ประวัติศาสตร์จีนโดยสังเขป

-

เขียนโดย Domewriter

วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 20.29 น.

  20 ตอน
  0 วิจารณ์
  10.01K อ่าน

แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 21.20 น. โดย เจ้าของเรื่องเล่า

แชร์เรื่องเล่า Share Share Share

 

16) ยุคราชวงศ์โจว 7

อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ

 

26)  โจวเต้า

♢ 520 BC : ราชวงศ์โจวตะวันออก  
           สมเด็จเจ้าองค์ที่ 26  โจวเต้า ชื่อเดิม จีเหมิ่ง ทรงครองราชย์ได้ไม่ถึง 1 ปี องค์ชายจีเฉา พระเชษฐาได้สังหารพระองค์ชิงบัลลังก์ แล้วยกให้องค์ชายโจวฉิ้ง พระนัดดาขึ้นครองราชบัลลังค์

            ฝ่าย ขงจื้อ และครอบครัวย้ายไปอยู่ที่เมืองหลวงของแคว้นโจว

 

27)  โจวฉิ่ง

♢ 519 - 477 BC : ราชวงศ์โจวตะวันออก  

            สมเด็จเจ้าองค์ที่ 27  โจวจิ้ง  ชื่อเดียวกับรัชกาลที่ 20 ชื่อเดิม จีไก้ เป็นโอรสของโจวจิ่งและพระสนมมู่  โจวฉิ่ง นับเป็น สมเด็จเจ้าองค์สุดท้ายที่ ครองราชย์อยู่ในช่วงยุคชุนชิว
           

           ☆ ตำนานภาพวาดเฒ่าจับปลาในสมัยชุนชิว เฒ่าประมงตกปลา มือหนึ่ง ถือคันเบ็ดมือหนึ่งจับปลาในข้องมีปลาอยู่เต็ม หมายถึง ตกปลาได้กำไรงาม
           เมื่อครั้ง   เจ้าฮุ่ยนำกองทัพแคว้นเจ้าบุกแคว้นเอี้ยน  ขุนนางซูไต๋ แห่งรัฐ เอี้ยน เป็นผู้อาสาเจรจาทางการทูต โดยยกเรื่องนกกระสากับหอยมุกที่ต่างไม่ยอม อะลุ่มอล่วยกัน หอยมุกงับปากนกระสาไม่ยอมคายปาก ชาวประมงผ่านมาจึงจับทั้ง หอยมุกและนกกระสา
          เจ้าฮุ่ยรับฟังแล้วก็ยินยอมทำสัญญาเป็นพันธมิตรยุติสงครามของทั้งสอง รัฐ      หลังจากนั้น ภาพวาดนกกระสากับหอยมุกถูกวาดขึ้นแยกกับภาพวาดชาว ประมงอีกภาพหนึ่ง ซึ่งถือเป็นภาพมงคลที่เป็นที่นิยมแขวนไว้ในบ้าน

            

           ☆ เจ้าจอมหน้าด่าง ดัดแปลงจากในนิยายในหยังสือห้องสิน เรื่องเล่าว่า ยุคสมัยจั้นกั๋ว ฉีชวนหวังลุ่มหลงนารีแผ่นดินแคว้นฉีแตกแยก ขุนนางก่อกบฏตั้ง ตนเป็นราชาปกครองดินแดนต่างๆ
           บนสวรรค์ เทพีดาวเทียนหวัง หรือ เทพีดาวรูปงาม นางทะนงในความงาม ของตนเองมาก ราชินีสวรรค์เจ้าแม่ไซอ้วงบ๊อทาปากเลอะ ถูกเทพีดาวรูปงามหัวร่อ เยอะ จึงถูกลงโทษส่งไปเกิดบนโลกมนุษยเป็นสตรี ชื่อ เจ็งปอเอี่ยม หรือ จงหลีชุน เกิดที่อำเภออู๋เอียน แคว้นฉี เป็นสตรีที่ชาญฉลาด แต่รูปร่างอัปลักษณ์  หน้าผากยุบ ตาลึก ท้องยื่นยาว ข้อใหญ่ จมูกรั้งเชิด ลูกกระเดือกโปน คออวบพอง ผิวดำ  ต่อมา กลายเป็นสำนวน เรียก สาวอู๋เอียน หรือ หญิงสาวอัปลักษณ์
           ฝ่ายในดินแดนปีศาจ จิ้งจอกเก้าหางได้ส่งนางมารดาวเทียนหลงให้ไปจุติ เป็นสตรีงามบนโลก เพื่อทำร้ายมนุษย์      
          วันหนึ่ง  ฉีชวนหวังและคณะเดินทางตรวจเมืองต่างๆ  ฉีชวนหวังออกพบ ประชาชนในแคว้นฉี จู่ๆ ก็มีซุ่มเสียงสตรีตะโกนด่าทอตำหนิพระองค์  ทั้งที่ไม่เคย มีคนกล้าตำหนิพระองค์มาก่อนจึงรับนางเป็นฮองเฮาให้ช่วยพัฒนาแคว้นฉี แต่พบ ว่าสตรีนางนั้นมีรูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์
          แต่อย่างไร ฉีชวนหวังก็พอพระทัยที่จงหลีชุนตำหนิด่าว่าข้อเสียของ พระองค์ และข้อเสียในการบริหารบ้านเมืองให้พระองค์รับรู้
           ขณะที่ฉีชวนหวังและคณะเดินทางกลับเมืองหลวง ขุนนางกังฉินที่คิดชิง ราชบัลลังค์ ได้วางแผนดักลอบปลงพระชนษ์ เจ็งปอเอี่ยมได้ช่วยชีวิตฉีซวนหวัง ไว้
          ฉีซวนหวังประกาสต่อหน้าขุนนางที่ร่วมเดินทางว่า เจ็งปอเอี่ยม เป็นสตรีมี พระคุณช่วยชีวิตพระองค์ นางขออะไรก็จะให้ตามนั้น
          เจ็งปอเอี่ยมว่าขอให้รับนางเป็นมเหสี
          ฉีซวนหวังแม้ไม่คิดรับเป็นมเหสี แต่ราชาลั่นวาจาแล้วไม่อาจคืนคำ โดย เฉพาะอย่างยิ่งนางเป็นผู้มีพระคุณที่ช่วยชีวิตพระองค์
         ฉีซวนหวังจึงสัญญาว่ากลับราชวังแล้วค่อยจัดขบวนมารับนาง แต่พอกลับ ราชวังก็พบกับขุนนางกังฉินที่นำหญิงงามที่เป็นดาวเทียนหลงจุติ มาถวายตัวเป็น นางใน

           ฉีชวนหวังลุ่มหลงในความงามของนาง จึงรับนางเป็นฮองเฮา และลืม เลือนสัญญาที่ให้ไว้กับเจ็งปอเอี่ยม หลังจากนั้น เทพพีดาวเทียนหลงก็เริ่มใช้ อำนาจในฐานะฮองเฮา ก่อกวนทำลายบ้านเมือง
          ต่อมา เจ็งปอเอี่ยมมาที่ราชวังทวงสัญญากับฉีชวหวัง นางจึงได้เป็นเจ้า- จอม     ดังนั้น  เจ็งปอเอี่ยมและเทพีเทียนหลงเหมือนน้ำกับไฟที่ต้องหักล้างกัน ตลอด  

          ในที่สุดเจ็งปอเอี่ยมก็กระชากหน้ากากจองเทพีเทียนหลงออกมาได้ กำจัด เทพีเทียนหลงได้สำเร็จ ทำให้บ้านเมืองสงบสุข
          ราชินีสวรรค์เจ้าแม่ไซอ้วงบ๊อจึงยกโทษให้เทพีดาวรูปงาม ใบหน้ารูปร่าง ของนางกลับมาเป็นปกติ และใช้ชีวิตอยู่กับฉีชวนหวังอย่างมีความสุข
           

          ในสมัยรัชกาลของโจวฉิ่ง ปรากฏบันทึกพงศาวดารของซือหม่าเชียนที่ เป็นขุนนางยุคสมัยฮั่น ระบุว่า เล่าจื๊อมีอายุมากกว่าขงจื๊อ แต่อยู่ในยุคสมัยเดียวกัน และเคยได้พบปะสนทนากัน
          เล่าจื๊อได้ทำงานในราชวงศ์โจว ทำให้ขงจื๊อและเล่าจื๊อได้มาพบเจอกันโดย บังเอิญกันในแคว้นโจว   ปัจจุบันคือแถบเมืองลั่วหยาง โดยขงจื๊อได้มาค้นหาตำรา ในห้องสมุดบ่อยครั้ง    ทั้งสองได้แลกเปลี่ยนทรรศนะคติ ความเห็นในหลายๆ ด้าน เป็นเวลาหลายเดือน
          เล่าจื๊อเชื่อว่า ควรหลีกเลี่ยงความรุนแรงต่างๆ เท่าที่จะเป็นไปได้       

          ขงจื๊อกล่าวว่า การได้เสวนากับท่านเล่าจื๊อ ถือว่าเป็นการศึกษาที่ล้ำลึก และ ดีเยี่ยมกว่าหนังสือในห้องสมุดเสียอีก￿

แม้ว่าเล่าจื๊อจะไม่ได้ปลูกฝังวัฒนธรรมหยั่งลึกได้เทียบเท่ากับขงจื๊อ ในอา รยธรรมจีน แต่เป็นที่เคารพนับถือโดยทั่วไป แม้แต่ขงจื๊อยังเรียกท่านว่า อาจารย์ ทั้งแนวความคิด และการปฏิบัติตามหนทางแห่งเต๋า
          ☆ จวงจื้อ บัณฑิตผู้ติดตามเล่าจื้อที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่ง ได้เขียนตำราที่มี อิทธิพลต่อวงการวรรณกรรมของจีนมาก โดยให้ข้อคิดเกี่ยวกับ ปัจเจกนิยม, วิมุตติ และ ความปราศจากกังวล   

          ต่อมา ราชสำนักโจวมีแต่การทุจริตและเสื่อมทราม สภาพสังคมในนคร หลวงของแคว้นโจวก็เสื่อมโทรมตกต่ำ  เล่าจื๊อที่พำนักในเมืองหลวงแคว้นโจว จึง ตัดสินใจผละจากไปออกแสวงหาความวิเวก  เขาขี่ควายมุ่งสู่ทะเลทรายชมพูทวีป ระหว่างทางผ่านด่านหานกู่
          อิ๋นสี่ ขุนนางดูแลประจำด่านหานกู่ ได้ยินชื่อเสียงของเล่าจื๊อมานานจึง ต้อนรับท่านด้วยมิตรจิต ก่อนเล่าจื๊อจากไป อิ๋นสี่พูดกับท่านว่า “ท่านจะไปแล้ว โปรดเขียนหนังสือสักเล่มให้เราเถิด”￿  

          เล่าจื๊อจึงเขียนหนังสือไว้ 1 เล่ม คือ คัมภีร์เต้าเต๋าจิง หรือ เต๋าเต็กเก็ง ได้รับการ แปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย มีแพร่หลายอยู่ในส่วนต่างๆ ของโลก

คัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง หรือ เต้าเต๋อจิง เป็นงานที่สำคัญที่สุดของเล่าจื๊อ  คัมภีร์ มีอักษรจีน 5,000 อักษร แบ่งออกเป็น 81 บทด้วย       

           คำว่า เต๋า ในคัมภีร์ของเล่าจื้อ มักจะหมายถึง มรรค หรือ หนทาง หรือ ธรรม ซึ่งมีความหมายกว้าง ๆ และมักตีความหมายในแนวเป็นไปตามธรรมชาติ การกระทำที่ สอดคล้องกับวิถีแห่งเต๋าใดๆ จะสามารถบรรลุมรรคผลได้โดยง่าย

          เต็ก หรือ เต๋อ หมายถึงคุณธรรม ซึ่งมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของประเทศจีน อย่างมาก โดยภายในคัมภีร์นั้นมีเนื้อหาในด้านปรัชญาบุคคล   ความกลมกลืนต่อ การใช้ชีวิตกับธรรมชาติ จนถึงปรัชญาการเมือง        

          เต้าเต๋อจิงมีเนื้อหากล่าวถึงธรรมชาติและปรัชญา คำว่า เต้า-เต๋อ-จิง เป็น ปรัชญาในเรื่องโลกและชีวิต สามารถแยกเป็นเต้า 道 หมายถึง วิถีทางแห่งธรรม ชาติ

          นอกจากนี้เต๋ามีนักปรัชญาให้ความหมายไว้มากมาย เช่น เต๋า หมายถึง หน ทางมรรคา, คำว่า เต๋อ แปลว่า คุณธรรม; ความดี และ จิง 经 แปลว่า คัมภีร์, สูตร, วรรณคดี, ชั้นสูง, กฎ, จารีต, พิธีการ, คุณสมบัติ, กฎแห่งการย้อนกลับ, ธรรมชาติ, กฎแห่งธรรมชาติ เป็นต้น
          เมื่อนำทั้ง 3 คำมารวมกัน แปลว่า คัมภีร์ที่ว่าด้วยคุณสมบัติของเต้า สูตรว่า ด้วยเต้า และ คุณธรรม ระหว่าง ￿เต้า 道￿ กับ ￿เต๋อ 德￿ นั้น  เต๋าปรากฏขึ้นมาก่อน และเต๋อก็ตามมา ประกอบด้วยอักษรจีน ประมาณ 5,000-5,500 อักษร            

           ตำราที่เล่าจื๊อเขียรขึ้นนี้นับเป็นแบบแผนในทางเต๋า นั่นคือ เต้าเต๋อจิง ซึ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนาเต๋าที่ยังคงตกทอดมาถึงยุคปัจจุบันนี้

            เต้าเต๋อจิง เดิมทีเรียกว่าคัมภีร์เล่าจื๊อ ตามชื่อผู้แต่ง ภายหลังจึงเรียก เต้าเต๋อจิงเป็นการเรียกขานตำราตามแบบโบราณ โดยเรียกคำแรกในหน้า แรกที่พบในตำรา           

           ในปีค.ศ.226-249  นักปราชญ์รุ่นหลังที่มีชื่อว่า หวางปี้ ทำการแบ่งคัมภีร์ เต้าเต๋อจิง เป็น 2 ภาค นักปราชญ์รุ่นหลังได้แบ่งทั้งหมดออกเป็นรวม 81 บท เริ่ม ด้วยภาคเต้า ตาม ด้วยภาคเต๋อ ได้แก่ ภาคต้นบทที่ 1-37 และภาคปลายบทที่ 38-81
           ในปีค.ศ.1972  มีการขุดพบสุสานโบราณสมัยไซฮั่น พบคัมภีร์เล่าจื๊อ ภาย หลังมีผู้เสนอให้เปลี่ยนชื่อเป็น เต๋อเต้าจิง     เนื่องจากมีการค้นพบหลักฐานใหม่ ที่ สุสานหม่าหวังตุย ที่เริ่มด้วยภาค เต๋อ ก่อนภาค

          เต้าคัมภีร์เต้าเต๋อจิงที่ค้ยพบนั้นไม่ได้ปรากฏนามผู้แต่ง   แต่จะเชื่อกันว่า เล่าจื๊อ เป็นผู้แต่งตามหลักฐานสามารถอ้างอิงได้ในประวัติศาสตร์   แต่เนื้อหาใน หนังสือบางส่วนมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 543-400 ปีก่อน   และเนื้อหาส่วนอื่นเขียน หรือเรียบเรียงขึ้นหลังคัมภีร์จวงจื่อ ซึ่งเป็นไปได้เช่นกันว่ามีการเพิ่มเติมภายหลัง

 

         ☆ ลัทธิเต๋า Dàojiao / Taoism  ศาสนาเต๋ากำเนิดราวศตวรรษที่ 4 ก่อน คริสกาลโดยรับแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากสำนักหยินหยาง และแนวปฏิบัติตน ให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อี้จิง

            นักปราชญ์ผู้บัญญัติปรัชญาและศาสนาหรือลัทธิเต๋าในจีนที่ใช้เป็นมาตร-ฐาน ของความคิดในหลักเต๋าทั้งหมด    หลักการเน้นการใช้ชีวิตกลมกลืนกับหลัก การแห่งเต๋า หรือ ความสว่างและความมืด ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในสำนักปรัชญาใน จีนทั่วไปส่วนใหญ่

           ปัจจุบันศาสนาเต๋าแบ่งเป็น 2 นิกายหลักคือ สำนักฉวนเจินและสำนักเจิ้งอี หลังสมัย ของเล่าจื๊อและจวงจื๊อ ลัทธิเต๋าในจ๊กก๊กเริ่มมีองค์กรและพิธีกรรมอย่าง เป็นระบบ ต่อมาได้ใช้คัมภีร์ ต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อและคัมภีร์จวงจื๊อ เป็นคัมภีร์หลัก ประจำศาสนาจนถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น มีการจัดสารบบวรรณกรรมศาสนาเต๋าต่างๆจน ได้เป็นคัมภีร์เต้าจั้ง และพิมพ์เผยแพร่ตามรับสั่งของฮ่องเต้ฮั่น และเป็นศาสนาประ จำชาติจีนมาตลอด    จนหลัง ค.ศ. 17  ศาสนาพุทธและศาสนาอื่นๆ เริ่มเข้ามาเผย แพร่ ลัทธิเต๋าจึงได้รับการอุปถัมภ์จากราชวงศ์ในยุคสมัยนั้นน้อยลง

          ศาสนาเต๋าที่แท้จริงในแบบลัทธิขงจื๊อ เต๋า หมายถึง ต้นกำเนิด แบบแผน และสารัตถะของสรรพสิ่ง ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมซับซ้อนและระเบียบสังคม

          แม้ว่าต่อมา ลัทธิเต๋าได้แตกแยกนิกายมีคำสอนด้านจริยธรรมแตกต่างกัน แต่โดย ทั่วไปเน้นหลักการเดียวกัน คือ ￿อู๋เว่ย￿หรือ ความไร้เจตนา ความเป็นธรรม ชาติ และความเรียบง่าย กับหลัก 3 ประการ คือ 慈 ความเมตตา 儉 ความมัธยัสถ์ และ 不敢為天下先 ความอ่อนน้อมถ่อมตน       
           หัวข้อทางจริยศาสตร์หลักของคัมภีร์เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อและคัมภีร์ จวงจื๊อ มุ่งเน้นความสนใจไปที่สภาวะอู๋เหวย ได้แก่ ความเป็นธรรมชาติ, ความ เรียบง่าย ไม่ขัดเกลา และความเป็นอิสระจากแรงปรารถนา
          เต๋า หมายถึง มรรคา￿ซึ่งสื่อความหมายในแง่ของวิถีทางและหลักการโดย ในลัทธิเต๋า￿คือ มรรคา หรือหมายถึงสิ่งที่เป็นธรรมชาติที่เกิดมีขึ้นเอง เป็นนิรันดร์ ไร้ ชื่อเรียกขาน และไม่สามารถอธิบายได้ สิ่งนี้เป็นทั้งจุดเริ่มต้นของสรรพสิ่ง และ เป็นวิถีที่ทุกสรรพสิ่งดำเนินไปตาม
          เต๋าได้รับการเรียกขานว่าเป็นการไหลไปของเอกภพ เสมือนเป็นมโนทัศน์ที่ จำเป็น ด้วยเหตุผลเชิงภววิทยา conceptually necessary ontological grou หรือ การสาธิตให้ปรากฏโดยธรรมชาติ
          นอกจากนี้ เต๋า￿ ยังหมายถึงสิ่งที่แต่ละบุคคลและแต่ละสิ่งมีแผ่ซ่านอยู่ภาย ในตนเองตามอัพภันตรภาพ หรือ immanence  การภาวนาและดำรงตนอยู่ในวิถี แห่งเต๋า ย่อมทำให้เกิดผลประเสริฐเรียกว่า￿เต๋อ ซึ่งหมายถึงคุณธรรมหรือพลัง
           ปัจจุบันศาสนาเต๋าเป็น 1 ใน 5 ศาสนาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ ในประเทศจีนและประเทศไต้หวัน   แม้ศาสนานี้จะไม่แพร่หลายนอกประเทศจีนนัก แต่ก็พบว่ามีศาสนิกชนจำนวนหนึ่งในฮ่องกง มาเก๊า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

            

           ขงจื๊อมี อายุ 48 ปี เป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ได้ให้กำเนิดลัทธิ เต๋าที่แนวทางดำรงชีวิตในสังคมในทางสุจริตที่เป็นนิยมแพร่หลาย            

          ☆ ลัทธิขงจื๊อ หยู หรือศาสนาขงจื้อ เป็นงานสอนระบบจริยธรรม, สังคม การเมือง และปรัชญาของจีน ซึ่งพัฒนาจากการสอนของขงจื๊อ ในยุคชุนชิว 551 - 479 ปีก่อนคริสตกาล      
          ขงจื๊อรวบรวมตำราและคัมภีร์โบราณ 5 เล่ม คือ ซือจิง หรือคัมภีร์กวีนิพนธ์, ซูจิง หรือประวัติศาสตร์โบราณ, หลี่จี้ หรือบันทึกธรรมเนียมประเพณี,  อี้จิง หรือ คัมภีร์วิถีทำนายการเปลี่ยนแปลง และชุนชิว หรือประวัติศาสตร์สมัยชุนชิว แล้วตั้ง สำนักวิชาให้การศึกษาแก่ประชาชน
          หลังจากขงจื๊อเสียชีวิตไป เม่งจื๊อหรือเมิ่งจื่อกลายเป็นนักคิดคนสำคัญ ของสำนักวิชาขงจื๊อหรือหยู
         ☆  เม่งจื๊อได้สังเคราะห์แนวคิดจากคัมภีร์ทั้งห้า ที่เน้นให้ผู้ปกครองยึดมั่น คุณธรรมและสันติวิธี  ยุติศึกสงครามที่ดำเนินอยู่และเดินทางไปเสนอความเห็นแก่ ผู้ปกครองในอาณาจักรต่างๆ แต่ไม่ประสบความสำเร็จนัก
         ความคิดสำคัญของเม่งจื๊อ  คือ ความเชื่อในความดีงามตามธรรมชาติของ มนุษย์ การส่งเสริมการศึกษาและผู้ปกครองต้องมีคุณธรรมเหนือกว่าประชาชนอีก ทั้งประชาชน  พึงเคารพนับถือผู้ปกครองที่มีคุณธรรม  หากผู้ปกครองไร้คุณธรรม การล้มล้างเป็นสิ่งที่ชอบธรรม
         ☆  ซุนจื๊อ หรือ สวินจื่อ นักคิดคนสำคัญอีกคนของสำนักขงจื๊อ เขาเสนอ ให้อบรมสั่งสอนผู้คนให้มีคุณธรรมเคร่งครัด   โดยเห็นว่าธรรมเนียมประเพณีเป็น เครื่องมือสำคัญที่ทำให้มนุษย์มีคุณธรรมมากขึ้น
          ซุนจื๊อ เชื่อว่า มนุษย์มีธรรมชาติที่ชั่วร้ายเป็นพื้นฐาน ทำให้ต้องมีการควบ คุมและอบรมสั่งสอนให้ยึดมั่นคุณธรรมอย่างจริงจัง
          ภายหลัง ในสมัยราชวงศ์ฉินหรือจักรพรรดิจิ๋นซี  ในเหตุการณ์เผาตำราฝัง บัณฑิต￿เพราะว่า ปัญญาชนนักคิดและปัญญาชนของสำนักวิชาขงจื๊อ  ต่อต้านการ ปกครอง และวิพากษ์วิจารณ์ราชสำนักฉิน หรือ รัฐบาลว่า ไร้คุณธรรม   ทำให้เหล่า บัณฑิตสำนักขงจื้อถูกปราบปรามกวาดล้างครั้งใหญ่         
          หลังจากราชวงศ์ฉินล่มสลายและชาวจีนละทิ้งความเชื่อในลัทธิฟาเฉีย และลัทธิขงจื๊อ กลายเป็นเพียงอุดมการณ์แห่งแผ่นดินจีน
           206 ปัก่อนคริสตกาล ถึงปีค.ศ.220 ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ลัทธิขงจื๊อจึงได้ รับการฟื้นฟู พัฒนาส่วนที่เป็นอภิปรัชญาและจักรวาลวิทยา ทำให้กลับมามีบทบาท อีกครั้ง และกลายเป็นลัทธิคำสอนที่มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองของจีน มาก ที่สุด แพร่หลายในสังคมในวัฒนธรรมหลักในการดำเนินชีวิตของผู้คน
          คัมภีร์และตำราของสำนักวิชาขงจื๊อที่เหลือรอด จากการเผาไฟกลายเป็น ตำราเรียนและวิชาหลักของชาวจีนตั้งแต่โบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19
          ลัทธิขงจื๊อถือมนุษยนิยมเป็นแก่นความเชื่อที่ว่า มนุษย์สามารถสอน พัฒนาและทำให้สมบูรณ์ได้ ผ่านความพยายามส่วนตนและร่วมกับสังคม
         โดยเฉพาะการฝึกตนและการเกิดขึ้นเอง (Self-creation) ลัทธิขงจื๊อมุ่งเน้น การ พัฒนาคุณธรรมและการธำรงรักษาจริยธรรม โดยมีหลักพื้นฐานที่สุด คือ เหริน, ยี่ และหลี่
         เหริน คือ ข้อผูกมัดปรัตถนิยมและความมีมนุษยธรรมแก่ ปัจเจกบุคคลอื่น ภายในชุมชน
         ยี่ คือ การค้ำจุนความชอบธรรมและอุปนิสัยทางศีลธรรมในการทำดี
         หลี่ คือ ระบบจารีตและความเหมาะสมซึ่งตัดสินว่า บุคคลควรปฏิบัติตนอย่าง ไรให้ เหมาะสมภายในชุมชน
          ลัทธิขงจื๊อถือว่าบุคคลควรยอมถวายชีวิตให้ หากจำเป็น เพื่ออุทิศแก่การค้ำ จุน ค่านิยมทางศีลธรรมในหลักเหรินและยี่
         ผู้นับถือลัทธิขงจื๊ออาจเป็นผู้เชื่อในศาสนาพื้นบ้านของตนด้วยก็ได้ เพราะ ลัทธิขงจื๊อ เป็นอุดมการณ์มนุษยนิยมและอเทวนิยม และไม่ข้องเกี่ยวกับความเชื่อ ในสิ่งเหนือธรรมชาติ หรือในพระเจ้า
          กระทั่ง หลัก 3 ประการแห่งประชาชน￿ ของนายแพทย์ซุนจงซานได้ เข้ามา แทนที่เมื่อลัทธิเหมาสถาปนาสาธารณรัฐจีน ปกครองระบบคอมมิวนิสต์
         หลายประเทศได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อ รวมทั้งจีน ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม และดินแดนที่ชาวจีนเข้าไปตั้งรกรากจำนวนมาก เช่น สิงคโปร์
         แม้แนวคิดลัทธิขงจื๊อแพร่หลาย แต่มีคนส่วนน้อยที่ระบุว่าตนเองเป็นผู้นับถือ ลัทธิขงจื๊อ     และกลับเห็นว่าจริยศาสตร์ขงจื๊อเป็นแนวปฏิบัติเติมเต็มสำหรับให้กับ อุดมการณ์และความเชื่ออื่นมากกว่า ซึ่งมีทั้งประชาธิปไตย มากซิสต์ ทุนนิยม หลัก ศาสนาต่างๆ

          โจวฉิ่ง ทรงครองราชย์ได้ 42 ปี ก็เสด็จสวรรคต หลังจากนั้น องค์ชายโจว หยวนขึ้นครองราชย์บัลลังค์  

 

 

 

คำยืนยันของเจ้าของเรื่องเล่า

✓ เรื่องนี้ฉันแต่งขึ้นเอง

คำวิจารณ์

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้


รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
คำวิจารณ์เพิ่มเติม...

โหวต

เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
0 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
0 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
0 /10

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้


แบบสำรวจ

คุณคิดยังไงกับเรื่องเล่าเรื่องนี้

* สามารถกรอกแบบสำรวจโดยไม่ต้องเป็นสมาชิกก็ได้ครับ

 

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา