อาการปวดกระดูก หรือ ปวดเข่า อย่างรุงแรงเกินจากสาเหตุอะไร

parawun

เด็กใหม่ (1)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:2
เมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 16.00 น.

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม ใช้กับผู้ป่วยที่มีข้อเข่าเสื่อมรุนแรง มีอาการปวดเข่า มักพบในผู้ที่มีอายุมากแล้ว ซึ่งการผ่าตัดแบบเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมทั้งหมด แพทย์จะพิจารณาใช้ในกรณีที่ผิวข้อเข่าเสื่อมมากแล้วทั้งข้อ ส่วนผู้ป่วยที่ผิวข้อเข่าสึกหรอเพียงบางส่วน และยังคงมีผิวข้อเข่าส่วนที่สภาพดีเหลืออยู่ กรณีนี้ศัลยแพทย์มีเทคนิคการผ่าตัดรักษาที่เรียกว่า การผ่าตัดแบบเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมเฉพาะส่วนที่มีการสึกหรอ และคงส่วนที่มีสภาพดีไว้

การผ่าตัดรักษาผิวข้อเข่าเทียมด้วยวิธี UKA คือการผ่าตัดเอาผิวข้อเข่าเฉพาะส่วนที่เสื่อมออก โดยเก็บรักษาผิวข้อเข่าในส่วนที่กระดูกอ่อนยังอยู่ในสภาพดีไว้ แล้วทดแทนด้วยผิวข้อเทียมและกระดูกอ่อนเทียมเพียงบางส่วน วิธีนี้เริ่มมีมานานกว่า 20 ปี และมีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัด ตลอดจนเครื่องมือที่ช่วยในการผ่าตัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



ใครที่กำลังมีอาการปวดกระดูกเชิงกราน ไม่สามารถขยับพลิกตัวหรือขยับสะโพกได้ หรือมีอาการชาบริเวณรอบทวารหนัก หรือมีปัญหาเรื่องการขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ นี่คือส่วนหนึ่งที่มีสาเหตุจากกระดูกเชิงกรานหัก นั่นเองค่ะ

วันนี้เรามีข้อมูลเพิ่มเติมมาฝากค่ะ กระดูกเชิงกรานประกอบด้วยกระดูกทั้งสิ้น 3 ชิ้น คือ กระดูกก้นกบ (Sacrum) กระดูกสะโพก (Ilium) ด้านซ้านและขวา กระดูกเชิงกรานจะทำหน้าที่เชื่อมระหว่างกระดูกสันหลังซึ่งเป็นแกนกลางของร่างกาย กับกระดูกรยางค์ คือกระดูกสะโพกและขาทั้ง 2 ข้าง



การแตกหักของกระดูกเชิงกราน ในคนทั่วไปส่วนใหญ่เกิดจาก การประสบอุบัติเหตุที่รุนแรง เช่นการตกจากที่สูง อุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นต้น หากเป็นผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุนอยู่แล้วเมื่อมีอะไรกระแทกนิดหน่อยก็สามารถเกิดการแตกของกระดูกได้ ส่วนอาการจะมากหรือน้อย มีตั้งแต่

1.มีการปวดกระดูกเชิงกราน เวลานั่งบางท่า

2.มีอาการปวดกระดูกเชิงกราน จนไม่สามารถขยับสะโพกได้

3.มีอาการบาดเจ็บร่วมของระบบทางเดินปัสสาวะหรืออวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน

4.มีอาการบาดเจ็บของเส้นประสาทบริเวณเอวส่วนล่างและก้นกบ บางรายอาจรุนแรงไปถึงการเสียชีวิตเนื่องจากเสียเลือด

เมื่อเคยมีประวัติการประสบอุบัติเหตุ การกระแทกแรงๆ แล้วเกิดมีอาการปวดกระดูกโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรรีบพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และรักษาได้ตรงจุดนะคะ

อ่านข้อมูล และวิธีการรักษเพิ่มเติมได้ที่ >>> http://www.vejthani.com/TH/Article/22/การผ่าตัดข้อสะโพกเทียม%20ด้วยระบบคอมพิวเตอร์

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา