รักษาหลุมสิวให้ผิวเนียนกริบ ด้วย 11 วิธีรักษาแบบละเอียด
เขียนโดย GUEST1699506479
วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 14.26 น.
แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 14.27 น. โดย เจ้าของเรื่องสั้น
1) รักษาหลุมสิวให้ผิวเนียนกริบ ด้วย 11 วิธีรักษาแบบละเอียด
อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความหลุมสิว รักษายังไงก็ไม่หายเสียที หลุมสิวเป็นปัญหาผิวหน้าที่มักเกิดหลังจากสิวอักเสบ โดยบางครั้งเมื่อสิวอักเสบแล้ว อาจทิ้งร่องรอยหลุมสิวทำให้ผิวหน้ามีรอยและความไม่เรียบเนียน ส่งผลต่อความมั่นใจ ดังนั้น ควรหาวิธีการรักษาและป้องกันหลุมสิวเพื่อลดโอกาสในการเกิดปัญหานี้ในอนาคต
หลุมสิวคืออะไรและเกิดจากอะไร?
หลุมสิว คือ ผลจากการสิวที่มีการอักเสบและอาจเกิดเป็นสิวที่อุดตัน หลังจากสิวหายไปแล้ว ปกติผิวหน้าจะมีกระบวนการซ่อมแซมเพื่อให้ผิวเนียนเช่นเดิม โดยกระบวนการนี้ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน แต่หากมีอาการอักเสบรุนแรง อาจทำให้กระบวนการซ่อมแซมผิวไม่สมบูรณ์ จึงทำให้ผิวเกิดการยุบตัวลง การสร้างคอลลาเจนใหม่อาจไม่เพียงพอเท่ากับคอลลาเจนที่สูญเสียไปขณะเป็นสิว ส่งผลให้เซลล์เนื้อเยื่อมีการหดตัว สร้างรอยแผลหรือหลุมจากสิวได้
สาเหตุหลุมสิวส่วนใหญ่เกิดจากสิวที่รุนแรงหรือสิวที่มีรอยแผล พบได้ในประมาณ 22% ของผู้ที่เคยเป็นสิว สิวที่รุนแรงทำให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบรุนแรงในชั้นหนังแท้ และมีการตอบสนองต่อเชื้อแบคทีเรียชื่อ P.acnes ซึ่งอาจทำให้คอลลาเจนและเนื้อเยื่อรอบรอยแผลหรือหลุมสิวถูกทำลาย สิวหัวช้างหรือสิวเม็ดใหญ่มักทิ้งรอยแผลเป็นในชั้นผิวหนัง ทำให้เกิดหลุมลึกและเป็นรอยผิดรูปได้ในภายหลัง
สิวแบบไหนที่ทำให้เกิดหลุมสิว?
สิวที่อาจกลายเป็นหลุมสิวได้มีลักษณะ ดังนี้
- สิวหัวช้างเม็ดใหญ่ มีขนาดใหญ่และมีหนองปนเลือดอยู่ภายในหัวสิว การรักษาสิวชนิดนี้อาจใช้เวลานานและต้องใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสม
- สิวอักเสบรุนแรงหรือสิวหัวหนอง มีการอักเสบเรื้อรังและมีหัวหนองปนอยู่ภายในสิว สิวชนิดนี้มักแสดงอาการบวมแดงและอักเสบ
- สิวที่ติดเชื้อแบคทีเรียจนลุกลามไปทั่วชั้นใต้ผิว เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการอักเสบรุนแรงในชั้นใต้ผิวหนัง สิวชนิดนี้มีขนาดใหญ่และอาจทำให้ผิวหน้าบวมแดงและระคายเคือง
สิวที่มีลักษณะเหล่านี้มักเป็นต้นเหตุที่ส่งผลให้เกิดหลุมสิวหรือรอยแผลหลุมสิวได้ในภายหลัง การรักษาสิวชนิดนี้อย่างเหมาะสมและทันท่วงทีจะสามารถลดโอกาสในการเกิดหลุมสิวได้
ประเภทของหลุมสิวมีอะไรบ้าง
หลุมสิวแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่
-
ชนิด Ice Pick Scar:
- หลุมสิวประเภท Ice Pick scar มีลักษณะเป็นหลุมลึก ปากแผลแคบ และมักมีขนาดไม่เกิน 2 มิลลิเมตร
- สิวชนิดนี้มักเกิดจากการกดหรือบีบสิวอุดตันที่มีการอักเสบรุนแรง
- การรักษาสิวชนิด Ice Pick ค่อนข้างลำบาก เนื่องจากสิวกินเนื้อไปจนถึงชั้นรูขุมขนและทำลายคอลลาเจนลึกในผิวหนัง
- การฟื้นฟูรอยหลุมสิวในกรณีนี้จำเป็นต้องใช้เวลานาน
-
ชนิด Box Scar:
- หลุมสิวประเภท Box Scar มีลักษณะเป็นบ่อ มีขนาดกว้างและขอบชัดเจน
- ลึกประมาณ 3-5 มิลลิเมตร มีขนาดใหญ่กว่าหลุมสิวประเภท Ice Pick scar
- สิวชนิดนี้มักมีความรุนแรงปานกลาง และสามารถมีพังผืดเกาะติดในชั้นหนังแท้
- สาเหตุมาจากการอักเสบสิวที่ลึกและคนที่เป็นโรคอีสุกอีใส
-
ชนิด Rolling Scar:
- หลุมสิวประเภท Rolling Scar เป็นหลุมตื้น มักเป็นแอ่งเว้าลงไปไม่ลึกมากนัก
- มีความรุนแรงน้อยสุด และสามารถรักษาได้ง่ายกว่าระดับอื่น ๆ
- สิวชนิดนี้มักไม่กินลึกถึงชั้นรูขุมขนและคอลลาเจนในผิวหนังยังคงคงอยู่ไม่ถูกทำลาย
การรู้แนวทางการรักษาและการดูแลผิวหน้าที่เหมาะสมสามารถช่วยลดการเกิดหลุมสิวและรอยแผลหลุมสิวในอนาคตได้ง่ายขึ้น
วิธีรักษาหลุมสิวโดยแพทย์
หลังจากสิวหายไป ไม่ว่าจะเป็นสิวหัวช้าง (Cyst) สิวอักเสบ (Pustule) หรือ สิวที่ติดเชื้อแบคทีเรียจนลุกลามไปทั่วชั้นใต้ผิว (Nodule) มักเหลือรอยต่าง ๆ บนผิวหนัง เช่น รอยด่างดำหรือหลุมสิว ระดับความรุนแรงของรอยนี้อาจแตกต่างกันไป เช่น Ice pick scar, Boxcar scar, หรือ Rolling scar ทั้งหมดนี้ควรพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา ประเมินความรุนแรงของรอยและวางแผนรักษาที่เหมาะสม ข้อดีคือการรับการรักษาที่ถูกต้องและเฉพาะเจาะจง ที่จะช่วยให้เห็นผลการรักษาที่ดีและเร็วมากยิ่งขึ้น
หลุมสิวมีหลายประเภท โดยมีความรุนแรงและระดับความยากง่ายในการรักษาที่แตกต่างกัน จึงทำให้วิธีการรักษาในแต่ละเคสมีความแตกต่างกัน โดยหากเลือกรักษาหลุมสิวโดยวิทยาการทางการแพทย์ มีวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. รักษาหลุมสิวด้วยเลเซอร์
การใช้เลเซอร์รักษาหลุมสิวเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมและมอบผลลัพธ์ที่ดีต่อการรักษาหลุมสิวในหลาย ๆ เคส เลเซอร์ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหลุมสิวมีหลายชนิด โดยแพทย์จะเลือกชนิดที่เหมาะกับลักษณะของหลุมสิวในแต่ละบุคคล แต่ทั้งนี้การทำเลเซอร์หลุมสิวก็มีข้อควรระมัดระวังถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น และควรเตรียมตัวให้พร้อมกับการฟื้นตัวหลังการรักษาด้วยการหมั่นทาครีมกันแดดเพื่อการปกป้องผิวจากแสงแดด เพราะการทำเลเซอร์อาจทำให้ผิวไวต่อแสงได้
2. ใช้คลื่นวิทยุ (Radiofrequency – RF)
การใช้คลื่นวิทยุ RF ในการรักษาหลุมสิวจะคล้ายกับการใช้เลเซอร์รักษาหลุมสิว โดยการใช้คลื่นวิทยุจะปล่อยพลังงานความร้อนเพื่อกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในผิวชั้นล่าง แต่ควรระมัดระวังถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เช่น ผิวหน้าบวม แดง แต่ข้อดี คือ ระยะเวลาในการฟื้นตัวหลังการรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับเลเซอร์ที่มีระยะเวลาฟื้นตัวสั้นกว่า
3. การกรอผิวด้วยเกล็ดอัญมณี
การรักษาหลุมสิวด้วยวิธีกรอผิวด้วยเกล็ดอัญมณี (Dermabrasion) เป็นการใช้เครื่องมือพิเศษที่มีเกล็ดอัญมณีขนาดเล็กในการกรอผิวหนังที่มีรอยแผลหรือหลุมสิว วิธีนี้มักนำมาใช้กับหลุมสิวชนิด Rolling scars หรือ Box scars โดยแพทย์ที่มีความชำนาญจะกรอผิวหนังที่เป็นแผลหรือหลุมสิวออก ซึ่งจะกระตุ้นกระบวนการสร้างเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาแทนที่ผิวเดิม ทำให้รอยสิวลดลง รอยหลุมสิวลดขนาด และรอยแผลจากสิวลดเลือนลง การรักษานี้ยังช่วยลดการเกิดจุดด่างดำจากสิวบนใบหน้าและทำให้ผิวดูเรียบเนียนขึ้นได้อีกด้วย
4. ใช้กรดลอกผิว
เป็นการใช้เทคนิคการลอกผิวด้วยสารเคมีหรือ Chemical Peeling เป็นวิธีที่มีความประสิทธิภาพในการรักษาหลุมสิว วิธีนี้ทำโดยการใช้สารเคมีที่มีความเข็มข้นต่าง ๆ เพื่อทำให้เซลล์ผิวหนังหลุดลอดออก ซึ่งสามารถช่วยให้รอบหลุมสิวตื้นขึ้นและลดความเข้มข้นของรอยแผลหรือหลุมสิวได้ สารเคมีที่ใช้แบ่งออกเป็นระดับความเข้มข้นต่าง ๆ คือ
- ระดับชั้นหนังกำพร้า (Superficial Chemical Peeling) ใช้สารเคมี เช่น Glycolic acid, Lactic acid, Salicylic acid, Trichloroacetic acid (TCA) ในความเข็มข้นต่าง ๆ สารเหล่านี้ช่วยลอกผิวบนชั้นเบา ช่วยลดความเข้มข้นของรอยแผลและหลุมสิวชนิด Icepick scars และ Rolling scars โดยผิวจะดูเรียบเนียนมากยิ่งขึ้น ช่วยลดรอยแดงและรอยดำ ทำให้ผิวนุ่มและยืดหยุ่นมากขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่และลดการอุดตันของเคราตินในรูขุมขน เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับหลุมสิวประเภทตื้น ๆ
- ระดับชั้นหนังแท้ชั้นตื้น (Intermediate Chemical Peeling) เป็นการใช้สาร Trichloroacetic acid (TCA) ช่วยลอกผิวชั้นกลาง มอบผลลัพธ์ที่ดีในการลดความเข้มข้นของรอยแผลและหลุมสิว
- ระดับชั้นหนังแท้ชั้นลึก (Deep Chemical Peeling) เป็นการใช้สาร Phenol เพื่อลอกผิวลึก วิธีนี้มีผลสำคัญในการรักษาหลุมสิวแต่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดรอยดำและรอยแผล
5. ใช้ยากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอหรือกรดวิตามินเอ
การรักษาหลุมสิวด้วยการใช้ยาในกลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ เช่น Retin A (เรตินเอ), Retinoid (เรตินอยด์), Retinol (เรตินอล) เป็นวิธีที่มีความประสิทธิภาพในการปรับโครงสร้างผิวชั้นบน (ผิวหนังชั้นเคราติน) เพื่อทำให้ผิวเรียบเนียนขึ้น ลดความเข้มข้นของรอยแผลและหลุมสิว กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และลดการอุดตันของเคราตินในรูขุมขน นอกจากนี้ ยังช่วยลดรอยแดงและรอยดำบนผิวหนัง การใช้ยาในกลุ่มนี้เหมาะสำหรับหลุมสิวประเภท Rolling scar ที่อยู่ในระดับที่ไม่ลึกมาก
ข้อควรระวังคือ อาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ผิวแห้ง แสบ หน้าแดง ผิวลอก และเป็นไปได้ว่าผิวจะไวต่อแสงแดดมากขึ้น จึงต้องใช้ใต้ความดูแลของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ และควรหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดด โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยาในกลุ่มนี้ควรป้องกันผิวจากแสงแดดอย่างดี
6. การตัดพังผืด (Subcision)
การตัดพังผืดหลุมสิวหรือ subcision เป็นวิธีการใช้เข็มขนาดเล็กในการตัดเลาะพังผืดใต้ผิวหนัง เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาหลุมสิวหลายแห่งและกระจายไปทั่วผิวหนัง เช่น หลุมสิวชนิด rolling scar และ box car ที่มีขอบชัดและลึกขึ้น
กระบวนการนี้ช่วยให้รอบหลุมสิวตื้นขึ้น โดยการตัดเลาะพังผืดทำให้รอยแผลและหลุมสิวลดลง การใช้เข็มช่วยกระตุ้นกระบวนการสร้างเซลล์ผิวใหม่ที่สมบูรณ์แบบ ทำให้ผิวดูเรียบเนียนขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. การผ่าตัด (Punch Excision)
การผ่าตัดหลุมสิวเป็นวิธีการรักษาหลุมสิวที่มีประสิทธิภาพ ขั้นตอนของวิธีการนี้คือการใช้เครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็ก ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เพื่อตัดบริเวณหลุมสิวทิ้ง จากนั้นแพทย์จะดึงขอบ 2 ข้างที่เป็นผิวปกติมาเย็บติดกัน เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการรักษาหลุมสิวชนิด Icepick scars และ Boxcar scars โดยขนาดขอบที่ต้องการตัดไม่ควรกว้างเกิน 3 มิลลิเมตร เพราะหากหลุมสิวใหญ่กว่านี้ อาจเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่ไม่สวยได้
ข้อดีคือ การผ่าตัดหลุมสิวเป็นวิธีการสร้างแผลใหม่ที่ช่วยกระตุ้นคอลลาเจนและเป็นกระบวนการที่เห็นผลลัพธ์ชัดเจน แต่ข้อควรระวังคือ หลังผ่าตัดต้องดูแลรอบแผลอย่างดีและในระยะเวลา 1 สัปดาห์ หลังจากตัดไหมแล้ว รอยแผลจะเป็นเส้นตรง และใช้เวลาประมาณ 2 เดือนรอยแผลจะดีขึ้น อีกทั้งยังควรหลีกเลี่ยงแสงแดดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ห้ามให้แผลโดนน้ำอย่างน้อย 3 วัน และไม่ควรแต่งหน้าในบริเวณที่ทำการตัดไหมออก โดยเฉพาะในช่วงที่รอยแผลยังไม่หายดี
8. การฉีดสารเติมเต็มหรือฉีดฟิลเลอร์ (Fillers Injection)
การฉีดฟิลเลอร์ในหลุมสิวเป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมในยุคปัจจุบัน เป็นวิธีที่ไม่ต้องรอนานก็สามารถเห็นผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังสามารถผสมกับวิธีการรักษาอื่น ๆ ได้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เร็วและมีประสิทธิภาพ วิธีการ คือ การใช้สารเติมเต็มประเภทไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic Acid) ฉีดเข้าไปในหลุมสิวเพื่อเติมเต็มและทำให้หลุมสิวดูตื้นขึ้น
ข้อดีของการฉีดฟิลเลอร์ คือ การฉีดฟิลเลอร์ยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวดูอิ่มน้ำ ชุ่มชื้น และเรียบเนียนขึ้น การรักษาไม่ต้องรอผลลัพธ์นานและไม่เกิดรอยแผล และไม่ต้องพักฟื้น ข้อควรระวัง คือ ต้องเลือกการรักษากับแพทย์ที่มีความชำนาญ โดยเฉพาะเมื่อมีปัญหาหลุมสิวที่มีพังผืด แพทย์จะต้องใช้เข็มเซาะพังผืดพร้อมกับการฉีดฟิลเลอร์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและหลุมสิวดูตื้นขึ้นทันที
9. การฉีดเมโส
การฉีดเมโสเพื่อรักษาหลุมสิวหรือที่เรียกว่า "ฉีดมาเด้คอลลาเจนหลุมสิว" เป็นกระบวนการที่ใช้สารเมโส (Mesotherapy) ซึ่งประกอบด้วยส่วนผสมที่ช่วยลดรอยด่างดำบนใบหน้าและบำรุงผิวหนังด้วยคอลลาเจนและสารอาหารต่าง ๆ อาทิเช่น วิตามิน A, B, C, E, โคเอนไซม์, Transamin, และ Glutathione ซึ่งมีประโยชน์ในการกระชับรูขุมขน กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้กับเซลล์ผิวใหม่ และช่วยฟื้นฟู แก้ไขสภาพผิวให้มีสุขภาพดีขึ้น
กระบวนการนี้เหมาะสำหรับรักษาหลุมสิวที่มีความรุนแรงไม่มาก หลังการทำมาเด้คอลลาเจนหลุมสิว ผิวจะช่วยให้ผิวเนียนเรียบ ชุ่มชื้น และฟื้นฟู ทำให้ผิวมีความชุ่มชื้นมากขึ้น และสามารถเก็บความชุ่มชื้นได้ดีขึ้น
- การฉีด รีจูรัน (Rejuran)
การฉีดรีจูรันนับเป็นนวัตกรรม ที่ใหม่ที่สุดหากเทียบกับกระบวนการอื่นๆที่กล่าวมาข้างต้นโดย รีจูรันจะมีส่วนผสมของ PN (Polynucleotide) บริสุทธิ์ เข้มข้น 2% สกัดจากชิ้นส่วน DNA Salmon ที่อยู่ในทะเลธรรมชาติ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ DNA มนุษย์ 98 % มีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูผิว เมื่อนำมาฉีดในชั้นหนังแท้โดยตรง จะช่วยให้ผิวแข็งแรง สามารถลดเลือนริ้วรอย นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อการรักษารอยแผลเป็นต่างๆรวมถึงหลุมสิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การฉีด PRP (Platelet Rich Plasma)
คือ การรักษาบนพื้นฐานของกระบวนการรักษาตัวเองตามธรรมชาติของมนุษย์ เป็นสารที่ได้จากการนำเลือดของตัวเองมาปั่นแล้วฉีดกลับเข้าไป โดยผ่านกรรมวิธีการเฉพาะในการปั่นเพื่อแยกชั้นของพลาสมา (Plasma) ซึ่งมีลักษณะเป็นสีเหลืองใสออกมา โดยในพลาสมาประกอบด้วยเกล็ดเลือด ซึ่งแพทย์จะสกัดเอาเกล็ดเลือดจากชั้นนี้ซึ่งมีความเข้มข้นสูงที่สุดมาใช้ เพราะในเกล็ดเลือดประกอบด้วยสารต่างๆ ที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด รวมไปถึงสารกระตุ้นการเจริญเติบโต (Growth Factor) ซึ่งเป็นกลุ่มโปรตีนประเภทหนึ่งที่มีอยู่ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต มีหน้าที่ไปกระตุ้นให้เซลล์มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้เซลล์เหล่านั้นมีการเพิ่มจำนวนและซ่อมแซมตัวเองเกิดขึ้นนั่นเอง
โดยเกล็ดเลือดถือเป็นปัจจัยสำคัญในกลไกการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ โดยมี Growth Factor ที่จำเป็น เช่น FGF, PDGF, TGF-ß, EGF, VEGF, IGF ซึ่งมีบทบาทในการกระตุ้น Stem cell ให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ นอกจากนี้ เกล็ดเลือดยังกระตุ้นการทางานของ Fibroblasts (เซลล์สร้างคอลลาเจน) และ Endothelial cell (เซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด) จึงเป็นที่นิยมในการนำมาใช้เป็นหนึ่งใน skin booster เพื่อรักษาความอ่อนเยาว์ของผิว อีกทั้งยังเป็นตัวเลือกที่ดีในการนำมารักษาบริเวณแผลเป็นและหลุมสิวอีกด้วย
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีหลุมสิว
เมื่อประสบกับปัญหารอยหลุมสิว แนะนำให้ใช้วิธีการรักษาทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและมอบผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการรักษา และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ดังนี้
- รักษาความสะอาดผิวหนังอย่างดีโดยล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะในเวลาเช้าและก่อนนอน เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับประเภทผิว และไม่ทำให้ผิวแห้งหรือมันเกินไป งดการใช้สบู่หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมที่อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง
- งดสัมผัสแผลหรือรอยแดงจากสิว เช่น การบีบ แกะ หรือเอามือไปจับสิวเพื่อป้องกันการอักเสบเพิ่มเติม ดูแลผิวหนังอย่างอ่อนโยน
- เลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมที่อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์ น้ำหอม หรือน้ำมัน และหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางที่หนักหน้า
- หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นละออง ควัน และสิ่งสกปรกที่อาจส่งผลให้ผิวเกิดการอุดคันจากสิ่งสกปรก
- รับคำปรึกษาจากแพทย์ผิวหนังเพื่อการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพผิว แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะกับความรุนแรงของรอยหลุมสิวของคุณ
การปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้จะช่วยให้คุณรักษาและดูแลผิวให้มีสุขภาพดีและลดความเสี่ยงในการเกิดรอยหลุมสิวและปัญหาผิวอื่น ๆ ได้
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดหลุมสิวซ้ำ ๆ
การป้องกันการเกิดรอยหลุมสิวเป็นสิ่งสำคัญที่เราสามารถปฏิบัติตามได้เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดรอยหลุมสิว เช่น
- หลีกเลี่ยงการแกะ บีบ หรือขัดถูสิวอย่างแรง การกระทำเหล่านี้อาจทำให้สิวแตกหรือติดเชื้อมากขึ้น และเพิ่มโอกาสในการเกิดรอยหลุมสิว
- เมื่อสิวเริ่มแห้งและหาย อย่าแกะสะเก็ดออก เพราะการแกะสะเก็ดอาจทำให้แผลหายช้าลงและเสี่ยงให้เกิดรอยหลุมสิว
- หากมีสิวเยอะหรือเป็นสิวเม็ดใหญ่ที่กระจายกว้างบนใบหน้า ควรปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อรับการรักษาและป้องกันการเกิดรอยหลุมสิวในอนาคต
การรักษาสิวอย่างถูกต้องและเร็วรับเวลาสำคัญในการป้องกันการเกิดรอยหลุมสิว ควรรีบปรึกษาแพทย์หากมีปัญหาเกี่ยวกับสิว และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อปกป้องผิวหนังของคุณอย่างเหมาะสม
รักษาหลุมสิวที่ไหนดี?
การรักษาหลุมสิวมีความสำคัญในการควบคุมและป้องกันการเกิดรอยหลุมสิว การเลือกสถานที่หรือคลินิกรักษาหลุมสิวที่ให้บริการอย่างดีถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยปัจจัยที่ใช้ในการเลือกใช้บริการรักษาหลุมสิว มีดังนี้
- ค้นหาคลินิกที่มีมาตรฐานและความเชื่อถือ คลินิกที่เหมาะสมควรมีใบอนุญาตและป้ายชื่อสถานพยาบาลที่แสดงใบอนุญาตอย่างชัดเจน โดยควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าคลินิกมีความสะอาดและอยู่ในสภาพดี ทั้งยังควรมีพื้นที่หัตถการกว้างขวางและเครื่องมือการรักษาที่มีมาตรฐาน
- คุณภาพของแพทย์ แพทย์ที่ปรึกษาควรมีความเชี่ยวชาญในการรักษาหลุมสิว ควรมีใบประกอบวิชาชีพและประสบการณ์ในการรักษาสิว เป็นที่ปรึกษาและสามารถให้คำแนะนำที่เหมาะสมได้ และสามารถขอดูผลงานหรือรีวิวของแพทย์ก่อนที่คุณจะตัดสินใจได้
- มาตรฐานของบริการ คลินิกควรมีมาตรฐานสูงในการให้บริการ รวมถึงความนิยมของวิธีการรักษาที่วางแผนอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพของผิวหนังของแต่ละเคส
การเลือกคลินิกที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้การรักษาหลุมสิวมีผลลัพธ์ที่ดีและปลอดภัยโดยไม่เสี่ยงเพิ่ม หากเลือกใช้บริการคลินิกที่ไม่มีมาตรฐาน อาจก่อให้เกิดปัญหาผิวอักเสบและอาจลุกลามจนเป็นปัญหาที่แก้ได้ยาก
ที่คลินิก Skinserity ให้บริการอย่างมีมาตรฐาน พร้อมด้วยแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญและมากไปด้วยประสบการเฉพาะด้าน มีบริการให้เลือกหลากหลายพร้อมรีวิวเคสการใช้บริการจริงที่สามารถหาอ่านได้ก่อนเลือกใช้บริการ
FAQ การรักษาหลุมสิว
หลุมสิวสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่?
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดที่สามารถรักษาหลุมสิวให้หายขาดได้อย่างถาวร การรักษาหลุมสิวจึงเน้นไปที่การปรับผิวให้ดูเรียบเนียนเสียมากกว่า นอกจากนี้ การรักษาหลุมสิวยังเน้นไปที่การทำให้หลุมสิวตื้นขึ้น ดูเต็มขึ้น โดยอาจจำเป็นต้องใช้หลายวิธีประกอบกันเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
หลุมสิว รักษาเองได้ไหม?
หลุมสิว สามารถรักษาเองได้ในกรณีที่เป็นหลุมสิวตื้น ๆ ก็สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารผลัดเซลล์ผิว อย่าง AHA หรือ BHA เพื่อช่วยผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกที่ไม่เรียบเนียนสม่ำเสมอออก แต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาและใช้ในปริมาณที่เหมาะสมที่ไม่ทำให้ผิวเกิดอาการอักเสบ ระคายเคือง
หน้าเป็นหลุมสิวค่อนข้างมาก รักษาอย่างไร?
หากมีปัญหาหลุมสิวค่อนข้างเยอะและอาการหนัก แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อใช้วิทยาการทางการแพทย์เข้ามาช่วย แพทย์จะให้คำแนะนำพร้อมวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับหลุมสิวในแต่ละเคส นอกจากนี้ การรักษายังอาจมีการทำเลเซอร์ควบคู่ไปกับการฉีดฟิลเลอร์ การทายา และการทานยา เพื่อป้องกันการเกิดสิวใหม่
ทำไมสิวทำให้เกิดเป็นหลุมสิว?
การเกิดกลุมสิวหรือการที่เนื้อหายไปจนเป็นหลุมสิวหลังเป็นสิวเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก ๆ คือ
- ลักษณะสิว เช่น เป็นสิวเม็ดใหญ่ สิวหัวช้าง ที่เมื่อเกิดการอักเสบจะทำให้เกิดเป็นโพรงหนองใต้ชั้นผิวหนัง และการสมานแผลที่ไม่สมบูรณ์จนทำให้เกิดการยุบตัวของผิว กลายเป็นรอยบุ๋มหรือหลุมสิวนั่นเอง
- การรักษาที่ไม่ถูกวิธี ทำให้เนื้อเยื่อผิวหนังเกิดการอักเสบและสมานแผลได้ไม่ทัน เกิดเป็นแผลบุ๋มลงไปในชั้นผิวหนัง ทำให้เห็นเป็นหลุมสิวนั่นเอง
หลุมสิวมักเกิดจากสิวอักเสบและการเกิดความเสียหายภายใต้ชั้นผิวหนัง เช่น การบีบหรือกดสิวอย่างแรง ดังนั้น จึงควรรักษาสิวอย่างระมัดระวังเพื่อลดโอกาสการเกิดหลุมสิว
สำหรับผู้ที่เผชิญกับปัญหาหลุมสิวอยู่แล้ว หากต้องการให้ผิวหน้าดูดีขึ้นและลดรอยหลุมสิว แนะนำว่าควรพิจารณาปรึกษาแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาหลุมสิว แพทย์จะประเมินระดับความรุนแรงของปัญหาและแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสม ควรเลือกคลินิกที่มีมาตรฐานและแพทย์ที่มีประสบการณ์ เพื่อความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
ติดต่อสอบถามหรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.skinserityclinic.com/
คำยืนยันของเจ้าของเรื่องสั้น
✓ เรื่องนี้ฉันแต่งขึ้นเอง
คำวิจารณ์
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
โหวต
* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้
แบบสำรวจ