เงินสํารองฉุกเฉิน ทำไมต้องมี? ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินเท่าไหร่จึงจะพอ

GUEST1649747579

ขีดเขียนดีเด่น (374)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:700
เมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 18.28 น.

เงินสำรองฉุกเฉิน

 

เงินสํารองฉุกเฉิน เงินเก็บอีกก้อนหนึ่งที่ใครหลาย ๆ คนอาจยังไม่รู้จัก หรือไม่เคยคิดจะเก็บเงินสํารองฉุกเฉินมาก่อน เนื่องจากไม่แน่ใจว่าเงินสํารองฉุกเฉินคือเงินอะไรกันแน่ เบื้องต้นแล้วเงินสํารองฉุกเฉินก็เป็นเงินที่เอาไว้ใช้เมื่อเราพบเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เราไม่ได้เตรียมใจจะเจอนั่นเอง

บางคนอาจไม่รู้ว่าควรจะเริ่มเก็บอย่างไร ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับเงินสํารองฉุกเฉินรวมไปถึงแนะนำแนวทางการเก็บเงินสํารองฉุกเฉินที่แม้เป็นผู้เริ่มต้นก็ทำตามได้ไม่ยาก

และสำหรับใครที่รู้จักเงินสํารองฉุกเฉินอยู่แล้ว เราจะพาคุณไปดูวิธีการเก็บเงินสํารองฉุกเฉินแบบเข้าใจง่าย ทำตามได้ทันที เพื่อให้คุณสามารถเก็บเงินสํารองฉุกเฉินได้ตรงเป้าอย่างที่คิดไว้ และมีเงินสํารองฉุกเฉินมากพอในจำนวนที่เหมาะสมนั่นเอง

ถ้าพร้อมแล้วไปทำความรู้จักกับเงินสํารองฉุกเฉินกันเลย

 


 

เงินสำรองฉุกเฉิน คืออะไร

 

เงินสำรองฉุกเฉินคือเงินที่เอาไว้ใช้ในยามที่เกิดเหตุฉุกเฉินหรือเหตุไม่คาดฝันต่าง ๆ ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น 

 

  • การเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ทำให้คุณต้องหยิบเงินสํารองฉุกเฉินมาจ่ายทดแทน 
  • การรู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ที่ไม่เคยทราบมาก่อนก็อาจต้องใช้เงินสํารองฉุกเฉินแทนที่จะนำเงินใช้จ่ายทั่วไปมาจ่ายค่ารักษา
  • เศรษฐกิจตกต่ำอย่างคาดไม่ถึง จนเงินที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันไม่เพียงพอ ก็อาจต้องใช้เงินสํารองฉุกเฉินที่เก็บเอาไว้
  • การออกจากงานกะทันหัน ทำให้สูญเสียรายได้โดยไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน เงินสํารองฉุกเฉินก็จะเข้ามาช่วยตรงนี้ได้
  • การเกิดเหตุโรคระบาด อย่างเช่นในช่วงสถานการณ์โควิด ที่ทำให้นอกจากเศรษฐกิจจะตกต่ำแล้ว บางคนก็ไม่อาจออกไปทำงานได้อย่างที่เคยทำมาก่อน หรือถูกลดการทำงานลง
  • ต้องซ่อมรถ ซ่อมบ้าน หรือซ่อมเครื่องใช้อย่างกะทันหัน เงินปกติไม่เพียงพอแต่จำเป็นจะต้องแก้ไขแล้ว ก็อาจต้องเลือกใช้เงินสํารองฉุกเฉินเช่นกัน

จะเห็นได้ว่ามีหลายสาเหตุมากที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน จนเราต้องหยิบเงินสํารองฉุกเฉินมาใช้ ดังนั้นการมีเงินสํารองฉุกเฉินเอาไว้ก่อนก็ย่อมช่วยให้เรามีความมั่นคงในชีวิตมากยิ่งขึ้น

การออมเงินเพื่อสำรองฉุกเฉิน คือการออมเงินโดยที่จะเก็บเงินส่วนนี้ไว้ใช้สำหรับเงินสํารองฉุกเฉินโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีลักษณะสำคัญคือเงินออมตรงส่วนนี้จะต้องหยิบมาใช้ได้อย่างปัจจุบันทันด่วน ไม่เกิน 1-2 วัน เรียกได้ว่าควรจะมีสภาพคล่องสูง เพราะจะสามารถหยิบเงินสํารองฉุกเฉินมาใช้ในยามฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที 

ตัวอย่างสำหรับการออมเงินเพื่อสำรองฉุกเฉินเช่น การออมเงินสํารองฉุกเฉินในบัญชีออมทรัพย์ การออมเงินสํารองฉุกเฉินด้วยการลงทุนตราสารหนี้ และการออมเงินสํารองฉุกเฉินในกองทุนรวม เป็นต้น

 


 

เงินสำรองฉุกเฉิน สำคัญอย่างไร

 

เราทำความรู้จักกับเงินสํารองฉุกเฉินกันไปแล้วว่าคืออะไร ใช้ในเหตุการณ์อะไรได้บ้าง ดังนั้นเมื่อมาทำความรู้จักว่าเงินสํารองฉุกเฉินสำคัญอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร ก็สามารถเข้าใจได้ไม่ยากเลย

เนื่องจากเงินสํารองฉุกเฉินมีเพื่อใช้ในเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ที่อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้นเงินสํารองฉุกเฉินจึงเป็นเหมือนหลักประกันความปลอดภัยและความมั่นคงของเราในอนาคตว่า ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันใด ๆ เราก็จะยังใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ ไม่ได้รับผลกระทบมากจนเกินไป

เงินสํารองฉุกเฉินจึงเป็นเงินที่จะช่วยให้เรามั่นใจในอนาคตของตัวเองและครอบครัวได้มากขึ้น แม้จะเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ก็จะยังมีเงินมากพอที่จะเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ เช่นการจ่ายค่าบ้าน การจ่ายค่าเทอมให้บุตรหลาน เพราะไม่มีใครรู้ว่าเหตุฉุกเฉินจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ การปลอดภัยไว้ก่อนด้วยเงินสํารองฉุกเฉินจึงเป็นสิ่งจำเป็น

นอกจากการมีเงินสํารองฉุกเฉินจะช่วยให้เราอุ่นใจและไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับอนาคตมากจนเกินไปแล้ว ก็ยังเป็นเงินที่จะช่วยให้เรากลับมาตั้งหลักได้เร็วยิ่งขึ้น หรือช่วยให้เราได้พักสักระยะหลังเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ อกด้วย ดังนั้นเงินสํารองฉุกเฉินจึงมีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างมากต่อทุก ๆ คน

 


 

เงินสำรองฉุกเฉิน ต้องมีเท่าไหร่ถึงจะพอ

 

เงินสำรองฉุกเฉินควรมีเท่าไหร่ เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ใครหลาย ๆ คนก็อยากที่จะทราบคำตอบ ซึ่งหากจะคิดว่าตนเองควรมีเงินสํารองฉุกเฉินเท่าไหร่นั้น ก็จะต้องแบ่งออกไปอีกว่าโดยปกติแล้วทำงานอะไร มีความมั่นคงมากแค่ไหน

โดยทั่วไปแล้วจำนวนของเงินสํารองฉุกเฉินที่ควรมีคือ 3-6 เท่าของรายจ่าย เช่น หากมีรายจ่ายอยู่ที่ 11,000 บาท ก็ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 33,000 บาท แต่ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น เนื่องจากประเภทงานที่คุณทำก็จะส่งผลต่อจำนวนเดือนที่คุณควรเก็บเงินเอาไว้ให้มากพอใช้จ่ายด้วย ได้แก่

 

  • หากคุณทำงานข้าราชการ ซึ่งมีความมั่นคงสูง แม้เกิดเหตุไม่คาดฝันก็จะไม่กระทบมากนัก ก็อาจเก็บเงินสํารองฉุกเฉินเผื่อไว้ประมาณ 1-2 เดือน ซึ่งจะกลายเป็น 33,000-66,000 บาท
  • หากคุณทำงานประจำทั่วไป ซึ่งมีความมั่นคงรองลงมา แต่ยังมีรายได้ที่เท่า ๆ กันในทุก ๆ เดือน ก็ควรเก็บเงินสํารองฉุกเฉินเผื่อไว้ประมาณ 3-6 เดือน ซึ่งจะกลายเป็น 99,000-198,000 บาท
  • หากคุณทำงานฟรีแลนซ์ ซึ่งในแต่ละเดือนจะมีรายรับที่ไม่เท่ากัน บางเดือนได้มาก บางเดือนเงียบเหงาได้น้อยลง ก็จะต้องมีเงินสํารองฉุกเฉินมากขึ้น เผื่อไว้ใช้ในบางเดือนที่ไม่เพียงพอด้วย คือเผื่อไว้ประมาณ 6-12 เดือน ซึ่งจะกลายเป็น 198,000-396,000 บาท

 


 

วิธีเก็บเงินสำรองฉุกเฉินอย่างง่าย

 

เมื่อรู้แล้วว่าควรเก็บเงินสํารองฉุกเฉินของตัวเองประมาณเท่าไหร่ สิ่งต่อไปที่ควรรู้ก็คือวิธีการเก็บเงินสํารองฉุกเฉินให้ได้ตามที่วางแผนเอาไว้ หรืออย่างน้อยที่สุดก็มีความใกล้เคียงกับที่เราวางแผนเอาไว้ โดยแบ่งออกได้เป็น 4 วิธี

 

1.รู้รายได้ของตัวเอง

 

การจะเก็บเงินสํารองฉุกเฉินให้ได้ผล สิ่งแรกที่ควรทำคือการรู้รายได้ของตัวเองก่อนว่าเรามีรายได้ประมาณไหน และจะได้วางแผนเก็บเงินในแต่ละเดือนต่อไปได้ รวมไปถึงการคำนวณว่าจะสามารถแบ่งเงินจากรายได้มาเพื่อเป็นเงินสํารองฉุกเฉินได้ประมาณเท่าไหร่ หรือรายได้ในปัจจุบันนี้เพียงพอหรือไม่

 

2.หัดเก็บเงินให้เป็นนิสัย

 

สิ่งสำคัญที่จะทำให้เก็บเงินสํารองฉุกเฉินได้จริงคือการฝึกเก็บเงินให้เป็นนิสัย โดยอาจเลือกใช้ตัวช่วยเก็บเงินรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำบัญชีรายรับรายจ่าย การใช้แอปพลิเคชัน หรือการใช้เทคนิคเก็บเงินต่าง ๆ โดยเลือกวิธีที่เหมาะกับคุณมากที่สุด เพื่อให้สามารถเก็บเงินได้อยู่นั่นเอง

 

3.เพิ่มรายได้

 

เมื่อรู้แล้วว่ามีรายได้เท่าไหร่และควรมีเงินสํารองฉุกเฉินเท่าไหร่ สำหรับบางคนอาจจะมองว่ารายได้ ณ ปัจจุบัน ยังไม่เพียงพอ หรือยากเกินไปที่จะเก็บเงินสํารองฉุกเฉินได้ ดังนั้นการเพิ่มรายได้จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เก็บเงินสํารองฉุกเฉินได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

4.จัดการค่าใช้จ่ายให้เป็น

 

นอกจากการเพิ่มรายได้แล้ว อีกวิธีที่เห็นผลจริงคือการลดรายจ่ายเพื่อนำมาเป็นเงินสํารองฉุกเฉินนั่นเอง โดยการจัดการค่าใช้จ่ายให้เป็นคือการแบ่งความสำคัญของรายจ่ายว่ารายจ่ายใดไม่สามารถลดได้ และรายจ่ายใดที่ต่อให้ลดลงไปบ้างก็ไม่กระทบชีวิตประจำวัน แต่ต้องไม่ลืมซื้อความสุขให้ตัวเองด้วย การเคร่งครัดมีวินัยเป็นเรื่องดีแต่อย่ากดดันมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้คุณล้มเลิกการเก็บเงินสํารองฉุกเฉินได้ในอนาคต

 


 

สรุปการเก็บเงินสํารองฉุกเฉิน

 

การออมเพื่อสำรองฉุกเฉินจึงเป็นการออมที่สำคัญที่ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร มีช่วงอายุเท่าไหร่ก็ควรฝึกเก็บเงินสํารองฉุกเฉินเอาไว้จนเป็นนิสัย แต่ในวัยทำงานอาจเป็นวัยที่การเก็บเงินสํารองฉุกเฉินเข้ามามีบทบาทมากที่สุด เนื่องจากคุณเป็นผู้รับผิดชอบการหารายได้และการใช้จ่ายทุกอย่างทั้งของตัวเอง และบางคนก็ต้องดูแลค่าใช้จ่ายของครอบครัวด้วยอย่างเต็มที่

โดยการเก็บเงินสํารองฉุกเฉินจะช่วยให้ชีวิตของคุณมีความมั่นคงมากขึ้น และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ แม้จะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันอะไรขึ้นก็ตาม ซึ่งจำนวนเงินสํารองฉุกเฉินที่ควรมีก็จะแตกต่างกันไปตามการใช้จ่ายแต่ละเดือนของแต่ละคนและอาชีพการงานที่ทำว่ามีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน

หากเป็นผู้ที่มีค่าใช้จ่ายรายเดือนมาก ก็จะต้องเก็บเงินสํารองฉุกเฉินมากขึ้นไปด้วย และหากเป็นคนที่อาชีพที่ทำไม่ค่อยมั่นคงการเก็บเงินสํารองฉุกเฉินก็จะมากกว่าคนอื่น ๆ เนื่องจากมีโอกาสเกิดเหตุไม่คาดฝันได้ง่ายกว่า และอาจต้องหยิบเงินสํารองฉุกเฉินมาใช้บ่อยกว่านั่นเอง

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา