งาน

-

เขียนโดย บัทเตอร์

วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 17.36 น.

  1 ตอน
  1 วิจารณ์
  2,621 อ่าน

แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2563 17.38 น. โดย เจ้าของเรื่องเล่า

แชร์เรื่องเล่า Share Share Share

 

1) งานที่2

อ่านบทความตามต้นฉบับ อ่านบทความเฉพาะข้อความ

บทที่ ๑

กิจกรรมโฮมรูม

 

          ความสำคัญ

          กิจกรรมโฮมรูม หมายถึง การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมนักเรียนเป็นรายบุคคล หรือเป็นกลุ่มก็ได้ มีการฝึกปฏิบัติหรือทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนในด้านต่าง ๆ เช่น การรู้จักตนเอง การรู้จักผู้อื่นและ สิ่งแวดล้อม ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการปรับตัวและการวางแผนชีวิต เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้จะจัดใน ห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนก็ได้ โดยให้มีบรรยากาศเสมือนบ้าน ที่มีนักเรียนกับครูประจำชั้นเปรียบเสมือน บิดา มารดา ที่เป็นสมาชิกในครอบครัวเดียวกันร่วมกันทำกิจกรรมอย่างใกล้ชิด

 

          วัตถุประสงค์

          ๑. เพื่อให้ครูที่ปรึกษาประจำชั้นได้พบนักเรียนของตนอย่างใกล้ชิด ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ และมีเป้าหมายนอกเหนือจากการสอนตามปกติ

          ๒. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ได้รับประสบการณ์เพิ่มมากขึ้นจากการเรียนปกติ

          ๓. เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน

 

          ลักษณะงาน

          ๑. ครูที่ปรึกษาประจำขั้นพบนักเรียน ในชั่วโมงโฮมรูม

          ๒. สถานที่ ในห้องเรียน ใต้ร่มไม้ หน้าอาคารเรียน อาคารประกอบ สนาม อื่น ๆ ภายใน โรงเรียน ตามที่เห็นสมควร โดยนัดหมายนักเรียนให้มาพบกันตามวันและเวลาที่กำหนด

          ๓. บันทึก วันเดือนปี จำนวนนักเรียน ติดตามการเข้าแถว การขาดเรียน ผลการเรียน พฤติกรรมที่ควรส่งเสริม การพูดเชิงบวก วินัย พฤติกรรมที่ควรแก้ไข เก็บข้อมูล และบันทึกรายงานการอบรม ใน สมุด ปพ.๕/๒

          ๔. แนวทางการให้อบรม / พฤติกรรมที่ควรส่งเสริม / การชมเชย / พฤติกรรมเสี่ยงด้านต่างๆ / หน้าที่พลเมือง / หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง / อาเซียน / ปัญหายาเสพติด / อื่น ๆ

          ๕. ให้ส่งสมุดบันทึกโฮมรูม เดือนละ1ครั้ง ที่กลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน

          ๖. สรุปรายงานผู้อำนวยการ เมื่อสิ้นภาคเรียน

 

          สาระสำคัญของกิจกรรมโฮมรูม

          กรมสุขภาพจิต โดยสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ได้สำรวจปัญหาความต้องการของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและครูที่ปรึกษาในการจัดกิจกรรมโฮมรูม และจัดทำเป็นคู่มือการจัดกิจกรรมโฮมรูม สำหรับครูที่ปรึกษาใช้ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่อยู่ในความดูแล  มุ่งเน้นให้นักเรียนรู้จักตนเองและสิ่งแวดล้อม มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปรับตัวในด้านต่าง ๆ และการวางแผนการทำงานในอนาคต โดยมีขอบข่ายสาระครอบคลุมการพัฒนานักเรียน ๕ ด้านดังนี้

          ๑.  สาระด้านการเรียนและอาชีพ

                   -  นักเรียนเห็นประโยชน์และเกิดแรงจูงใจในการเรียน

                   -  นักเรียนสามารถค้นหาศักยภาพด้านการเรียน และแสวงหาความถนัดมาพัฒนาแทนที่              จะสนใจหรือกังวลใจกับจุดด้อยของตนเอง

                   -  นักเรียนสามารถพัฒนาประสิทธิภาพด้านการเรียนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

                   -  นักเรียนสามารถเลือกการเลือกการศึกษาต่อให้สอดคล้องกับอาชีพได้ตามความถนัด                ความสนใจและความสามารถของตน

          ๒. ด้านการปรับตัว (ปรับตัว...ปรับใจ...ตามวัย...สดใส)

                   -  นักเรียนรู้จักเข้าใจตนเองและผู้อื่น

                   -  นักเรียนรู้เข้าใจ ยอมรับ เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

                   -  นักเรียนตระหนักรู้ รู้เท่าทัน ยอมรับ อารมณ์ตนเองและผู้อื่น และควบคุมอารมณ์ของ               ตนเองได้

                   -  นักเรียนสามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองและมีทักษะการตอบสนองด้านอารมณ์                อย่างเหมาะสมกับผู้อื่นได้

                   -  นักเรียนสามารถจัดการกับความคิด ความรู้สึก การกระทำของตนเองและปรับตัว กับ              ผู้อื่น สังคม และสิ่งแวดล้อมได้

          ๓. ด้านเพศและการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายที่มีผลกระทบต่อจิตใจ (มหัศจรรย์...วัยใส)

                   -  มีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น และการดูแล                     สุขภาพทางเพศของตนเอง

                   -  รู้จักภัยทางเพศและการป้องกัน

                   -  มีความภาคภูมิใจในเพศของตน และมีทัศนะที่ไม่ตัดสินตีค่าพฤติกรรมทางเพศของ                   ผู้อื่น

                   -  คิดวิเคราะห์ความเชื่อ และค่านิยมในเรื่องเพศ

                   -  มีทักษะในการแก้ปัญหา และตัดสินใจ

                   - สำรวจและแลกเปลี่ยนความคิด ความเชื่อ และค่านิยมในเรื่องเพศ

          ๔. ด้านยาเสพติด (ชีวิตสดใส...ไร้สารเสพติด)

                   -  รู้และตระหนักในพิษภัยของสารเสพติด สามารถวิเคราะห์สาเหตุ ผลกระทบด้านต่าง                ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติด

                   -  เห็นคุณค่า ภาคภูมิใจในตนเอง ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ใช้จุดเด่นหรือ                  ความสามารถของตนเองในทางสร้างสรรค์อย่างเต็มความสามารถโดยไม่เกี่ยวข้องกับ                   สารเสพติด

                   -  มีทักษะในการสื่อสาร การแสดงความคิดเห็น และความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม เมื่อมี                ความคับข้องใจ โดยไม่พึ่งพาสารเสพติด

                   -  มีทักษะในการควบคุมตนเอง มีทักษะปฏิเสธ และแก้ปัญหาเพื่อหลีกเลี่ยงจาก              สภาพแวดล้อมหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติด

          ๕. ด้านคุณธรรม จริยธรรม (ชีวิตไทย)

                   -  นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมในด้านความกตัญญู ความมีน้ำใจ ความซื่อสัตว์ และ                  ความมีมุทิตาจิต

                   -  นักเรียนมีค่านิยมที่เหมาะสมกับสังคมไทย

                   -  นักเรียนรู้จักมารยาทที่ถูกต้องตามระเบียบวินัยด้วยความเต็มใจ

                   -  นักเรียนมีความภูมิใจในการดำรงชีวิตตามวิถีชีวิตไทย

 

          ทั้งนี้โรงเรียนควรประชุมเพื่อจัดสรรกิจกรรมที่ใช้ในแต่ละระดับชั้น ตามความต้องการ และความเหมาะสมกับผู้เรียน โดยไม่เกิดความซ้ำซ้อนในการใช้กิจกรรมของระดับชั้นต่าง ๆ

 

ประเภทของกิจกรรมโฮมรูม

          กิจกรรมโฮมรูมเป็นกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการดำเนินชีวิตของนักเรียน แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ

          ๑. กิจกรรมโฮมรูมสั้น ใช้เวลา ๑๕ – ๒๐ นาที

          ๒. กิจกรรมโฮมรูมยาว ใช้เวลา ๕๐ นาที

          การพิจารณาจัดกิกรรมโฮมรูมสั้นหรือยาว ขึ้นอยู่กับนโยบาย วัตถุประสงค์ และการบริหาร จัดการของแต่ละโรงเรียน

 

วิธีการจัดกิจกรรมโฮมรูม

          การจัดกิจกรรมโฮมรูมเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Child center) และกระบวนการเรียนรู้แบบ มีส่วนร่วม (Participatory Leaning) มุ่งเน้นให้นักเรียนได้ร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนและฝึกทักษะ ต่างๆ มากกว่าการบรรยาย โดยมีหลักการดังนี้

 

 

 

          การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning)

          การเรียนแบบมีส่วนร่วม อาศัยหลักการเรียนรู้ที่ยึดนักเรียนเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยพื้นฐานสำคัญประการแรก คือ การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ และประการที่สอง การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

          การเรียนรู้เชิงประสบการณ์มุ่งเน้นอยู่ที่การให้นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้จากประสบการณ์เดิม การเรียนรู้เชิงประสบการณ์มีหลักสำคัญ ๕ ประการคือ

          ๑.  เป็นการเรียนรู้ที่อาศัยประสบการณ์ของนักเรียน

          ๒.  ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่ทำทาย อย่างต่อเนื่อง และเป็นการเรียนรู้ที่เรียกว่า Active Learning

          ๓.  มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง และระหว่างนักเรียนกับครูผู้สอน

          ๔  ปฏิสัมพันธ์ที่มีทำให้เกิดการขยายตัวของเครือข่ายความรู้ที่ทุกคนมีอยู่ออกไปอย่างกว้างขวาง

          ๕.  มีการสื่อสารโดยการพูด หรือการเขียน เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยน การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้

 

          องค์ประกอบของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ในการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

          องค์ประคบสำคัญของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมีอยู่ ๔ ประกร คือ ประสบการณ์ การสะท้อนความคิดและถูกเถียง เข้าใจและเกิดความคิดรวบยอด และการทดลองเรียนรู้ แบบมีส่วนร่วม

          องค์ประกอบของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ในการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

          ๑. ประสบการณ์ (Experience) ครูช่วยให้นักเรียนนำประสบการณ์เดิมของตนมาพัฒนา เป็นองค์ความรู้

          ๒. การสะท้อนความคิดและถกเถียง (Reflex and Discussion) ครูช่วยให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงออกเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างลีกซึ้ง

          ๓. เข้าใจและเกิดความคิดรวบยอด (Understanding and Conceptualization) นักเรียน เกิดความเข้าใจและนำไปสู่การเกิดความคิดรวบยอด อาจเกิดขึ้นโดยนักเรียนเป็นฝ่ายริเริ่มแล้วครูช่วยเติมแต่งให้สมบูรณ์ หรือในทางกลับกัน ครูเป็นผู้นำทางและนักเรียนเป็นผู้สานต่อจนความคิดนั้น สมบูรณ์เป็นความคิดรวบยอด

          ๔. การทดลองหรือ ประยุกต์แนวคิด (Experiment/Application) นักเรียนเอาการเรียนรู้ที่ เกิดขึ้นใหม่ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ จนเกิดเป็นแนวทางปฏิบัติของนักเรียนเอง

 

 

 

 

 

          แนวทางการปฏิบัติงาน

          ๑. แผนการจัดทำกิจกรรมโฮมรูม

          โรงเรียนสามารถกำหนดแผนการจัดกิจกรรมโฮมรูม ตามความพร้อมของแต่ละโรงเรียน ดัง

          ๑.๑ กำหนดกิจกรรมโฮมรูม โดยยึดความต้องการของนักเรียน ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมโฮมรูม ดังนี้

                   ๑.๑.๑ สำรวจปัญหาความต้องการของนักเรียน

                   ๑.๑.๒ พิจารณาเลือกหัวข้อและวิธีการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนหรือเป็นเรื่องที่ทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ

                   ๑.๑.๓ การจัดกิจกรรมโฮมรูมแต่ละครั้ง ควรมีการดำเนินการเป็นหลักฐานทั้งก่อนและหลังการดำเนินการ ซึ่งอาจเขียนในรูปแบบการบันทึกการจัดกิจกรรมหรืออื่น ๆ รวมทั้งให้มีการบันทึกสรุปผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน หลังการจัดกิจกรรมทุกครั้ง ซึ่งการบันทึกอาจบันทึกในแผนการจัดกิจกรรม หรือแบบฟอร์มการบันทึกที่แยกออกมาต่างหากก็ได้

                   ๑.๑.๔ ประเมินผลการจัดกิจกรรมและจัดทำรายงาน

          ๑.๒ โรงเรียนกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมโฮมรูม หรือมีคู่มือในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งโดยมีจุดหมาย เนื้อหาสาระสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียนในการพัฒนานักเรียน ครูที่ปรึกษาก็ดำเนินการ ตามนั้น แต่ให้มีความยึดหยุ่นในการกำหนดหัวข้อและวิธีการดำเนินกิจกรรมให้เหมาะสมและทันสมัย

          ๑.๓ วิธีการผสมผสาน โดยยึดตามความต้องการนักเรียนร่วมกับนโยบายของโรงเรียนในการพัฒนานักเรียน

          ๒. แนวทางการดำเนินกิจกรรมโฮมรูมให้ประสบความสำเร็จ

          ๒.๑ มีการบรรจุแผนการจัดกิจกรรมโฮมรูม อยู่ในแผนพัฒนาผู้เรียน โดยมีการวางแผนร่วมกัน ทั้งโรงเรียนเพื่อลดความซ้ำซ้อน

          ๒.๒ มีการประชุมตกลงร่วมกันของคณะกรรมการระดับชั้น ครูที่ปรึกษา และแกนนำนักเรียน ในระดับนั้น ๆ เพื่อกำหนดหัวข้อ วัตถุประสงค์ และแนวทางการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน

          ๒.๓ อบรมครูที่ปรึกษา ให้เห็นความสำคัญ เข้าใจและมีทักษะในการจัดกิจกรรมโฮมรูมแนวใหม่ ปรับเปลี่ยนการตักเตือนแบบเดิม ๆ ที่มุ่งการออกคำสั่งหรือขู่ให้กลัว ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมน้อยมาก เป็นวิธีการฟัง สนับสนุนการแสดงออกให้การยอมรับนักเรียนตามศักยภาพของแต่ละคน โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตระหนักว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นกระบวนารที่ต้องใช้เวลา และต้องการความพยายามอย่างต่อเนื่อง

          ๒.๔ ผู้บริหารให้ความสำคัญ ในการติดตามประเมินผล วางแผนการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ ว่าติดตามอะไรบ้าง เมื่อไร อย่างไรและสร้างแรงจูงใจแก่ครูผู้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และเท่าเทียมกัน

          ๒.๕ สาระ รูปแบบกระบวนการการจัดกิจกรรมควรสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของนักเรียน โดยมุ่งให้เน้นนักเรียนเห็นความสำคัญของกิจกรรมโฮมรูม และเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ ดัง

          ๑) จัดหัวข้อกิจกรรมโฮมรูมให้น่าสนใจ

                   - ชื่อเรื่องแปลง เร้าใจ น่าติดตาม

                   - ทันสมัย ทันต่อเหตการณ์

                   - ใช้ภาษาที่เข้าถึงวัยรุ่นได้ง่าย

          ๒) การวางแผนกระบวนการจัดกิจกรรม

                   - ให้นักเรียนมีส่วนร่วมคิดและดำเนินกิจกรรม

                   - น่าสนใจ ชวนติดตาม

                   - เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน หรือการเรียนของนักเรียน

                   - หลีกเลี่ยง การตรวจระเบียบ ตำหนิ ดุด่า หรือลงโทษ

          ๒.๖ ครูที่ปรึกษามีการติดตามผลที่เกิดกับนักเรียนอย่างใกล้ชิด สม่ำเสมอ

          ๓. แผนทางเลือกการจัดกิจกรรมโฮมรูมจากกิจกรรมตัวอย่าง

          คณะกรรมการระดับชั้น ควรประชุมตกลงเลือกกิจกรรมซ่งสอดคล้องกับความต้องการและความเหมาะสมกับนักเรียน ที่จะใช้ในแต่ละระดับซั้นร่วมกันเพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนในการจัดกิจกรรมของระดับชั้นต่าง ๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ ๒

การแนะแนว

 

          ความหมายของการแนะแนว

          การแนะแนว หมายถึง กระบวนการทางการศึกษาที่ช่วยให้ บุคคลรู้จัก และเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม สามารถนำตนเองได้ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

          การแนะแนวไม่ใช่การแนะนำ อาจกล่าวได้ว่าการแนะแนวเป็นการช่วยเหลือ ให้เขาสามารถช่วยตนเองได้

          ประเภทของการแนะแนว

๑. การแนะแนวการศึกษา (Education Guidance)

๒. การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance)

๓. การแนะแนวส่วนตัวและสังคม (Personal and Social Guidance)

          บริการแนะแนว

๑. บริการสำรวจนักเรียนเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service)

๒. บริการสนเทศ (Information Service)

๓. บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service) เป็นหัวใจของการแนะแนว

๔. บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service)

๕. บริการติดตามผล      

          ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

๑. รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

          ด้านความสามารถ  การเรียน อื่นๆ

          ด้านสุขภาพ กาย ใจ พฤติกรรม

          ด้านครอบครัว เศรษฐกิจ การคุ้มครองนักเรียน

๒. การคัดกรองนักเรียน (ดูข้อมูล จัดกลุ่ม)

          ปกติ

          กลุ่มเสี่ยง

๓. การส่งเสริมพัฒนาให้ได้คุณภาพ

๔. การป้องกันและแก้ปัญหาใกล้ชิด หาข้อมูล ให้คำปรึกษา

๕. การส่งต่อ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

 

 

แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก SDQ (The Strength and Difficulties Questionnaires)

การแนะแนวสำหรับอาจารย์และผู้บริหารสถานศึกษา

๑. ความหมายของการแนะแนว

๒. การแนะแนว VS การแนะนำ

๓. การแนะนำ ๓ ด้าน การศึกษา อาชีพ ส่วนตัว

๔. บริการที่จัดในโรงเรียน ๕ บริการ

๕. บริการให้คำปรึกษาเป็นหัวใจของการบริการแนะแนว

๖. ความหมายของการให้คำปรึกษา

๗. Individual Counseling and Group Counseling

๘. การเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์และการแสดงออก

๙. การเข้าใจธรรมชาติของปัญหา (๓ kinds of problem ๗ cells)

๑๐. จรรยาบรรณของการให้คำปรึกษา

๑๑. ขั้นตอนในการให้คำปรึกษา

๑๒. เทคนิคการให้คำปรึกษา และ Role Play

 

          การแนะแนว

การแนะแนวเบื้องต้น.พนม ลิ้มอารีย์. 

การแนะแนวเป็นวิชาการที่เกิดขึ้นใหม่ แม้ว่าจะมีอายุเกือบหนึ่งร้อยปีแล้วก็ตาม แต่ถ้าเปรียบเทียบกับศาสตร์แขนงอื่น ๆ กล่าวได้ว่าได้วิชาการแนะแนวมีอายุน้อยกับศาสตร์แขนงอื่น ๆ ไม่ว่าวิชาการที่ศาสตร์    บริสุทธิ์ เช่น เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ หรือ ศาสตร์ทางด้านสังคม เช่น ภูมิศาสตร์ สังคมวิทยารัฐศาสตร์ หรือแม้แต่ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม ซึ่งได้แก่ จิตวิทยา เป็นต้น

          สำหรับในประเทศไทย วิชาการแนะแนวยิ่งมีอายุน้อยมาก คือมีอายุประมาณ ๕๓ ปี เท่านั้นโดยเริ่มนำเข้าไปใช้ในโรงเรียนเป็นการทดลองครั้งแรกเมื่อปี พ. ศ. ๒๔๖๙ ที่โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์จังหวัดฉะเชิงเทรา

          แต่วิชาการแนะแนวก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นแขนงวิชาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคคล และประเทศชาติเป็นอย่างมาก ได้รับการยกย่องว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่มีปรัชญาจุดมุ่งหมาย กระบวนการจรรยาบรรณ และการวิจัยที่เป็นของตนเองโดยเฉพาะ และผู้ที่จะกอบอาชีพเป็นนักแนะแนวจำเป็นจะต้องได้รับการฝึกฝนอบรมมาโดยเฉพาะเป็นระยะเวลาเวลายาวนานพอสมควรจึงสามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นนักแนะแนวได้

 

 

 

          ที่มาของคำว่าการแนะแนว

การแนะแนวเป็นศัพท์บัญญัติทางการศึกษา ซึ่งบัญญัติมาจากคำว่า Guidance กับคำว่า Counseling แต่คำว่าศัพท์ทั้งสองคำนี้มีความหมายแตกต่างกัน ดังนั้นปัจจุบันคำว่า Guidanceจะแปลว่า การแนะแนว ส่วนคำว่า Counseling จะแปลว่า การให้คำปรึกษา

 

          ความหมายของการแนะแนว

          การแนะแนวสามารถให้ความหมายได้ ๓ นัย ด้วยกันคือ

          ๑. ความหมายตามรูปศัพท์ การแนะแนวหมายถึง การชี้แนะการชี้ช่องทางให้ การบอกแนวทางให้ทางให้ เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาตัดสินใจได้ แต่มิใช่การแนะนำ ( Advise ) เพราะการแนะนำนั้นผู้ให้ความช่วยเหลือจะหน้าที่เป็นผู้เลือก หรือทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจให้ ส่วนการแนะแนวนั้นผู้ให้ความช่วยเหลือหรือนักแนะแนวไม่ได้ ทำหน้าที่เป็นผู้เลือกหรือทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจให้แต่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ข้อมูลต่าง ๆ แล้วให้ผู้ที่มีปัญหาทำหน้าที่เลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง

          ๒. ความมายในแง่กระบวนการ ( Process ) การแนะแนว หมายถึง กระบวนการช่วยเหลือบุคคลให้เข้าใจตนเองและโลกของตน

          จากความหมายของการแนะแนวในแง่กระบวนการนี้มีสิ่งที่จะต้องพิจารณาอยู่ ๔ ประเด็น คือ

          ประการแรก กระบวนการ ( Process ) หมายถึง ปรากฏการณ์ซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และคำว่ากระบวนการการแสดงให้รู้ว่า การแนะแนวมิใช่เหตุการณ์เดียวกัน แต่ที่เกี่ยวข้องกับชุดของการกระทำหรือลำดับขั้น ซึ่งก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ สู่เป้าหมาย

          ประการที่สอง  การช่วยเหลือ ( Helping ) หมายถึง การช่วย การอนุเคราะห์ การสงเคราะห์การให้ประโยชน์ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือ ( Helping Occupations ) เป็นจำนวนมาก เช่น จิตแพทย์นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ต่างมีวัตถุประสงค์สำคัญอยู่ที่การป้องกัน ( Prevention ) การซ่อมเสริม ( Remediation ) และการเยียวยาแก้ไข ( Amelioration ) ความยุ่งยากและความยากลำบากของมนุษย์

          ประการที่สาม  บุคคล ( Individuals )  หมายถึงนักเรียนที่อยู่ในสถานศึกษา และยิ่งไปกว่านั้นการแนะแนวจัดว่าเป็นการช่วยเหลือที่จัดให้กับนักเรียนปรกติ ( Normal ) ซึ่งต้องการความช่วยเหลือ สำหรับพัฒนาการที่เป็นปรกติ

          ประการสุดท้าย การเข้าใจตนเองและโลกของตน ( Understand themselves and their world ) หมายถึงการที่บุคคลรู้ว่าตนเป็นใคร รู้ถึงเอกลักษณ์ของตน ( Personal Indentity ) รับรู้ธรรมชาติของตนอย่างกระจ่าง มีประสบการณ์ เกี่ยวกับโลกของตน สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องและผู้คนที่ตนมีปฏิสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งและสมบูรณ์

          ๓.ความหมายในแง่บริการ (Servicc) การแนะแนวเป็น บริการอย่างหนึ่งที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือนักเรียนทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน เพื่อช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้ความสามารถของตนได้อย่างเต็มที่ สามารถเลือกและตัดสินใจได้ฉลาดแก้ปัญหาต่าง ๆ ของตนได้อย่างเหมาะสม สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

          จากความหมายของการแนวแนวในแง่บริการ มีสิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือในการจัดโครงการ แนะแนวขึ้นในโรงเรียนนั้นมีบริการต่าง ๆ ที่จะต้องจัดเพื่อให้บริการแก่นักเรียนอยู่หลายบริการ แต่พอจะจำแนกออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ บริการหลัก และบริการเสริม

          บริการหลัก จัดว่าเป็นบริการที่สำคัญของการจัดโครงการบริการแนะแนวในโรงเรียนซึ่งเป็นบริการที่จะขาดเสียมิได้ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๕ บริการ คือ

          ๑. บริการสำรวจนักเรียนเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service)

          ๒. บริการสนเทศ (Information Service)

          ๓. บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service) เป็นหัวใจของการแนะแนว

          ๔. บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service)

          ๕. บริการติดตามผล

          ในการจัดโครงการบริการแนะแนวขึ้นในโรงเรียน ถ้าจะให้บังเกิดผลดีมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง จำเป็นจะต้องจัดให้มีบริการหลักทั้ง ๕ บริการนี้อย่างครบท้วน

          บริการเสริม หมายถึงบริการที่ไม่ได้เกี่ยวข้องการแนะแนวโดยตรง แต่เป็นบริการที่จะช่วยให้โครงการแนะแนวของโรงเรียนได้ผลดีมากขึ้น ซึ่งได้แก่บริการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

          ๑. บริการจัดหาให้และให้ทุน

          ๒. บริการอาหารกลางวัน

          ๓. บริการสอนซ่อมเสริม

          ๔. บริการสุขภาพ

          ๕. บริการที่พัก

          จะเห็นได้ว่าบริการต่าง ๆ ที่จัดเป็นบริการเสริมของโครงการบริการแนะแนวในโรงเรียนนั้นเป็นบริการที่จะช่วยจัดปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียนได้มาก สมควรที่ทางโรงเรียนจะได้จัดให้มีขึ้นในโรงเรียนของตน ควบคู่กับการจัดบริการแนะแนว เพราะจะช่วยให้ความช่วยเหลือนักเรียนของทางโรงเรียนเป็นไปอย่างได้ผลดีและสัมฤทธิผลอย่างแท้จริง

 

          ความสำคัญของการแนะแนว

          ปัจจุบันการแนะแนวได้เข้ามามีบทบาทในการศึกษามากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจาก การแนะแนวมีจุดมุ่งหมายและหลักการที่สอดคล้องหรือเหมือนกันกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา คือ การช่วยให้เยาวชนของชาติเป็นผู้ที่คิดเป็น โดยเน้นให้ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาในทุก ๆ ด้าน มุ่งสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียน ดังจะเห็นได้จากหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นพุทธศักราช ๒๕๒๑ และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช ๒๕๒๔ ได้มีกำหนดให้มีกิจกรรมแนะแนวอย่างน้อย ๑ คาบต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และยังได้กล่าวไว้หลักเกณฑ์การใช้หลักสูตรว่า โรงเรียนต้องจัดให้มีบริการแนะแนวส่วนตัว แนะแนวการเรียนและการศึกษาต่อ เพื่อใช่ให้แก้ปัญหาให้นักเรียนสามารถเล่าเรียนได้อย่างมีประสิทธิผล

          นอกจากนี้กิจกรรมแนะแนวที่จัดขึ้นในโรงเรียนมัธยมศึกษานั้น หลักสูตรยังได้ระบุอีกว่ากิจกรรมแนะแนวที่จัดขึ้นนี้จะต้องครอบคลุมทั้ง ๓ ด้าน ของการแนะแนว คือ การแนะแนวการศึกษาการแนะแนวอาชีพ การแนะแนวบุคลิกภาพและการปรับตน โดยเฉพาะด้านประพฤติ

          การที่วิชาการแนะแนวหรือปัจจุบันนี้นิยมเรียกว่า จิตวิทยาการแนะแนวเข้ามามีบทบาทในการศึกษามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ก็เนื่องจากเยาวชนเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติ เพราะจะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต ซึ่งจะต้องรับผิดชอบประเทศชาติต่อไป จึงสมควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกายสติปัญญา อารมณ์สังคมและจิตใจ เพื่อช่วยให้เยาวชนเหล่านั้นสามารถปรับตัวอยู่ในสักคมที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลาได้อย่างมีความสุข และเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นที่พึงประสงค์ของประเทศชาติ

 

          ความมุ่งหมายของการแนะแนว

ความมุ่งหมายของการแนะแนวสามารถจำแนกออกได้เป็น ๒ ประเภทคือ

          ๑.ความมุ่งหมายทั่วไป

          ๒.ความมุ่งหมายเฉพาะ

          ความมุ่งหมายทั่วไป หมายถึง ความมุ่งหมายของการแนะแนวโดยส่านรวมนั่นคือ การแนะแนวไม่ว่าจะจัด ณ สถานที่ใดก็ตามย่อมจะมีความมุ่งหมายทั่วไปเหมือนกัน หรืออาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน้าที่ของการแนะแนวก็ได้ ซึ่งมี ๓ ประการด้วยกัน

          ๑. เพื่อป้องกันปัญหา ( Prevention ) นั้นคือการแนะแนวมุ่งป้องกันไม่ให้นักเรียนเกิดปัญหาหรือความยุ่งยากในการดำเนินชีวิตของตนเพราะปัญหาและความยุ่งยากต่าง ๆ นั้น สามารถป้องกันได้และการปล่อยให้นักเรียนเกินปัญหาขึ้นมาแล้วค่อยตามแก่ไขช่วยเหลือภายหลังนั้นทำได้ยากและต้องใช้เวลานานในบางกรณีอาจจะแกไข้ไม่ได้อีกด้วย

          ๒. เพื่อแก้ไขปัญหา ( Curation ) นั้นคือ การแนะแนวมุ่งจะให้ความช่วยเหลือนักเรียนในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตน เพราะถ้าปล่อยให้นักเรียนประสบปัญหาโดยไม่ให้ความช่วยเหลือแล้ว นักเรียนย่อมจะไม่สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างปรกติสุขได้ และในบางครั้งอาจจะมีการปรับตัวที่ผิด ๆ ทำให้เกิดปัญหาเพิ่มมากยิ่งขึ้น

          ๓. เพื่อส่งเสริมพัฒนา ( Development ) นั่นคือการแนะแนวมุ่งจะให้การส่งเสริมนักเรียนทุกคนให้เกิดความเจริญงอกงามมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนจะได้รับการส่งเสริมและแสดงความสามารถในด้านต่าง ๆ ของตนออกมาอย่างเต็มที่ โดยไม่มีสิ่งใดมาเป็นอุปสรรคขัดขวางความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาการของนักเรียน

          ความมุ่งหมายเฉพาะ หมายถึง ความมุ่งหมายของการแนะแนวที่สถานศึกษาซึ่งจัดให้มีการบริการแนะแนวเป็นผู้กำหนดขึ้นมา เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญา เป้าหมายหลักสูตร และสภาพสังคมของสถานศึกษานั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตามความมุ่งหมายเฉพาะของการแนะแนวสำหลับสถานศึกษาแต่ละแห่งจะคล้ายคลึงกันไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น

          ๑. เพื่อช่วยให้นักเรียนแต่ละคนได้รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ ( Self-Understanding ) คือการช่วยให้นักเรียนรู้ถึงความต้องการ ความคิด ความสามารถ ความถนัด และข้อจำจัดต่างๆ ของตน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษา อาชีพ การดำเนินชีวิตของนักเรียน

          ๒. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักปรับตัว ( Self-Adjustment ) ให้เหมาะสมกับตนเองและสภาพแวดล้อมคือ การช่วยให้นักเรียนรู้จักวิธีปฏิบัติตนเพื่อที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสมและเป็นสุข

          ๓. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักนำตนเอง ( Self-Direction ) คือการช่วยให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง รู้จักใช้สติปัญญาความสามารถของตนเองแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างฉลาดและเหมาะสม สามารถวางแผนการชีวิตในอนาคต และสามารถนำตนเองไปสู่เป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

          ๔. เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักใช้วิจารณญาณคาดการณ์ล่วงหน้า สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น และรู้จักหลีกเลี่ยงและป้องกันสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นโดยกะทันหัน

          ๕. เพื่อส่งเสริมให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน เพราะการมีสัมพันธภาพที่ดีจะช่วยให้การบริหารงานของโรงเรียนดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

          ๖. เพื่อช่วยฝึกในเรื่องประชาธิปไตยให้แก่เยาวชนของชาติ เพราะการฝึกให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของตน และมีการปฏิบัติจริง จะช่วยให้นักเรียนเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ

          ๗. เพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมพัฒนานักเรียนในที่สุด

 

          ประเภทของการแนะแนว

          การแนะแนวสามารถจำแนกได้หลายประเภทตามลักษณะของปัญหาที่นักเรียนต้องการความช่วยเหลือจากทางโรงเรียน เช่น ถ้านักเรียนมีปัญหาทางด้านการเรียน การศึกษาต่อ การอ่านหนังสือการช่วยเหลือที่ทางโรงเรียนจัดไห้กับนักเรียนเพื่อขจัดปัญหาเหล่านี้ก็เรียนกว่า การแนะแนวการศึกษาถ้านักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับการเลือกอาชีพ การหางาน การปรับตัว ให้เข้ากับงานการช่วยเหลือที่ทางโรงเรียนจัดให้ก็เรียกว่า การแนะแนวอาชีพ ถ้านักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับการสุขภาพอนามัยการช่วยเหลือของทางโรงเรียนเรียกว่า การแนะแนวสุขภาพ ถ้านักเรียนมีปัญหา เกี่ยวกับการแสดงออกเกี่ยวกับการคบเพื่อน เกี่ยวกับมารยาทสังคมการช่วยเหลือของทางโรงเรียนก็เรียกว่าการแนะแนวด้านสังคม เป็นต้น

 

จะเห็นได้ว่าการแบ่งประเภทของการแนะแนวนั้น สามารถแบ่งได้มากมายตามลักษณะปัญหาของนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือ แต่ก็พอจะสรุปแบ่งกันแนะแนวออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๓ ประเภท คือ

          ๑.การแนะแนวการศึกษา

          ๒.การแนะแนวอาชีพ

          ๓.การแนะแนวด้านส่วนตัวและสังคม

 

          การแนะแนวการศึกษา ( Educational Guidance )หมายถึง กระบวนการให้ความช่วยเหลือนักเรียนในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยเฉพาะ เช่น แนวทางการศึกษาต่อ การเลือกโปรแกรมการเรียน การลงทะเบียน หลักสูตร การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผลของโรงเรียน การค้นคว้าเขียนรายงาน การอ่านหนังสือ การเตรียมตัวสอบ การสร้างสมาธิในการเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร

          การให้บริการแนวแนวการศึกษา จะช่วยให้นักเรียนรู้จักเลือกและปรับตัวได้อย่างเหมาะสมในเรื่องการศึกษาเล่นเรียนของตน ทั้งยังช่วยให้นักเรียนสามารถวางแผนการศึกษาต่อของตนได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

 

จุดมุ่งหมายของการแนะแนวการศึกษา

          ๑.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอนการวักผลประเมินผล ตลอดจนระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ของโรงเรียนเพื่อที่นักเรียนจะได้ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง

          ๒.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รูจักและเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจเลือกแผนการเรียนได้อย่างถูกต้องตรงกับความเข้าใจ ความต้องการ ความถนัดและความสามารถของตน

          ๓.เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับข้อสนเทศทางการศึกษาต่อในด้านต่าง ๆ คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้าศึกษา วิธีการเข้าการศึกษา จำนวนที่รับ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนและระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา เป็นต้น

           ๔.เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทางโรงเรียนจักขึ้นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ความสามารถพิเศษของนักเรียนปรากฏเด่นชัดและได้รับการส่งเสริมพัฒนาอย่างเต็มที่

          ๕.เฟื่อช่วยให้นักเรียนได้ประสบความสำเร็จในการศึกษาตามแผนการเรียนของตน

 

 

 

          สาเหตุที่ทำให้จำเป็นต้องมีการแนะแนว

          การที่ทางโรงเรียนมีความจำเป็นที่ต้องจัดให้มีบริการแนะแนวขึ้นในโรงเรียน ก็เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนในการปรับตัว เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้แก่

          ๑. การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ  เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจค่อนข้างระรัดตัว   เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการครองชีพสูง  เป็นเหตุให้ทั้งบิดามารดาต้องออกไปประกอบอาชีพ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอที่จะช่วยครอบครัวอยู่อย่างมีความสุข ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปทางบ้าน  ทำให้บิดามารดาไม่มีเวลาที่จะดูแลบุตรหลานของตนได้อย่างใกล้ชิดเช่นแต่ก่อน เด็กจึงมีอิสระมากขึ้นในการคบเพื่อน   หรือกระทำกิจกรรมต่าง ๆ โรงเรียนจึงมีความจำเป็นต้องจัดให้มีการแนะแนวขึ้น  เพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ได้รู้จักเลือกคบเพื่อน  รู้จักใช้เวลาว่างให้เหมาะสมและสามารถตัดสินใจอย่างฉลาด

          ๒. การเปลี่ยนแปลงด้านงานอาชีพ ปัจจุบันวิทยาการและเทคโนโลยีเจริญเพิ่มขึ้นมาก ก่อให้เกิดการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมเป็นเหตุให้เกิดอาชีพใหม่เพิ่มขึ้นมากมายและอาชีพแต่ละอย่างก็ต้องการบุคคลที่มีคุณสมบัติ  มีความรู้  ความสามารถ  แตกต่างกันไป  ผู้ที่จะประกอบอาชีพนั้น ๆ ได้จะเป็นจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมมาในด้านนั้นโดยเฉพาะ  ดังนั้นการแนะแนวจึงเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญในการเปลี่ยนแปลงด้านนี้  เนื่องจากจะต้องช่วยให้นักเรียนสามารถวางแผนและตัดสินใจเลือกอาชีพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม   สอดคล้องกับความสามารถ  ความถนัด  ความสนใจ  ของนักเรียนแต่ละคน

          ๓. การเปลี่ยนแปลงด้านจำนวนประชากร ปัจจุบันประชากรของประเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าอัตราการเกิดจะลดลงแล้วก็ตาม  ทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายประการ  เช่น ปัญหาที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ   มีการแข่งขันกันสูง  เนื่องจากเกิดสภาวะคนล้นงาน ทำให้เกิดปัญหาคนว่างงานมีเพิ่มมากขึ้น  ปัญหาจำนวนนักเรียนล้นชั้นเรียน  โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและอยู่ในเมือง แต่ในทางตรงกันข้ามโรงเรียนที่อยู่ในชนบทหรือโรงเรียนเล็ก ๆ กลับไม่ค่อยมีนักเรียนเข้าเรียน เนื่องจากผู้ปกครองมองไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา เพราะได้พบเห็นว่าผู้ที่ศึกษาสูง ๆ แต่เมื่อสำเร็จออกมากลับไม่มีงานทำ  ต้องเหลือนักเรียนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และเพื่อจะได้ชี้แจงให้นักเรียนและผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์

          ๔. การเปลี่ยนแปลงด้านศีลธรรมและวัฒนธรรม เนื่องจากปัจจุบันนี้กาเผยแพร่ข่าวสารต่าง ๆ ทำได้ง่ายและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ทำให้วัฒนธรรมตะวันตกไหลบ่าเข้ามาในประเทศไทยอย่างรวดเร็วเป็นเหตุให้เด็กเกิดความสงสัยและเกินความสับสนวุ่นวายในจิตใจ เนื่องจากสิ่งที่ทางบ้านและทางโรงเรียนสอนให้เด็กประพฤติปฏิบัติ กับสิ่งที่เด็กได้พบเห็นในสังคมนั้นไม่สอดคล้องกันหรือขัดแย้งกัน ทำให้เด็กเกิดความลังเลว่าตนควรจะเชื่อคำสั่งสอนของทางบ้านและโรงเรียนดี หรือควรจะเชื่อตามความเป็นไปของสังคม ด้วยเหตุนี้ทำให้เด็กไม่สามารถตัดสินได้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี อะไรควร อะไรไม่ควร อะไรถูก อะไรไม่ถูก ด้วยเหตุนี้การจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะเป็นบริการที่จะช่วยให้เด็กสามารถเลือกและตัดสินใจได้อย่างฉลาดและถูกต้อง

          ๕. ความเปลี่ยนแปลงด้านปรัชญาการศึกษาและหลักสูตร ปรัชญาการศึกษาปัจจุบันเน้นให้เด็กคิด ทำเป็น แก้ปัญหา และยังมุ่งหวังให้เด็กเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพ ดังนั้น หลักสูตรจึงมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษา คือ หลักสูตรการศึกษาจึงเป็นหลักสูตรแบบกว้างเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กเลือกเรียนวิชาต่าง ๆ ตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล แต่การที่เด็กจะสามารถเลือกวิชาหรือสายการเรียนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จำที่เด็กจะต้องรู้จักและเข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้เสียก่อน ดังนั้น การจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนจึงเป็นสิ่งที่ทางโรงเรียนจะละเว้นเสียไม่ได้เพราะบริการแนะแนวจะช่วยให้นักเรียนสามารถเลือกและตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รู้แนวทางในการศึกษาต่อในการประกอบอาชีพ และรู้จักที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพอีกด้วย 

 

          ประโยชน์ของการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน

          ในการจัดบริการแนะแนวขึ้นในโรงเรียนนั้น ถ้าโรงเรียนสามารถให้บริการแก่นักเรียนได้อย่างได้ผลดีมีประสิทธิภาพ จะเกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้

          ๑. ช่วยให้นักเรียนได้รู้จักและเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ ทำให้สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี รู้จักเลือกและตัดสินใจได้อย่างฉลาดและเหมาะสมสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ตนประสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางแผนการชีวิตในอนาคตของตนเองและสามารถนำตนเองไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ทั้งยังช่วยให้นักเรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้เกิดความเจริญงอกงามทุกด้านอย่างมีบูรณาการ

          ๒. ช่วยให้คณะครูได้รู้จักนักเรียนของตนแต่ละคนอย่างลึกซึ้ง ทำให้ยอมรับนักเรียนในฐานะเป็นเอกัตบุคคล เข้าใจว่านักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างในด้านต่าง ๆ เช่น สติปัญญา สภาพร่างกาย ความถนัด ความสนใจ ค่านิยม ทำให้ทางโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนและจิตกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน และช่วยให้ปัญหาของโรงเรียนที่เกิดจากนักเรียนลดน้อยลงไปอีกด้วย

          ๓. ช่วยให้บิดามารดาและผู้ปกครองของนักเรียนรู้จักและเข้าใจเด็กของตนดีขึ้น ยอมรับสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับบุตรหลานของตนในฐานะที่เป็นบุคคลคนหนึ่งซึ่งแตกต่างจากบุคคลอื่นๆ และให้ความร่วมมือแก่ทางโรงเรียนในการส่งเสริมพัฒนาบุตรหลานของตน

          ๔. ช่วยให้สังคมและประเทศชาติได้รับประชากรที่มีคุณภาพ ไม่เป็นผู้ที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมและช่วยเพิ่มพูนเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเด็กได้เรียนและได้ประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตน

 

 

          ปัญหาของนักเรียนที่ควรได้รับแนะแนว

          ปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียนที่เกิดขึ้นและสมควรจะได้รับการแนะแนวนั้นมีอยู่มากมายแต่พอจะจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๘ ประเภท คือ

๑.ปัญหาที่เกี่ยวกับพัฒนาการด้านร่างกายและสุขภาพ

          ๑.๑ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

          ๑.๒ สุขภาพไม่แข็งแรงมีโรคประจำตัว

          ๑.๓ รูปร่างไม่ดี ขาดอาหาร อ้วนหรือผอมเกินไป

          ๑.๔ การรับประทานอาหาร การดื่ม การออกกำลังกายและการพักผ่อน

          ๑๕ การรักษาความสะอาดและการป้องกันโรค

          ๑.๖ การขับถ่ายของเสีย

          ๑.๗ การใช้ยา

๒.ปัญหาเกียนกับการศึกษาเล่าเรียน เช่น

          ๒.๑ ไม่ชอบครูบางคน เนื่องจากดุเกินไป หรือไม่ให้ความยุติธรรม

          ๒.๒ ไม่ชอบเรียนวิชาบางวิชา เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย

          ๒.๓ ขาดนิสัยและทักษะในการเรียนที่จำเป็น เช่น การอ่านหนังสือ การค้นคว้าเขียนรายงาน การเตรียมตัวสอบ การทำตารางประจำวัน หรือต้องออกไปพูดหน้าชั้น

          ๒.๔ รู้สึกประหม่าเมื่อถูกครูถาม หรือต้องออกไปพูดหน้าชั้น

          ๒.๕ ขี้เกียจ ชอบลอกงานเพื่อน ไม่พยามยามทำงานอย่างเต็มความสามารถของตน

          ๒.๖ ท้อถอย ไม่สู้งาน ชอบหนีเรียน

๓.ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางครอบครัว

          ๓.๑ มีความรู้สึกขัดแย้งกับบิดามารดาของตน เนื่องจากถูกบังคับมากเกินไป

          ๓.๒ มีความรู้สึกขาดความอบอุ่น เนื่องจากบิดามารดาไม่เอาใจใส่

          ๓.๓ มีความรู้สึกขาดเพื่อน เนื่องจากเป็นลูกคนเดียว

          ๓.๔ มีงานต้องช่วยบิดามารดาทำมากเกินไป

          ๓.๕ ขาดความสามัคคีในหมู่พี่น้อง

          ๓.๖ ไม่ได้รับความยุติธรรมจากบิดามารดา

          ๓.๗ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวไม่ดี  มีสภาพบ้านแตก

          ๓.๘ บิดามารดาหรือผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน

          ๓.๙ บิดามารดาปฏิบัติต่อนักเรียนเหมือนเด็กเล็ก

๔.ปัญหาด้านการเงิน เช่น

          ๔.๑ ขาดผู้อุปการะส่งเสียให้เล่าเรียน

          ๔.๒ ต้องทำงานหารายได้ช่วยตนเองเพื่อใช้เป็นทุนในการซื้ออุปกรณ์ในการศึกษาเล่าเรียน

          ๔.๓ ต้องการหารายได้ช่วยเหลือตนเอง

          ๔.๔ ต้องการรู้จักวิธีการใช้จ่ายเงินที่เหมาะสม

          ๔.๕ ต้องการให้ผู้ปกครองให้เงินเป็นก้อน เพื่อตนจะได้รับผิดชอบการใช้จ่ายเอง

          ๔.๖ ต้องการให้ผู้ปกครองให้เงินเพิ่มขึ้น

๕.ปัญหาเกี่ยวกับเพื่อนต่างเพศ

          ๕.๑ การปรับตัวด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ เช่น ความรัก การเกี้ยวพาราสี การกอดจูบ การแต่งงาน

          ๕.๒ การมีนัดกับเพื่อนผู้ชายที่เป็นบิดามารดา หรือผู้ปกครองไม่รู้จัก

          ๕.๓ บิดามารดาไม่อนุญาตให้ออกไปเทียวกับเพื่อนต่างเพศ

          ๕.๔ การปฏิเสธการนัดของเพื่อนต่างเพศ โดยไม่ทำให้เขารู้สึกเจ็บปวด

๖.ปัญหาเกี่ยวกับบุคลิกภาพและสังคม

          ๖.๑ ต้องการให้เป็นที่สนใจของคนทั่วไป

          ๖.๒ ต้องการเป็นคนที่มีกิริยามารยาทงาม

          ๖.๓ ต้องการให้กิริยาท่าทาง การแต่งกาย และน้ำเสียงของตนเป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็น

          ๖.๔ เข้ากับคนอื่นไม่ได้

          ๖.๕ อารมณ์อ่อนไหว ใจน้อย โกรธง่าย

          ๖.๖ ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง

          ๖.๗ การอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นๆ

          ๖.๘ ปรัชญาชีวิต เช่น ศาสนา ความเชื่อ ค่านิยม

          ๖.๙ ความเป็นพลเมืองดี

๗.ปัญหาเกี่ยวกับการใช้เวลาว่าง

          ๗.๑ การทำตารางประวันเพื่อเป็นการวางแผนใช้เวลาในแต่ละวัน

          ๗.๒ การเล่นกีฬาและเกมต่างๆ

          ๗.๓ การทำงานศิลปะและการฝีมือ

          ๗.๔ การสมาคมและการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม

          ๗.๕ การมีเวลาว่างมาก

๘.ปัญหาเกี่ยวกับอาชีพ

          ๘.๑ ไม่ทราบว่าจะตัดสินใจเลือกเรียนต่ออะไรดี

          ๘.๒ ไม่ทราบว่าจะตัดสินใจประกอบอาชีพอะไรดี

          ๘.๓ อยากเลือกเรียนอาชีพบางอย่างแต่ขาดทุนทรัพย์

          ๘.๔ อยากเรียนต่อแต่ผู้ปกครองจะให้ออกไปประกอบอาชีพเจริญรอยตามผู้ใหญ่

          ๘.๕ อยากเรียนวิชาชีพอย่างหนึ่งแต่บิดามารดาต้องการให้เรียนอีกอย่างหนึ่ง

          ๘.๖ ขาดความรู้เกี่ยวกับการหางาน

          ๘.๗ ขาดความรู้เกี่ยวกับวิธีการเข้าสมัครงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ ๓

การให้คำปรึกษา

 

          การให้คำปรึกษา (Counseling)

ความหมาย

          กระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มาขอคำปรึกษา เพื่อให้เขาได้ใช้ความสามารถที่เขามีอยู่จัดการกับปัญหาของเขาได้ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้

กระบวนการให้คำปรึกษาจะเกี่ยวข้องกับสิ่งสำคัญ ๓ ประการ

          ๑. ผู้ให้คำปรึกษา (Counselor)

          ๒. ผู้มาขอรับคำปรึกษา (Counselee)

          ๓. ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Counselor และ Counselee

 

          จิตวิทยาการให้คำปรึกษา ต้องพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

          ๑. การเข้าใจตนเอง (Counselor)

          ๒. การเข้าใจผู้มาของรับการปรึกษา

          ๓. การเข้าใจธรรมชาติการแสดงออกของมนุษย์ (Human interaction Model)

          ๔. เข้าใจธรรมชาติของปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหา

          ๕. เข้าใจลักษณะการให้คำปรึกษา จรรยาบรรณการให้คำปรึกษา

          ๖. ขั้นตอนการให้คำปรึกษา

          ๗. เทคนิคการคำปรึกษา

          ๘. ฝึกปฏิบัติ (Practicum)

 

          ขั้นตอนของการให้คำปรึกษา

          ๑. สร้างความคุ้นเคย (Rapport)

          ๒. เริ่มต้นการให้คำปรึกษา (Opening the Interview)

          ๓. การกำหนดปัญหา (Setting Problems)

          ๔. การรวบรวมข้อมูล (Collecting Data)

          ๕. การร่วมแก้ปัญหา (Solving the Problem)

          ๖. ขั้นให้ข้อเสนอแนะ (Suggestion)

          ๗. ขั้นสรุปและปิดการสนทนา (Summarization & Closed Case)

 

 

เทคนิคการให้คำปรึกษา

          ๑. สร้างความคุ้นเคย (Rapport)

          ๒. การถาม (Asking)

          ๓. การฟัง (Listening)

          ๔. การให้ความกระจ่าง (Clarification)

          ๕. ขั้นให้ข้อเสนอแนะ (Suggestion)

          ๖. การสะท้อนความรู้สึก (Reflection of feeling)

          ๗. การสะท้อนเนื้อหา (Reflection of Content)

          ๘. การสรุป (Summarization)

          ๙. การเงียบ (Silence)

 

          การให้คำปรึกษาวัยรุ่น(Counseling for Teenager)

          ผศ. นพ. พนม เกตุมาน  สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น  ภาควิชาจิตเวชศาสตร์   คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 

          การให้คำปรึกษา  คือการช่วยเหลือให้คิดและตัดสินใจแก้ไขปัญหาของตนเองได้  ด้วยการใช้เทคนิคต่าง  ของการสร้างความสัมพันธ์ การสื่อสาร  ความเข้าใจและมีความรู้สึกอยากช่วยเหลือ ขั้นตอนของการให้คำปรึกษา  ประกอบด้วย  การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การสำรวจปัญหา และเลือกเรื่องที่จะทำงานร่วมกัน  การประคับประคองจิตใจให้อารมณ์สงบ  การแก้ปัญหากระตุ้นให้มองหาทางเลือก  ข้อดีข้อเสีย ชี้แนะ ช่องทาง ข้อมูล ประกอบการตัดสินใจ และการให้ตัดสินใจ การทดลองปฏิบัติ และติดตามผลด้วยตนเองก่อนจะยุติการช่วยเหลือ

          การให้คำปรึกษาวัยรุ่น นอกจากจะมีความรู้และทักษะการให้คำปรึกษาแล้ว ควรมีความรู้ความเข้าใจวัยรุ่น ได้แก่พัฒนาการตามปกติของวัยรุ่น  ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในวัยรุ่น

 

          พัฒนาการปกติของวัยรุ่น

          วัยรุ่น จะเริ่มต้นตอนอายุประมาณ  ๑๒ - ๑๓ ปี  แม้ว่าบางคนจะเข้าสู่วัยรุ่นเร็ว  เช่น  บางคนอายุ  ๙ – ๑๐  ปีอาจเริ่มเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว  ก็ไม่ถือว่าผิดปกติ  สมัยนี้มีแนวโน้มจะเป็นวัยรุ่นเร็วกว่าสมัยก่อน  เนื่องจากความสมบูรณ์ทางร่างกายที่ดีขึ้น   เพศหญิงจะเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าเพศชายประมาณ ๒ ปี ในชั้นประถมปลาย  ป.๕ – ๖  จะเห็นผู้หญิงจะเป็นสาวมากกว่าผู้ชาย   เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นแล้ว พัฒนาการของวัยรุ่นจะเกิดต่อเนื่องไปจนถึงอายุประมาณ  ๑๘ ปี จึงจะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่  ในช่วงวัยรุ่นนี้จะสังเกตตัวเองได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก  ในพัฒนาการด้านต่าง ๆ  ดังนี้

 

          ๑.พัฒนาการทางร่างกาย

          การเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย   การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั่วไป  และการเปลี่ยนแปลงทางเพศ   เนื่องจากวัยนี้ มีการสร้างและหลั่งฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนของการเจริญเติบโตอย่างมากและรวดเร็ว

          การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย   ร่างกายจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แขนขาจะยาวขึ้นก่อนจะเห็นการเปลี่ยนแปลงอื่นประมาณ ๒ ปี เพศหญิงจะไขมันมากกว่าชาย   ผู้ชายจะมีกล้ามเนื้อมากกว่า  ทำให้เพศชายแข็งแรงกว่า

          การเปลี่ยนแปลงทางเพศ  สิ่งที่เห็นได้ชัดเจน  คือวัยรุ่นชายจะเป็นหนุ่มขึ้น  นมขึ้นพาน(หัวนมโตขึ้นเล็กน้อย  กดเจ็บ)  เสียงแตก  หนวดเคราขึ้น  และเริ่มมีฝันเปียก (การหลั่งน้ำอสุจิในขณะหลับและฝันเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ)  การเกิดฝันเปียกครั้งแรกเป็นสัญญานของการเข้าสู่วัยรุ่นของเพศชาย  ส่วนวัยรุ่นหญิงจะเป็นสาวขึ้น  คือ เต้านมมีขนาดโตขึ้น  ไขมันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้รูปร่างมีทรวดทรง  สะโพกผายออก  และเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก    การมีประจำเดือนครั้งแรก เป็นสัญญานบอกการเข้าสู่วัยรุ่นในหญิงทั้งสองเพศจะมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศ  ซึ่งจะมีขนาดโตขึ้น และเปลี่ยนเป็นแบบผู้ใหญ่  มีขนขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ  มีกลิ่นตัว  มีสิวขึ้น

          ๒. พัฒนาการทางจิตใจ

          สติปัญญา  วัยนี้สติปัญญาจะพัฒนาสูงขึ้น  อย่างมาก  และรวดเร็ว  จนมีความคิดเป็นแบบรูปธรรม  นั่นคือมีความสามารถเรียนรู้  เข้าใจเหตุการณ์ต่าง  ๆ  ได้ลึกซึ้งขึ้น   มีความสามารถในการคิด  วิเคราะห์  และสังเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้นตามลำดับ   จนเมื่อพ้นวัยรุ่นแล้ว  จะมีความสามารถทางสติปัญญาได้เหมือนผู้ใหญ่  แต่ในช่วงระหว่างวัยรุ่นนี้ ความคิดยังอาจขาดความรอบคอบ  ขาดการยั้งคิดหรือไตร่ตรองให้รอบคอบ   มีความคิดที่รวดเร็วแบบหุนหันพลันแล่นมากกว่า  เมื่อโตขึ้นกว่านี้  จะมีความคิดที่สมบูรณ์ขึ้น  คิดรอบด้านได้มากขึ้น  โดยเรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตนั่นเอง

          ความคิดเกี่ยวกับตนเอง   วัยนี้จะเริ่มมีความสามารถในการรับรู้ตนเอง ด้านต่าง ๆ   ดังนี้         เอกลักษณ์  จะเริ่มแสดงออกถึงสิ่งตนเองชอบ  สิ่งที่ตนเองถนัด  ซึ่งจะแสดงถึงความเป็นตัวตนของเขาที่โดดเด่น  ได้แก่  วิชาที่ชอบเรียน  กีฬาที่ชอบเล่น  งานอดิเรก  การใช้เวลาว่างให้เกิดความเพลิดเพลิน   กลุ่มเพื่อนที่ชอบและสนิทสนมด้วย  โดยจะเลือกคบคนที่มีส่วนคล้ายคลึงกัน  หรือเข้ากันได้   และจะเกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดแบบอย่างจากกลุ่มเพื่อนนี้เอง  ทั้งแนวคิด  ค่านิยม  ระบบจริยธรรม  การแสดงออกและการแก้ปัญหาในชีวิต  จนสิ่งเหล่านี้กลายเป็นเอกลักษณ์ของตน  และกลายเป็นบุคลิกภาพนั่นเอง   สิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ตนเองยังมีอีกหลายด้าน  ได้แก่  เอกลักษณ์ทางเพศ แฟชั่น  ดารา  นักร้อง  การแต่งกาย    ทางความเชื่อในศาสนา  อาชีพ  คติประจำใจ  เป้าหมายในการดำเนินชีวิต   วัยรุ่นที่ไม่เกิดเอกลักษณ์ของตน  จะมีความสับสนในตนเอง  ขาดแนวทางหรือเป้าหมายในชีวิตตน และขาดความสุขในการการดำเนินชีวิตต่อไป

          การได้รับการยอมรับจากผู้อื่น   วัยนี้ต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อนอย่างมาก  การได้รับการยอมรับจะช่วยให้เกิดความรู้สึกมั่นคง  ปลอดภัย  เห็นคุณค่าของตนเอง  มั่นใจตนเอง  วัยนี้จึงมักอยากเด่นอยากดัง อยากให้มีคนรู้จักมาก ๆ    อาจทำอะไรเพื่อให้คนอื่นสนใจ ถ้ามีจุดดีจุดเด่นให้เพื่อน ๆ ยอมรับได้  จะเป็นที่รักของเพื่อน ๆ  การมีจุดเด่นนี้  ไม่จำเป็นต้องดีเด่นชนะคนอื่น  ไม่ควรจะเด่นจากการแข่งขันให้เหนือกว่าใคร ๆ  แต่สามารถดีเด่นในเรื่องการเป็นคนดี  มีประโยชน์  โอบอ้อมอารี  เต็มใจช่วยเหลือเพื่อน  มองเพื่อนในแง่ดี  มีการสื่อสารที่ดีต่อกัน

          ความภาคภูมิใจตนเอง   วัยรุ่นจะพอใจและภูมิใจ  ที่ตนเองเป็นที่ยอมรับของเพื่อนและคนอื่น ๆได้  รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า  เป็นคนดีและมีประโยชน์แก่ผู้อื่นได้  ทำอะไรได้สำเร็จ  การทำประโยชน์แก่เพื่อน ๆ  เป็นทักษะสำคัญที่ควรมี  การมีเพื่อนดี  จะช่วยกันสร้างความภาคภูมิใจให้แก่กันได้  การเลือกคบเพื่อนที่ดี  เพื่อนที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  จะช่วยให้มีความภูมิใจตนเองได้

          ความเป็นตัวของตัวเอง   วัยนี้จะรักอิสระ  เสรีภาพ ไม่ค่อยชอบอยู่ในกฎเกณฑ์กติกาใดๆ  ชอบคิดเอง  ทำเอง  พึ่งตัวเอง  เชื่อความคิดตนเอง   มีปฏิกิริยาตอบโต้ผู้ใหญ่(เช่นพ่อแม่  หรือครูอาจารย์)ที่บีบบังคับสูง ความอยากรู้อยากเห็นอยากลองจะมีสูงสุดในวัยนี้  ทำให้อาจเกิดพฤติกรรมเสี่ยงได้ง่าย  บางคนจะขาดการยั้งคิดที่ดี  เมื่อตัวเองคิดอย่างไรแล้วก็อยากจะทำตามความคิด  โดยขาดการไตร่ตรองให้รอบคอบ  จึงต้องระมัดระวังตัว  สร้างและแสดงความเป็นตัวของตัวเอง  โดยมีการควบคุมตนเองให้อยู่ในกฎเกณฑ์กติกาของส่วนรวมด้วย

          การควบคุมตนเอง   วัยนี้จะเรียนรู้ที่จะควบคุมความคิด  ควบคุมอารมณ์  ควบคุมการกระทำ  ให้อยู่ในกรอบกติกา  ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน  การรู้จักยั้งคิด การคิดให้เป็นระบบ  จะเป็นประโยชน์ที่ทำให้สามารถใช้ความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

อารมณ์   หลายคนเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นจะมีอารมณ์ปั่นป่วน  เปลี่ยนแปลงง่าย  หงุดหงิดง่าย  เครียดง่าย  โกรธง่าย   อาจเกิดอารมณ์ซึมเศร้าโดยไม่มีสาเหตุได้ง่าย  อารมณ์ที่ไม่ดีเหล่านี้อาจทำให้เกิดพฤติกรรมเกเร  ก้าวร้าว   มีผลต่อการเรียนและการดำเนินชีวิตได้ ในวัยรุ่นตอนต้น  การควบคุมอารมณ์ยังไม่ค่อยดีนัก  บางครั้งยังทำอะไรตามอารมณ์ตัวเองอยู่บ้าง  แต่จะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น  นอกจากนี้จะมีความรู้สึกหรือมีอารมณ์ทางเพศ   ทำให้มีความสนใจใฝ่รู้เรื่องทางเพศ  หรือมีพฤติกรรมทางเพศ  เช่น  การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง  เป็นการระบายความรู้สึกทางเพศ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติในวัยนี้  แต่พฤติกรรมบางอย่างอาจเป็นปัญหาตามมา เช่น  เบี่ยงเบนทางเพศ กามวิปริต หรือการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น  ควรรู้ว่า  ควรควบคุมอารมณ์อย่างไรดี   เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในวัยนี้

          จริยธรรม   วัยนี้จะมีความคิดเชิงอุดมคติสูง  เพราะสามารถแยกแยะความผิดชอบชั่วดีได้  มีระบบมโนธรรมของตนเอง   ต้องการให้เกิดความถูกต้อง  ความชอบธรรมในสังคม  ชอบช่วยเหลือผู้อื่น   ต้องการเป็นคนดี  เป็นที่ชื่นชอบของคนอื่น    และจะรู้สึกอึดอัดคับข้องใจกับความไม่ถูกต้องในสังคม  หรือในบ้าน  แม้แต่พ่อแม่ของตนเองก็เริ่มรู้สึกว่าไม่ได้ดีสมบูรณ์แบบเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไปแล้ว  บางครั้งอาจจะแสดงออก  วิพากษ์วิจารณ์พ่อแม่หรือ ครูอาจารย์ตรงๆอย่างรุนแรง  การต่อต้าน  ประท้วงจึงเกิดได้บ่อยในวัยนี้เมื่อวัยรุ่นเห็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง  หรือมีการเอาเปรียบ เบียดเบียน  ความไม่เสมอภาคกัน   ในวัยรุ่นตอนต้นการควบคุมตนเองอาจยังไม่ดีนัก  แต่เมื่อพ้นวัยรุ่นนี้ไป  การควบคุมตนเองจะดีขึ้น  จนเป็นระบบจริยธรรมที่สมบูรณ์เหมือนผู้ใหญ่

          ๓. พัฒนาการทางสังคม

          วัยนี้จะเริ่มห่างจากทางบ้าน  ไม่ค่อยสนิทสนมคลุกคลีกับพ่อแม่พี่น้องเหมือนเดิม  แต่จะสนใจเพื่อนมากกว่า  จะใช้เวลากับเพื่อนนาน ๆ  มีกิจกรรมนอกบ้านมาก  ไม่อยากไปไหนกับทางบ้าน   เริ่มมีความสนใจเพศตรงข้าม  สนใจสังคมสิ่งแวดล้อม  ปรับตัวเองให้เข้ากับกฎเกณฑ์กติกาของกลุ่ม  ของสังคมได้ดีขึ้น   มีความสามารถในทักษะสังคม  การสื่อสารเจรจา  การแก้ปัญหา  การประนีประนอม  การยืดหยุ่นโอนอ่อนผ่อนตามกัน  และการทำงานร่วมกับผู้อื่น  พัฒนาการทางสังคมที่ดีจะเป็นพื้นฐานมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี  และบุคลิกภาพที่ดี  การเรียนรู้สังคมจะช่วยให้ตนเองหาแนวทางการดำเนินชีวิตที่เหมาะกับตนเอง  เลือกวิชาชีพที่เหมาะกับตน  และมีครอบครัวที่ดี  ช่วยกันดูแลสังคมสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อตนเองและส่วนรวมในอนาคตต่อไป

 

          หลักการให้คำปรึกษา

          การให้คำปรึกษา เป็นการช่วยเหลือรูปแบบหนึ่ง  ที่อาศัยความสัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับการปรึกษา  เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาเกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหา ได้ความรู้และทางเลือกในการแก้ปัญหานั้นอย่างเพียงพอมีสภาพอารมณ์และจิตใจที่พร้อมจะคิดและตัดสินใจด้วยตัวเอง

 

          วัตถุประสงค์ของการให้คำปรึกษา จึงประกอบด้วยการช่วยให้วัยรุ่น

          ๑.เกิดแรงจูงใจที่จะให้ข้อมูล

          ๒.เข้าใจและเห็นปัญหาของตนเอง

          ๓.อยากแก้ไขปัญหา  หรือพัฒนาตนเอง

          ๔.ดำเนินการแก้ไขปัญหา  หรือพัฒนาตนเอง

          เทคนิคการให้คำปรึกษา

          เทคนิคการให้คำปรึกษา  สามารถนำมาใช้ตั้งแต่เริ่มการสัมภาษณ์วัยรุ่น ขั้นตอน ดังนี้

๑.การเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

๒. การสำรวจลงไปในปัญหา หรือสาเหตุที่ทำให้ต้องมาพบกัน

๓.สรุปและเลือกประเด็นที่สำคัญร่วมกัน  ที่จะทำงานร่วมกัน

๔.ตั้งเป้าหมายในการทำงานต่อไปด้วยกัน  คือการแก้ไขปัญหา

๕.การดำเนินการช่วยเหลือ การฝึกฝนทักษะต่างๆ

๖. การสรุปและยุติการให้คำปรึกษา

บรรณานุกรม

 

กรมการจัดหางาน. ๒๕๓๙. คู่มือแนะแนวอาชีพ. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

กรมการจัดหางาน. ๒๕๔๑. แนวทางการเลือกอาชีพและการเตรียมตัวสมัครงาน. กองสงเสริมการมีงาน   ทํากระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม.

กรมการจัดหางาน. ๒๕๔๓. สถิติจัดหางาน. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม.

กังวล เทียนกัณฑเทศน์  ๒๕๓๖. การวัด การวิเคราะห์ การประเมินทางการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพ ฯ :   ศูนยสื่อเสริมกรุงเทพ ฯ.

กัลยา วานิชบัญชา  . ๒๕๔๘. สถิติสําหรับงานวิจัย. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

กิตติ กิตติศัพท. ๒๕๔๐. “การหาคุณภาพของแบบสํารวจความสนใจในอาชีพ VIESA ในกลุมผูประกอบ     อาชีพคนไทย” วารสารแนะแนว. ปที่ ๓๑ ฉบับที่ ๑๖๘.

ชวาล แพรัตกุล .๒๕๒๐. คูมือดําเนินการสอบแบบทดสอบมาตรฐานความถนัดทางการเรียน ชั้นมัธยม    ศึกษาปที่ ๓. กรุงเทพ ฯ : คุรุสภา.

ชอลัดดา ขวัญเมือง. ๒๕๔๑. กิจกรรมแนะแนวในชั้นเรียน. กรุงเทพ ฯ : วิทยพัฒน.

นวลศิริ เปาโรหิตย. ๒๕๒๘. พัฒนาการทางอาชีพ. กรุงเทพ ฯ : แสงจันทร.

นิสิตปริญญาโทวัดผลการศึกษา. ๒๕๒๕. การสรางแบบสำรวจความสนใจในอาชีพตามทฤษฎีของ         ฮอลแลนด. เอกสารสวนหนึ่งของการศึกษาวิชาวัดผล ๕๐๓.

บุญชม ศรีสะอาด. ๒๕๔๐. การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรงเทพ ุ ฯ : สุวีริยาสาสน.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ๒๕๒๔. คูมือการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน. กรุงเทพ ฯ : การพิมพ  พระนคร.

บุญเรียง ขจรศิลป. ๒๕๒๗. หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา. พิมพครั้งที่ ๒. กรุงเทพ ฯ : ภาควิชา การศึกษาคณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

ประคองกรรณสูตร. ๒๕๒๕. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร. ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุ      ศาสตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโรงพิมพเจริญผล.

_______. ๒๕๓๘. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร. พิมพครั้งที่ ๒. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ        มหาวิทยาลัย

ประเสริฐ ชูสิงห. ๒๕๔๐. การแนะแนวเบื้องตน (Introduction to Guidance). ภาควิชาจิตวิทยา คณะ    ศึกษาศาสตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปตตานี

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. ๒๕๔๕. หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพ ฯ : เฮาสออฟเคอรมิสท.

ลักขณา สริวฒนั . ๒๕๔๓. การแนะแนวเบื้องต้น .กรุงเทพ ฯ : โอเดียนสโตร.

รวีวรรณ อังคนุรักษพันธ. ๒๕๓๓. การวัดทัศนคติเบื้องต้น .กรุงเทพ ฯ : ภาควิชาหลักสูตรและ การสอน,   คณะศึกษาศาสตร, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมนึก ภัททิยธนี. ๒๕๔๔. การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ : ประสานการพิมพ.

สมพร สุทัศนีย. ๒๕๔๕. การทดสอบทางจิตวิทยา. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

หนวยศึกษานิเทศก กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ . ๒๕๓๔. การแนะแนวอาชีพในโรงเรียน        มัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : กองพัสดุและอุปกรณการศึกษา  กรมสามัญศึกษา.

อนันต ศรีโสภา. ๒๕๒๔. การวัดและการประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช จํากัด.

_______. ๒๕๒๕. การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช จํากัด.

อรอนงค ธัญญะวัน. ๒๕๓๙. การแนะแนวอาชีพ. กรุงเทพ ฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส.

อภิชาติ เศรณวีิจัยกิจการ. ๒๕๔๕. แนะแนวการศึกษาและอาชีพ : นโยบายและแนวทางดําเนินงาน.      กรุงเทพ ฯ : สถาบันการแปลหนังสือกรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ.

 

คำยืนยันของเจ้าของเรื่องเล่า

✓ เรื่องนี้นำมาจากแหล่งอื่นและได้รับการอนุญาตจากเจ้าของแล้ว

คำวิจารณ์

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเขียนวิจารณ์ได้


รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
คำวิจารณ์เพิ่มเติม...

โหวต

เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจ
0 /10
ความถูกต้องในการใช้ภาษา
0 /10
ภาษาที่ใช้น่าอ่าน
0 /10

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถโหวดได้


แบบสำรวจ

คุณคิดยังไงกับเรื่องเล่าเรื่องนี้

* สามารถกรอกแบบสำรวจโดยไม่ต้องเป็นสมาชิกก็ได้ครับ

 

อ่านเรื่องเล่าเรื่องอื่น

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา