โรควิตกกังวลคืออะไร อาการและวิธีการรักษา

GUEST1649747579

ขีดเขียนดีเด่น (379)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:706
เมื่อ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 18.36 น.

โรควิตกกังวล

การใช้ชีวิตในแต่ละวันของคนเราต้องเจอกับสถานการณ์ต่าง ๆ รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะมาจากสาเหตุใดแน่นอนว่าปัญหาเหล่านั้นจะมาพร้อมกับความวิตกกังวล ความเครียด หากใครที่สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านั้นได้ ความวิตกกังวลก็จะพลอยหายไปด้วย แต่ในบางครั้งถึงแม้ว่าจะผ่านปัญหานั้นมาแล้วแต่ความวิตกกังวลก็ยังคงสภาวะไว้เช่นเดิมไม่มีทีท่าว่าจะคลายหายไป

อาการวิตกกังวล เป็นสภาวะทางจิตใจที่ผู้ที่เผชิญอยู่ในสภาวะนี้มีความกังวลและความเครียดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือมากกว่าปกติ โดยส่วนใหญ่ความกังวลนั้นเกิดจากความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ในอนาคตที่อาจเกิดขึ้น แต่สามารถเกิดขึ้นจากความกังวลที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเช่นกัน

ในแง่จิตวิทยา อาการวิตกกังวลถือเป็นธรรมชาติของการเตรียมตัวเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงหรืออันตราย แต่อาการวิตกกังวลที่เกินความจำเป็นและต่อเนื่องอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความสุขของบุคคลนั้น ไม่ว่าจะความวิตกกังวล หวาดกลัว ความเครียด ที่เกิดขึ้นจนเป็นการสะสมสภาวะอารมณ์เหล่านั้น และประกอบกับไม่มีวิธีที่สามารถจัดการ ควบคุมความกังวลที่เกิดขึ้นได้ เช่น ความไม่มีจุดสมดุลของความคิด ไม่สามารถหาวิธีบรรเทาความเครียดได้ หรืออาจเกิดอาการวิตกกังวลรู้สึกตึงเครียดและไม่สบายใจอยู่ตลอดเวลา จนเกิดเป็นอาการป่วย และจนไปถึงเป็นโรควิตกกังวล

 

โรควิตกกังวล คืออะไร

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) คือ โรคที่บุคคลประสบอยู่ในสภาวะที่เต็มไปด้วยความกังวล ความไม่สบายใจ ความเครียดที่รุนแรงและต่อเนื่องเกินกว่าความจำเป็น ไม่สามารถจัดการกับอาการเครียดวิตกกังวลได้และสะสมเป็นระยะเวลานาน โรควิตกกังวลนี้มักเริ่มขึ้นในวัยรุ่นและคนที่ประสบอาการโรควิตกกังวลอาจเกิดกับทุกคนและทุกช่วงอายุได้ โดยมักมีความกังวลและความเครียดมีความหลากหลายตามเหตุการณ์และสถานการณ์ต่าง ๆ โดยบุคคลอาจเก็บกังวลเกี่ยวกับเรื่องการงาน การเงิน ความรัก ครอบครัว สุขภาพ ความปลอดภัย เป็นต้น

 

ต้นเหตุโรควิตกกังวล

ต้นเหตุโรควิตกกังวล

ต้นเหตุของโรควิตก หรือโรค anxiety กังวลเกิดจากปัจจัยหลายอย่างที่มีผลร่วมกัน แต่มีปัจจัยต่อไปนี้ที่อาจเป็นส่วนสำคัญในการเริ่มต้นและพัฒนาโรควิตกกังวล

  • พันธุกรรม โอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรควิตกกังวล อาจมีถ่ายทอดทางพันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวที่มีประวัติการเป็นโรควิตกกังวล โอกาสที่จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการพบโรคดังกล่าว
  • สภาวะความเครียด ความเครียดสามารถเป็นตัวต้นเหตุหรือปัจจัยที่สำคัญส่งผลให้เกิดโรควิตกกังวลได้ความเครียดที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่ท้าทายหรือยากลำบาก เช่น การเปลี่ยนงาน การเรียนการสอนที่มีความกดดันสูง ปัญหาทางครอบครัว การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก หรือเหตุการณ์ที่สร้างความกังวลในระยะยาว เป็นต้น อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดโรควิตกกังวล

 

โรควิตกกังวล อาการเป็นอย่างไร

อาการของโรควิตกกังวลอาจเกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาวนานโดยประมาณ 5-6 เดือนขึ้นไป และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวันของบุคคลที่มีอาการโรควิตกกังวล สามารถแบ่งออกเป็นอาการทางกายและอาการทางจิตใจได้ดังนี้

  1. อาการทางกาย
  • ความเหนื่อยล้าและอ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ
  • ความรู้สึกตึงที่บริเวณศีรษะ ปวดหัวหรือเวียนศรีษะเป็นประจำ
  • อาการท้องผูกหรืออาการท้องเสีย ความเครียดจะไปกระตุ้นให้การทำงานของระบบทางเดินอาหารแย่ลงได้
  • หอบเหนื่อยหายใจลำบาก ยกเว้นมีการออกกำลังอย่างหนัก

    2. อาการทางจิตใจและพฤติกรรม

  • ความกังวลและความรู้สึกวิตกกังวลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและไม่มีทีท่าว่าจะหาย
  • ความยากลำบากในการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก ไม่สามารถเลิกคิดเรื่องที่กังวลได้
  • ความตึงเครียดและข้อกังวลที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับเหตุการณ์ประจำวันที่เป็นปกติ
  • อาการนอนไม่หลับหรือนอนหลับยาก
  • ความรู้สึกเครียดมีผลกระทบที่ชัดเจนต่อความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง ครอบครัว

 

ประเภทโรควิตกกังวล

ประเภทโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลมีด้วยกันหลายประเภท แตกต่างกันไปอาการและปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค สามารถแบ่งเป็นแต่ละประเภทได้ดังนี้

 

โรควิตกกังวลทั่วไป (GAD)

โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder, GAD) เป็นประเภทที่พบมากที่สุดของโรควิตกกังวล อาการความกังวลและความรู้สึกวิตกกังวลเกิดขึ้นตลอดเวลาโดยไม่ทราบสาเหตุที่เฉพาะเจาะจง และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและการดำเนินกิจวัตรประจำวัน

 

โรคกลัวสังคม (Social Phobia)

โรคกลัวสังคม (Social Phobia) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder) เป็นหนึ่งในประเภทของโรควิตกกังวล ซี่งจะเป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีระดับความกังวลและความกลัวสูงอย่างมากในสถานการณ์ที่ต้องพบผู้คนหรือทำกิจกรรมทางสังคม ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่สบายใจและความกังวลที่รุนแรงอย่างมากเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ที่มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้คน

 

โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง (Phobia)

โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง (Phobia) ผู้ป่วยจะมีอาการวิตกกังวลกลัว โดยเฉพาะความเกรงกลัวอย่างมากต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือสถานการณ์เฉพาะ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่มักพบในชีวิตประจำวัน แต่กลายเป็นกังวลกลัวอย่างรุนแรงเมื่อเผชิญหน้ากับสิ่งเหล่านั้น โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจงสามารถแบ่งเป็นหลายประเภทได้ ซึ่งแต่ละประเภทจะมีสิ่งหรือสถานการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นความกลัวเฉพาะเจาะจงต่างกัน เช่น กลัวสัตว์ กลัวความสูง กลัวเลือด กลัวที่มืด ฯลฯ

 

โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder, OCD) เป็นโรคที่ผู้ป่วยมีความกังวลและความรู้สึกไม่สบายใจอย่างรุนแรงเกี่ยวกับความคิด (obsessions) และปฏิกิริยา (compulsions) ที่ซ้ำไปซ้ำมาเป็นระยะเวลานานและมากเกินไป ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเครียดวิตกกังวล การดำเนินกิจกรรมประจำวันอาจเสียเวลาเพิ่มขึ้น หรือการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นอาจเป็นไปได้ยากลำบากขึ้นเช่น ความกังวลเกี่ยวกับความสะอาดหรือความเรียบร้อย ความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย ความกังวลที่เกี่ยวกับความถูกต้อง หรือความกังวลเกี่ยวกับการทำให้เกิดความเสียหาย

 

โรคเครียดหลังเหตุสะเทือนใจ (PTSD)

โรคเครียดหลังเหตุสะเทือนใจ (Post-Traumatic Stress Disorder, PTSD) หนึ่งในประเภทของโรควิตกกังวล ซึ่งจะมีอาการหลังจากเกิดขึ้นหลังจากประสบการณ์ที่เป็นสะเทือนใจหรือเหตุการณ์ที่น่ากลัวและส่งผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง ซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองหรือกับผู้อื่น โดยอาจเป็นการรับรู้หรือเห็นเหตุการณ์ที่เป็นอันตราย รุนแรง หรือเป็นความทุกข์ทรมานอย่างรุนแรง ผู้ที่ประสบการณ์ PTSD อาจมีอาการหลายอย่าง เช่น การเกิดซ้ำของความคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (flashbacks) ที่ทำให้รู้สึกเหมือนกลับไปอยู่ในสถานการณ์เดิมอีกครั้ง มีอาการนอนไม่หลับหรือมีภาวะตื่นผวากลางดึก

 

โรคแพนิค (PD)

โรคแพนิค (Panic Disorder, PD) หรือโรคตื่นตระหนก เป็นโรควิตกกังวลประเภทหนึ่ง ลักษณะอาการคือ "การตกใจ" (panic attack) อย่างไม่คาดคิดและไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน โดยอาการตกใจจะเกิดขึ้นเร็วและรุนแรง ซึ่งมักมีความรู้สึกของความตื่นตกใจที่รุนแรงมากพร้อมกับอาการทางร่างกายเช่น หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อย หอบเหนื่อย หน้ามืด เหงือกตื้น ครั้นครึม หรือความรู้สึกว่ากำลังจะเสียความสติ

 

วิธีรักษาโรควิตกกังวล

รักษาโรควิตกกังวล

การรักษาโรควิตกกังวลขึ้นอยู่กับระดับของอาการและประเภทของโรค ซึ่งการรักษาโรควิตกกังวลด้วยตัวเองสามารถทำได้เช่นกันหากอาการไม่ได้รุนแรงและยังควบคุมได้ แต่เมื่อเริ่มมีอาการที่รุนแรงขึ้นและไม่สามารถจัดการได้ด้วยตนเองแล้ว การพบแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อให้แนะนำและรับการรักษาจากนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญยังเป็นสิ่งสำคัญเพื่อช่วยรักษาโรควิตกกังวลอีกด้วย วิธีการรักษาสามารถทำได้หลายวิธีและควรรักษาหลายวิธีควบคู่กันจึงจะสามารถรักษาให้หายขาดได้

 

รักษาด้วยการเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม

เป็นวิธีการรักษาโรควิตกกังวลที่เริ่มต้นได้ด้วยตนเองและจะทำให้ได้ผลในระยะยาว การรักษาโรควิตกกังวลด้วยการเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมมีหลายวิธีที่เป็นแนวทางที่ดี โดยใช้เทคนิคต่างๆ ที่เน้นการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดที่ไม่เหมาะสมและพฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

  • การจัดการความคิด เน้นไปที่การรับรู้และแก้ไขความคิดที่ก่อให้เกิดความกังวล ผ่านการทบทวนและเปลี่ยนแปลงทัศนคติเชิงลบให้กลับกลายเป็นเชิงบวก รวมถึงการใช้เทคนิคการควบคุมความคิด เช่นการพักใจลึก ๆ และการโฟกัสที่เน้นเรื่องอื่น ๆ บ้าง เพื่อคลายความกังวลที่มากเกินไป
  • การจัดการพฤติกรรม เน้นไปที่การแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล เช่น การใช้เทคนิคการควบคุมอารมณ์ เช่น การฝึกการหายใจลึก การฝึกสมาธิ หรือการใช้เทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และการใช้เทคนิคการวางแผนเพื่อจัดการสถานการณ์ที่จะก่อให้เกิดความกังวล

 

รักษาด้วยจิตบำบัด

โรควิตกกังวลสามารถรักษาได้ด้วยจิตบำบัด เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ โดยนักจิตวิทยาจะทำหน้าที่ประเมินและวิเคราะห์อาการของผู้ป่วย และพัฒนาแผนการรักษาที่เหมาะสมตามสภาวะที่ผู้ป่วยพบ วิธีการรักษาโดยใช้จิตบำบัดอาจประกอบไปด้วย การให้คำปรึกษา การใช้เทคนิคการบำบัดร่างกาย การใช้เทคนิคการสร้างสมดุลในการใช้ชีวิตประจำวันด้วยการรู้จักวางแผน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญกับสถานการณ์เหล่านั้นได้อย่างมีความสมดุลและเต็มใจ

 

รักษาด้วยยา

การรักษาโรควิตกกังวลด้วยยาสามารถใช้ยาต้านกลุ่ม SSRI (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors) มักได้รับความนิยมใช้ ยาในกลุ่มนี้ทำงานโดยการเพิ่มระดับสารสื่อประสาทเซโรโตนินในสมอง เพื่อช่วยลดอาการวิตกกังวล ซึ่งการรักษาด้วยยาต้องเป็นไปตามคำแนะนำและการวินิจฉัยของแพทย์

 

หากเป็นโรควิตกกังวล ดูแลตัวอย่างไร

 

  • จัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม ฝึกทักษะการจัดการกับความเครียดด้วยการเริ่มปรับวิธีคิดให้เป็นไปในเชิงบวก การมองปัญหาด้วยความเข้าใจและรู้จักการปล่อยวางความทุกข์ที่เกิดขึ้น
  • หากิจกรรมหรืองานอดิเรก เป็นวิธีที่ช่วยให้สมองและร่างกายของเราที่ต้องเผชิญกับความเครียด วิตกกังวลตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาในแต่ละวัน ได้ผ่อนคลายและฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจให้กลับมามีความสบายใจ และมีความสุขเป็นที่ตั้งอีกครั้ง เช่น การออกไปเที่ยว พบปะเพื่อนฝูง พักผ่อนอยู่บ้านด้วยการหาซีรีส์ดู ฟังเพลง หรือการออกกำลังกาย
  • ให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหาร รักษาสุขภาพทางกายอย่างเหมาะสมโดยการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ และลดการบริโภคสารอาหารหรือเครื่องดื่มที่อาจทำให้ความวิตกกังวลเพิ่มขึ้น เช่น คาเฟอีน แอลกอฮอล์

 

แต่อย่าลืมว่าการดูแลตัวเองเป็นเรื่องสำคัญในการรักษาโรควิตกกังวล แต่หากคุณมีอาการรุนแรงหรือมีผลกระทบในชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิตเพื่อขอคำปรึกษาและการรักษาที่เหมาะสม

 

สรุปเรื่องโรควิตกกังวล

ในปัจจุบัน โรควิตกกังวลเป็นหนึ่งในภาวะสุขภาพจิตที่พบบ่อยที่สุดในทั่วโลก ในแต่ละมีจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะว่ามีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น การเพิ่มขึ้นของการแสดงอาการวิตกกังวล ความสับสนและความไม่แน่ใจในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แรงกดดันจากการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคม และสภาวะภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน เป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความสุขของบุคคลนั้น ๆ การรักษาโรควิตกกังวลสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรม อาจรวมถึงการใช้ยาต้านเพื่อลดอาการวิตกกังวล นอกจากนี้ การดูแลตัวเองในด้านการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่เหมาะสมและสมดุลย์ การนอนพักผ่อนเพียงพอ และการหาเวลาสำหรับความสุขและผ่อนคลายก็มีความสำคัญในการรักษาโรควิตกกังวล หากมีอาการรุนแรงหรือมีผลกระทบในชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิตเพื่อขอคำปรึกษาและรับการรักษาที่เหมาะสม

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา