ประวัติศาสตร์จีนโดยสังเขป

-

เขียนโดย Domewriter

วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 20.29 น.

  20 ตอน
  0 วิจารณ์
  10.57K อ่าน

แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 21.20 น. โดย เจ้าของเรื่องเล่า

แชร์เรื่องเล่า Share Share Share

 

8) ยุคราชวงศ์ชาง 3

อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ

22)  ชางอู่ติง

♢ 1250–1192 BC : ยุคราชวงศ์ชาง
          ราชาองค์ที่ 22  ชางอู่ติง บันทึกประวัติศาสตร์โบราณบางเอกสารระบุว่า ครองราชย์  ในราว 1324 - 1266 ปีก่อนคริสศักราช ซึ่งคลาดเคลื่อนกับหนังสือ บันทึกประวัติศาสตร์ฉบับอื่น

           ครอบครัวของชางอู่ติง ประกอบด้วย มเหสีฟูห่าว, มเหสีฟูจิง โอรสมี องค์ชายจู่จี, องค์ชายจู่เกิง , องค์ชายจู่เจี่ย เป็นต้น                

           ราชาชางอู่ติง  เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ราชวงศ์ชางที่นักประวัติ- ศาสตร์ได้ถูกพบกระดูกจารึกที่ถูกฝังใต้ดินและซากปรักหักพัง  ร่วมสมัยราช วงศ์เซี่ยอวี่ใกล้กับเมืองอันหยาง ในปีค.ศ.1899
            กระดูกจารึกว่า ราชาองค์ที่ 21 ชางอู่ติง เสวยราชย์ในปีติงเว่ย์  โดย มีเสนาบดีก้านผานเป็นผู้จงรักภักดี
            ชางอู่ติงมีมเหสีและพระสนมจากเมืองขึ้นอย่างละหนึ่งคน  มเหสีฟู่ห่าว เพียงมีฐานะทาสจากเมืองขึ้นแห่งหนึ่ง ที่ได้เป็นฮองเฮาของชางอู่ติง และมีตำ- แหน่งมหาปุโรหิตระดับสูช่วยงานด้านการทหาร  และมเหสีฟูจิง พระสนม ของชางอู่ติง มีหน้าที่รับผิดชอบ ด้านเกษตรกรรม
           ในปีที่ 25  องค์ชายจู่จี องค์รัชทายาทถูกเนรเทศ และสิ้นพระชนม์ในพื้น ที่กันดารห่างไกล  ไม่มีบันทีกประวัติศาสตร์ ระบุสาเหตุที่องค์ชายจู่จีถูกเนรเทศ          

          ในปีที่ 29  ชางอู่ติงประกอบพิธีกรรมบูชา ปฐมจักรพรรดิชางทังที่อาราม หลวง ขณะนั้นมีไก่ป่าตัวหนึ่งยืนอยู่บนเรือที่ทำด้วยทองสัมฤทธิ์  ทำให้พระองค์ ทรงพิโรธมาก

           ชางอู่ติง ทรงประณามข้าราชบริพารที่ทำการบกพร่อง และเขียนบันทึก บทความชื่อว่า วันแห่งความอัปยศของราชวงศ์ชาง￿
           ในปีที่ 32   ชางอู่ติงยกกองทัพไปตีรัฐกุ้ยฟง ทำสงครามอยู่ 3 ปี จนได้ ชัยชนะ ชนเผ่าตี้และเชียง ซึ่งเป็นพวกคนเถื่อน ได้ส่งราชทูตมาเจริญไมตรีสันติ ภาพ
           ในปีที่ 43  ชนเผ่าตี้และเชียงยกเลิกสัญญาสันติภาพ ก่อการกบฏยก กองทัพพิชิตเมืองต้าเผิง และได้ยกทัพมาตีเมืองทันเหว่ยในอีก 7 ปี ให้หลัง
           ในปีที่ 59  ชางอู่ติง ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในราชาที่ดีที่สุดของ ราชวงศ์ชาง หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต องค์ชายสู่เกิงขึ้นครองราชบัลลังค์

           ☆ ขันที  หรือ ชายที่ถูกตอนอวัยวะเพศ ทางเอเชียสมัยโบราณ เพื่อใช้ สำหรับควบคุมฝ่ายในราชสำนัก มีปรากฏในบันทึกพงสาวดาร ของชางติงหวัง แห่งราชวงศ์อินซางหรือราชวงศ์ซางยุคหลัง นับแต่ย้ายไปที่เมืองอิน ปัจจุบัน คือเมืองอันหยาง       
          ขันทีมีตั้งแต่ยุคสมัยราชวงศ์อินซาง  1300-1046 ปีก่อนคริสศักราช โดยจับเชลยเผ่าเชียงที่เป็นเชลยศึกมาลงโทษ โดยการตัดองคชาตแล้วนำไป ใช้งานรับใช้ในราชสำนักเยี่ยงทาสชั้นดี ต่อมาได้มีการใช้เป็นบทลงโทษต่อผู้ ที่คิดก่อกบฏหรือกระทำผิดให้กษัตริย์ไม่พอใจ

           ขันทีถูกเรียกว่า ไท่เจี้ยน หรือ ไท้ก๋ำ หรือ ฮ่วนกวน เป็นคำว่าขันทีแผลง มาจาก คำว่า ขณฑ (ขัณฑะ) ในภาษาสันสกฤษแปลว่า ไม่สมบูรณ์ ขาดหาย ตัด ทิ้ง หรือมาจากภาษาอังกฤษละติน และอาหรับที่เรียกขันที ว่า ยูนุก มีรากศัพท์ ภาษากรีกจากคำว่า ยูโนคอส ผู้ดูแลเตียงของเชื้อพระวงศ์ ของชาวสุเมเรียนใน ดินแดนเมโสโปเตเมียเมื่อ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล
           วัฒนธรรมการใช้ยุนุกในเมโสโปเตเมียแตกแขนงออกเป็น 2 ทางคือ สายแรกแพร่หลายไปตามเส้นทางสู่จีนในสมัยราชวงศ์สุย   และสายที่ 2 แพร่ หลายในเอเชียตะวันตกและเอเชียใต้ ไปสู่เปอร์เซียโบราณและจักรวรรดิโรมัน ตะวันออกหรือไบแซนไทน์
          ในเปอร์เซียและไบแซนไทน์ในช่วงที่มุสลิมเรืองอำนาจ พวกเขาได้รับ เอายูนุกเข้ามาด้วย  ดังปรากฏในจักรวรรดิมุสลิมในคริสต์ศวรรษที่ 16-18 อย่างออตโตมาน-เติร์ก ซาฟาวี ของอิหร่านและโมกุลของอินเดีย โดยจักรวรรดิ ทั้ง 3 ได้รับการยกย่องว่าเป็นราชสำนักที่เจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกับราชสำนักจีน  

          ส่วนในชนชาติมอญเรียกขันทีว่า กมนุย อ่านว่า ก็อมนอย แปลว่า ขันทีที่ ปราศจากความรู้สึกทางเพศ
          ราชวงศ์สุย ค.ศ.581 - 618  ได้ยกเลิกบทลงโทษการตัดองคชาต  แต่ สามารถสมัครใจเข้าเป็นขันทีรับใช้ในราชังได้     ซึ่งสาเหตุจากในราชวังที่เป็น ตำหนักส่วนพระองค์ของฮ่องเต้ที่มีหญิงสาวมากมาย และงานที่ใช้แรงงานบาง อย่างที่หญิงสาวมิอาจกระทำได้ ต่อมาขันทีเริ่มมีบทบบาทมากขึ้น เพื่อช่วยงาน ส่วนพระองค์  ร่วมถึงงานราชการลับในราชสำนัก  ทำให้ขันทีมีอำนาจอิทธิพล ในราชสำนักมากมาย นำไปสู่การฉ้อฉลและความวุ่นวายในราชสำนัก

ขันทีนั้น มีอยู่ 2 ประเภท
1)   ขันทีที่ถูกตอนโดยตัดแค่ปลายองคชาตเท่านั้น ยังเหลือพวงอัณฑะอยู่ขันที ประเภทนี้ ยังเหลือฮอร์โมนเพศชายอยู่มากมาย เสียงยังห้าวแบบชาย และจะได้ อนุญาตให้ปฏิบัติภารกิจหน้าที่การงานได้เฉพาะเขตพระราชฐานชั้นนอกเท่านั้น
2)  ขันทีที่ถูกตอนโดยตัดทิ้งทั้งพวง เสียงจะแหลมเล็ก ลูกกระเดือกหายไปฮอร์- โมนเพศชายหมดไป พวกนี้จะได้รับความไว้ใจสูงกว่า และสามารถปฏิบัติงาน ในเขตพระราชฐานชั้นใน
           ในยุคสมัยต่อมาของราชวงศ์หมิง ค.ศ.1368- 1644  และราชวงศ์ชิง ค.ศ.1644 - 1991 มีผู้เต็มใจตัดองคชาตมาสมัครเป็นขันทีจำนวนมากขึ้น
           เริ่มแรก พ่อแม่ของเด็กหรือบุรุษที่ตัดสินใจสมัคร เป็นขันทีมาที่โรงตอน ขันที ซึ่งการตัดองคชาตมีความเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิต จึงมีการทำหนังสือสัญญา ทั้งสองฝ่าย  เพื่อยินยอมผ่าตัดโดยไม่เอาผิด
          พ่อหมอที่ผ่าตัดจะเรียกเงินค่าผ่าตัดเป็นขันที  เพื่อเข้าทำงานในราชวัง และหากได้ เป็นขันทีใหญ่ในวังจะมีรางวัลตอบแทนมอบให้พ่อหมออีกด้วย
           ก่อนผ่าตัดต้องงดน้ำงดอาหาร  ขับของเสียในร่างกายจนหมด  แล้วถูก จับขึงพืด แขนขาและเอวขยับไม่ได้ขณะผ่าตัด ในห้องผ่าที่ปิดประตูหน้าต่างมิด ชิดไม่ให้อากาสเข้า มาในห้องก่อให้เกิดเชื้อโรค ลแผลอักเสบ

           พ่อหมอจะถาม 3 ครั้ง เพื่อยืนยันความแน่ใจ ที่จะตัดองคชาตเป็นขันที เพราะเมื่อตัดองคชาตแล้ว  จะเปลี่บนแปลงไม่ได้อีก  ต้องใช้ชีวิตในอีกรูปแบบ หนึ่งไปตลอดชีวิต
          หลังจากยืนยัน 3 ครั้ง พ่อหมอจะใช้สุราดีกรีแรงและยาสมุนไพร กรอก ปากให้เกิด อาหารสมองมึนร่างกายชาจนร่างกายกระตุกไปทั้งตัวเลยทีเดียว
           พอพ่อหมอผ่าตัดองคชาตกับลูกอัณฑะหมดสิ้น   พ่อหมอจะเอามีดไป ล้นไฟจนร้อน แล้วนำมีดมานาบกับบาดแผล  เพื่อฆ่าเชื้อ   และใช้สมุนไพรบด หยาบประคบที่แผลห้ามเลือด นำหลอดเล็กที่ทำจากขนไก่มาสอดที่รูท่อปัสสาวะ เพื่อเปิดช่องทางไม่ให้ผิวบาดแผลสมานปิด บริเวณท่อปัสสาวะและช่องขับถ่าย
           พ่อหมอจะให้นอนพักอยู่ในห้องมิดชิด ไม่ให้โดนอากาสจนติดเชื้ออัก- เสบ  3 วัน  โดยนำดีหมูมาทาแผลที่บวม ให้กินแต่โจ๊กเหลว และพยายามไม่ขับ ถ่ายไม่ให้แผลฉีก พอครบ 3 วัน ก็จะเริ่มเดินได้ได้บ้าง    แต่ต้องมีคนคอยพยุง อีกสักระยะ
           ส่วนอวัยยะเพศ พ่อหมอจะนำไปคลุกปูนขาว ดูดความชื้นให้ไม่เน่าเปื่อย นำผ้าแดงมามัดห่อไว้แน่น พ่อหมอบางคนจะคืนอวัยวะให้นำไปใส่กล่องไม้ เพื่อ ไปเก็บไว้บนคานบ้าน หรือศาลบรรพชน   บางคนเก็บไว้บนคานในศาลขันที  ถือ เป็นการสร้างศิริมงคลให้เจริญ่รุงเรือง      

          เมื่อเป็นขันที่ใหญ่ในราชวังค่อยมาไถ่ถอนคืนไว้นำไปเย็บติดคืนซากศพ ของตนตาม ความเชื่อที่ว่าอวัยยะเป็นบุพการีมอบให้ จึงถือเป็นของสำคัญ มิเช่น นั้นเกิดใหม่จะต้องพิการ ขันทีที่โชคร้ายไม่สามารถได้อวัยยะคืนมักใช้ของเทียม ฝังเย็บติดกับศพเมื่อเสียชีวิตแทน
             กรมขันทีจะทำการตรวจสอบร่างกายของผู้ที่ผ่าตัดองคชาต  เพื่อเป็น ขันทีที่หายดีแล้ว ส่งไปรับใช้ตามส่งนต่างๆ ในราชวังบางคนได้ดีมีทรัพย์อำนาจ บางคนลำบากตรากตรำจนตายในราชวัง ยศของขันทีมี 4 ระดับๆ ละ 9 ชั้น หลัง ชราเกษียณแล้วให้ไปอยู่กับขันทีชรา ที่เกษียณอื่นๆ ที่หมู่บ้านขันทีนอกราชวัง             

           ขันทีส่วนใหญ่ฮอร์โมนไม่ปกติ อารมณ์ไม่แน่นอน ซุ่มเสียงและรูปร่าง ก็ผิดปกติไป ภายนอกหรือภายในราชวังพวกขันทีก็เป็นที่ดูถูก ทำให้พยายามหา สิ่งเติมเต็ม   เมื่อในราชสำนักและราชวังมีการแก่งแย่งชิงอำนาจอยู่ตลอด จึงมี การแบ่งพรรคแบ่งพวกหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ ขันทีบางคนได้รับตำแหน่ง เป็นพี่เลี้ยงองค์ชายที่เยาว์วัย  ขันทีบางคนถูกองค์ชายวัยหนุ่มใช้เป็นเครื่องรอง รับอารมณ์วิตถารจนได้ดิบได้ดี

 

23)   ชางจู่เกิง

♢ 1192–1183 BC : ยุคราชวงศ์ชาง
          ราชาองค์ที่ 23  ชางจู่เกิง ในบันทึกประวัติศาสตร์ระบุว่า ชางจู่เกิงทรง ดำริที่จะสละสิ่งของต่างหน้า ซึ่งเป็นของฟู่เจิงไทเฮา พระมารดาของพระองค์ ซึ่งเป็นที่ระลึกความทรงจำของพระองค์
           ความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าเห็นว่า   ชางจู่เกิงมีความรักต่อพระ มารดาของพระองค์อย่างมากมาย  หลังจากฟู่เจิงไทเฮา สิ้นพระชนษ์ก็มิยอม เผาศพบรรจุฝังไว้ที่สุสานหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของใด    เมื่อครองราชย์ผ่านไป หลายปี ชางจู่เกิงค่อยยินยอมเผาพระศพมารดาและสิ่งของต่างๆของพระนาง           
           ชางจู่เกิงครองราชย์ได้ 7 ปี ทรงเสด็จสวรรคต หลังจากนั้น อ๋องจู่เจี่ย พระอนุชา ขึ้นครองราชย์บัลลังค์

 

24)  ชางจู่เจี่ย

♢ 1183–1174 BC : ยุคราชวงศ์ชาง
           ราชาองค์ที่ 24  ชางจู่เจี่ย ชื่อเดิม สือซ่ายแห่งตี้เจี่ย ในปีรัชศกที่ 12 ชางจู่เจี่ยส่งกองทัพทหารไปตีรัฐซิหรงที่ก่อการกบฏในภาคตะวันตก จนกระ- ทั่งถึงฤดูหนาว
           ปีรัชศกที่ 13 หลังจากปราบปรามกบฏในรัฐซิหรง ชาวซิหรงได้ส่งราช- ทูตไปยังราชสำนักชางในปีเดียวกัน  และพระองค์จึงมีรับสั่งให้เจ้าเมืองรัฐปิน จัดตั้งกองทัพที่ควบคุ้มเมืองก้าน
           ปีรัชศกที่ 24 ชางจู่เจี่ยทรงเพิ่มบทลงโทษที่ปฐมฮ่องเต้ชางทังตั้งขึ้นมา เพื่อไว้ ใช้ปราบปรามการกบฏ
           ปีรัชศกที่ 27 มเหสีคนหนึ่งของชางจู่เจี่ยได้มีประสูติโอรสสองคน คือ องค์ชาย ซีเซียว และองค์ชายซีเหลียง
           ชางจู่เจี่ยครองราชได้ 9 ปี  ทรงเสด็จสวรรคต  องค์ชายหลิ่นซิงขึ้น ครองราชย์บัลลังค์

25)  ชางหลิ่นซิน

♢ 1174–1170 BC : ยุคราชวงศ์ชาง
           ราชาองค์ที่ 25  ชางหลิ่นซิน หรือ เฝิงซิน ปกครองแผ่นดินในปีรัชศก เกิ้งหยิน
          บันทึกประวัติศาสตร์พงศาวดารไม้ไผ่ระบุว่า ชางหลิ่นซินครองราชย์ 4 ปี  แต่ในบันทึกประวัติศาสตร์ของซือหม่าเชียน   ระบุว่าครองราชย์ได้ 6 ปี จึงเสด็จ สวรรคต จากนั้น งค์ชายคังติงขึ้นครองราชย์บัลลังค์

 

26)  ชางคังติง

♢ 1170 -1147  BC : ยุคราชวงศ์ชาง
           ราชาองค์ที่ 26 ชางคังติง หรือ เกิงติง ปกครองแผ่นดินในปีแรกรัชศก เจียหวู่  หลังจากพระองค์สวรรคตไปแล้ว องค์ชายหวูหยี่ขึ้นครองราชย์บัลลังค์

27)  ชางอู่อี้

♢ 1147-1112 BC : ราชวงศ์ชาง
           ราชาองค์ที่ 27  ชางอู่อี้ หรือ หวูยี่ ชื่อเดิม ฉวี  บันทึกประวัติศาสตร์ระบุ ว่า ชางอู่อี้ ทรงตั้งเมืองหลวงใหม่ที่เมืองอิน ปัจจุบันเรียกเมืองอินซวี
           ปีรัชศกที่ 21  ราชาโจวโข่วฟู่ ผู้ครองรัฐโจวถึงแก่กรรม
           ปีรัชศกที่ 24  รัฐโจวยกกองทัพไปตีรัฐเฉิงกับรัฐปี้ และได้ชัยชนะเข้า ยึดครองรัฐปี้
           ปีรัชศกที่ 30  บันทึกประวัติศาสตร์ของซือหม่าเชียนในสมัยราชวงศ์ฮั่น ระบุว่า เจ้าเมืองอี้ฉวีมีบุตรชายต่างมารดาสองคน ครั้นเจ้าเมืองอี้ฉวีถึงแก่ความ ตายแล้ว บุตรทั้งสองชิงอำนาจกัน บ้านเมืองเกิดจลาจล รัฐโจวอาศัยจังหวะเข้า รุกรานและยึดเมืองได้สำเร็จ
           รัฐโจวยกกองทัพไปตีรัฐอี้ฉวีได้ชัยชนะ แล้วจับตัวเจ้าเมืองอี้ฉวีและเชื้อ พระวงศ์คุ้มขังไว้              
           ฝ่ายรัฐชางได้ขยายอิทธิพลมาทางตะวันตก แถบหุบเขาแม่น้ำเว่ย์  ซึ่ง รัฐโจวปกครองอยู่ ทำให้เกิดสงครามแถบชายแดนระหว่างทั้งสองรัฐ         
            ปีรัชศกที่ 34 ราชาโจวจี้แห่งรัฐโจวเสด็จมาที่เมืองหลวงของรัฐชาง เพื่อถวายไมตรี เป็นเมืองพี่เมืองน้องกับรัฐชาง ชางอู่อี้จึงประทานม้า 10 ตัว กับ หยก 30 ชิ้น เป็นของกำนัลมอบราชาโจวจี้
           รัฐโจวตะวันตกยอมเป็นเมืองน้องของรัฐชาง และช่วยเหลือในการขยาย อาณาจักรไปทางทิศตะวันออก
           ปีรัชศกที่ 35  อ๋องโจวจี้ยกกองทัพไปตีรัฐกุ่ยหรงที่ดินแดนซีลั่ว และได้ จับผู้ครองรัฐและเชื้อพระวงศ์มาเป็นเชลยที่นครหลวงแห่งรัฐชางจำนวน 20 คน
           ในปีเดียวกัน  ชางอู่อี้เสด็จไปล่าสัตว์ตามลำแม่น้ำเหลืองและแม่น้ำเว่ย์   ฟ้าผ่าใส่ พระองสิ้นพระชนม์
            บันทึกประวัติศาสตร์  ระบุว่า  สวรรค์ลงโทษชางอู่อี้ที่ทรงดูหมิ่นเทวดา เชื่อกันว่า  ครั้งหนึ่ง  ชางอู่อี้สั่งให้แขวนถุงใส่โลหิตไว้กลางอากาศ แล้วทรงยิง เกาทัณฑ์ไปยังถุงนั้น  พร้อมตรัสว่า เป็นการยิงฟ้าและท้าทายเทวดาให้ฟ้าผ่าใส่ ขณะเกิดฟ้าร้อง กลายเป็นเรื่องร่ำลือกันว่า ตชางอู่อี้คิดยิงฟ้าจึงถูกฟ้าผ่า
          เมื่อชางอู่อี้ทรงเสด็จสวรรคต องค์ชายเหวินติง ขึ้นครองราชบัลลังค์

 

28)  ชางเหวินติง

♢ 1112 - 1102 BC : ยุคราชวงศ์ชาง
            ราชาองค์ที่ 28  ชางเหวินติง  เมื่อพระองค์สวรรคต องค์ชายตี่อี้ขึ้น ครองราชบัลลังค์

 

29)  ชางตี้อี่

♢ 1102 - 1075 BC : ยุคราชวงศ์ชาง
            ราชาองค์ที่ 29 ชางตี้อี่ มีพระอนุชาสองพระองค์ คือ อ๋องจีจื่อและอ๋อง ปี่ก้า  เมื่อชางตี่อี้ทรงสวรรคต องค์ชายโจ้วหวังขึ้นครองราชบัลลังค์

 

 

คำยืนยันของเจ้าของเรื่องเล่า

✓ เรื่องนี้ฉันแต่งขึ้นเอง

คำวิจารณ์

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้


รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
คำวิจารณ์เพิ่มเติม...

โหวต

เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
0 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
0 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
0 /10

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้


แบบสำรวจ

คุณคิดยังไงกับเรื่องเล่าเรื่องนี้

* สามารถกรอกแบบสำรวจโดยไม่ต้องเป็นสมาชิกก็ได้ครับ

 

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา