4 แนวทางสร้างออฟฟิศให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น

-

เขียนโดย StrategistCotactic

วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17.48 น.

  1 session
  0 วิจารณ์
  2,530 อ่าน

แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564 17.54 น. โดย เจ้าของเรื่องเล่า

แชร์เรื่องเล่า Share Share Share

 

1) 4 แนวทางสร้างออฟฟิศให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น

อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ

4 แนวทางสร้างออฟฟิศให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น

 

ครั้งหนึ่งแนวทางสร้างออฟฟิศรักษ์โลกเป็นเพียงสโลแกนที่มีไว้โก้ๆ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์สำหรับการตลาด เพราะเป้าหมายหลักของทุกธุรกิจคือเจริญเติบโตและสร้างผลกำไร แต่ปัจจุบันการรักษาสิ่งแวดล้อมได้กลายมาเป็นกระแสหลักในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทำให้ทุกธุรกิจอุตสาหกรรมต้องกลับมาตระหนักถึงแนวทางดำเนินงานที่รักษาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ควบคู่ไปกับการสร้างกำไรอย่างเป็นมิตรต่อโลก

ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจึงสามารถแข่งขันอยู่ต่อไปได้ คำกล่าวนี้คงไม่เกินจริงไปนัก เนื่องจากประชากรกลุ่มมิลเลียนเนียล (Millennials) มีการศึกษาระดับสูง ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เพราะเห็นถึงคุณค่าของการรักษาไว้ ซึ่งกลุ่มคนช่วงวัยเหล่านี้เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของโลก เนื่องจากมีกำลังซื้อมากที่สุด ดังนั้นธุรกิจใดก็ตามที่ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมหรือสังคมส่วนรวม ย่อมไม่ได้รับการสนับสนุนให้อยู่ต่อไปได้ แถมยังมีโอกาสถูกกดดันทางสังคมจากการเผยแพร่ข้อมูลหลักฐานลงบนอินเทอร์เน็ต ที่ข่าวสารแพร่ไปได้ไวอีกด้วย  ธุรกิจจึงต้องหาแนวทางหรือรูปแบบการทำงานที่ช่วยประหยัดพลังงานหรือรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนมากขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของพวกเราเองในอนาคต วันนี้เราจึงมานำเสนอ 4 แนวทางในการสร้างออฟฟิศให้เป็นมิตรกับสิงแวดล้อมกัน

 

4 แนวทางสร้างออฟฟิศให้เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

 

1. ปรับปรุงการใช้ทรัพยากรและพลังงาน

 

ลดการใช้น้ำและไฟในออฟฟิศโดยไม่จำเป็น เช่น การทำระบบนำน้ำที่ใช้แล้วจากส่วนต่างๆ มาใช้ทำความสะอาดห้องน้ำ หรือการสร้างถังเก็บน้ำฝนเพื่อนำมาใช้งานอเนกประสงค์ต่างๆ ในอาคาร หรือการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการประหยัดพลังงานอย่าง ติดเซ็นเซอร์หลอดไฟเพื่อควบคุมความสว่างตามแต่ละช่วงเวลาและปริมาณพนักงานในพื้นที่ รวมถึงตั้งเวลาปิดอัตโนมัติหลังจากเวลางาน นอกจากนี้อาจทำการออกแบบสภาพแวดล้อมพื้นที่ทำงานใหม่ ให้รับแสงธรรมชาติได้มากขึ้นเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าลง บางธุรกิจอาจจะลงทุนใช้พลังงานธรรมชาติด้วยการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อแปลงพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าหรือความร้อน ซึ่งช่วยให้ประหยัดงบประมาณในระยะยาว หรือหากเป็นอุตสาหกรรมที่อยู่ตามชายทะเลหรือหุบเขาก็อาจติดตั้งกังหันเพื่อนำพลังงานลมมาใช้

                                                                                                                                                                    

2. ใช้ซ้ำ และลดการใช้ลง (Reuse & Reduce)

ออกนโยบายบริษัทเพื่อให้พนักงานทราบไปในทางเดียวกัน ถึงการใช้ซ้ำทรัพยากรอย่างการใช้กล่องทัปเปอร์แวร์มาใส่อาหารจากร้านค้าแทนใส่กล่องโฟมหรือกล่องกระดาษ การนำกระดาษใช้แล้วหน้าเดียวมาใช้ซ้ำเพื่อจดบันทึกต่างๆ แต่สำหรับธุรกิจที่อยากเสียงบประมาณจำนวนมากไปกับค่ากระดาษในแต่ละปี การนำระบบจัดเก็บเอกสารมาใช้ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะลดการสิ้นเปลืองและชำรุดสูญหายได้ หรือการลดการใช้พลังงานโดยไม่จำเป็นอย่างการปิดเครื่องปรับอากาศเวลาพักกลางวัน  การลดทรัพยากรสิ้นเปลืองในการผลิตลง หรือการนำเทคโนโลยีอื่นๆ เข้ามาปรับปรุงเพื่อช่วยประหยัดพลังงานในหัวข้อก่อนหน้า

       

3. จัดการแข่งขันประหยัดการใช้เชื้อเพลิงหรือพลังงานอื่นๆ ระหว่างพนักงาน

จัดการแข่งขันระหว่างพนักงานทุกเดือน โดยมีรางวัลให้เพื่อสร้างแรงกระตุ้น โดยมีเกณฑ์ให้คะแนนในแต่ละขั้นสำหรับพนักงานที่เดินทางมาด้วยการเดินหรือจักรยาน พาหนะไฟฟ้าใดๆ, การใช้ขนส่งสารธารณะ, ใช้รถส่วนตัว ลดหลั่นกันไปจากมากไปน้อง หากครบเดือนใครได้คะแนนมากที่สุดก็จะได้รับรางวัล ทั้งนี้อาจปรับเปลี่ยนเณฑ์หรือรูปแบบเกมส์ได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์และการทำงาน ซึ่งต้องวัดผลได้แบบรูปธรรม

 

4. ทำออฟฟิศให้มีพื้นที่สีเขียว

เป็นสิ่งสำคัญที่หลายๆ ธุรกิจมองข้ามเนื่องจากต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการออกแบบปรับเปลี่ยนพื้นที่ ค่าพันธุ์ไม้ ตลอดจนค่าดูแลรักษา อย่างไรก็ตามการที่มีต้นไม้ในออฟฟิศหรือภายในพื้นที่บริษัท นอกจากช่วยให้บรรยากาศดีร่มรื่นเย็นสบายแล้ว ยังช่วยลดปริมาณการใช้เครื่องปรับอากาศลง ทำให้ประหยัดไฟเพิ่มขึ้น พนักงานเกิดความผ่อนคลายจากความเครียดในการทำงาน ผลงานก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างกรณีของบริษัทระดับโลกใหญ่ๆ อย่าง Amazon หรือ Google ก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แต่หากเป็นบริษัทที่ไม่ได้มีงบประมาณเยอะก็อาจจะเลือกเป็นไม้ประดับมาตกแต่งตามมุมต่างๆ แทน เช่น เฟิร์นขนาดเล็กหรือบอนไซ เป็นต้น     

 

แนวทางเหล่านี้ทุกธุรกิจอาจนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับกิจการของตนเองตามกำลังและความสามารถ เพียงแต่ต้องแสดงให้สังคมเห็นถึงจุดประสงค์ของการรักษาสิ่งแวดล้อมและพลังงานอย่างแท้จริง ถึงจะได้รับการยอมรับ เพราะการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ย่อมส่งผลดีต่อผู้ประกอบการเอง ตลอดจนพนักงานในบริษัท รวมทั้งต่อสังคมโลกเพราะช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่กับธรรมชาติอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน จึงไม่ใช่เพียงแค่เทรนด์ที่ทำตามกระแสเพื่อการตลาด แต่ต้องสร้างคุณค่าของการรักษาโลกด้วยแนวทางเหล่านี้ สะท้อนออกมาให้เห็นจากแบรนด์ให้ได้

 

คำยืนยันของเจ้าของเรื่องเล่า

✓ เรื่องนี้ฉันแต่งขึ้นเอง

คำวิจารณ์

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้


รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
คำวิจารณ์เพิ่มเติม...

โหวต

เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
0 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
0 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
0 /10

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้


แบบสำรวจ

คุณคิดยังไงกับเรื่องเล่าเรื่องนี้

* สามารถกรอกแบบสำรวจโดยไม่ต้องเป็นสมาชิกก็ได้ครับ

 

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา