน้อยเกินไป (กินผัก ผลไม้ ในปริมาณน้อย) ดื่มน้ำน้อยเกินไป เกิดจากความผิดปกติของลำไส้ หรือจากการแพ้โปรตีนนม คุณแม่จำเป็นต้องสำรวจหาสาเหตุที่แท้จริง จากพฤติกรรมการกินของลูกก่อน และปรับอาหารลูกให้เหมาะสม การดื่มนมในปริมาณมากเกินไป ก็อาจเป็นสาเหตุให้เด็กรับประทานอาหารอื่นที่มีเส้นใยได้น้อยลง

 

ป้องกันอย่างไร? ไม่ให้เจ้าตัวเล็กท้องอืด ท้องเสีย และท้องผูก

เมื่อทราบสาเหตุของอาการ ขับถ่ายไม่ปกติแล้ว คุณแม่ก็สามารถจัดการปัญหาเหล่านี้ได้ ด้วยข้อปฏิบัติง่ายๆดังนี้ค่ะ

Tip 1 สังเกตลูกอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสุขภาพที่ดีและภูมิคุ้มกันของลูก เริ่มต้นที่ระบบขับถ่าย แม่จำเป็นต้องแน่ใจว่าลูกมีการขับถ่ายที่ดี ต้องมีการสังเกตอยู่เสมอว่าลูกมีการขับถ่ายที่ปกติหรือไม่ และหาสาเหตุที่แท้จริง

Tip 2 ดูแลเรื่องโภชนาการ เน้นอาหารที่หลากหลาย ครบ 5 หมู่ และอาหารที่อุดมด้วยเส้นใย เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ มะละกอ ลูกพรุน แก้วมังกร ข้าวกล้อง ซีเรียล ข้าวโอ๊ต และ ฝึกให้ลูกดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน หรือ 4 - 6 แก้วต่อวัน

Tip 3 รักษาความสะอาด ภาชนะต่างๆ ถือเป็นส่วนสำคัญ คุณแม่ควรดูแลเรื่องความสะอาดและสุขอนามัย เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายของเด็ก ฝึกนิสัยการล้างมือ ไม่เอามือเข้าปาก

Tip 4 ปรับให้ลูกดื่มนมเป็นเวลาและในปริมาณที่เหมาะสม น้ำตาลแลคโตส เป็นน้ำตาลที่เป็นอาหารจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ มีส่วนช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี แม้ว่าเด็กเอเชียจะมีปริมาณเอ็นไซม์แลคเตส อยู่น้อย แต่ร่างกายสามารถสร้างเอ็นไซม์นี้ได้เมื่อลูกดื่มนมเป็นประจำ คุณแม่จำเป็นต้องให้ลูกดื่มนมอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากที่ละน้อยเพื่อให้ร่างกายเด็กสามารถปรับตัว

 

หากคุณแม่ยังรู้สึกว่าลูกมีอาการกินนมแล้วท้องเสียทุกครั้ง ก็ค่อยๆ ฝึกกินไปนะคะ เพราะวัยของน้องๆ การดื่มนมยังจำเป็นต่อการเจริญเติบโต และร่างกายเด็กยังสามารถปรับตัวได้ เพียงคุณแม่อย่าลืมเอาใจใส่ และหมั่นสังเกตอาการต่างๆ อยู่เป็นประจำทุกวันเพื่อจะได้ป้องกันปัญหาการขับถ่ายของลูกน้อยได้ทันท่วงที เพียงเท่านี้คุณแม่ก็มั่นใจได้แล้วว่าลูกน้อยจะมีสุขภาพการขับถ่ายที่ดี และสามารถดื่มนมได้อย่างไร้กังวลค่ะ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://bit.ly/2vTZj1a

PIM99

เริ่มเข้าขีดเขียน (21)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST: 362
1 เมื่อ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 04.21 น.

หน้า จาก 1 ( 1 ข้อมูล )
แสดงจำนวน ข้อมูลต่อแถว
1

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา