เงินสํารองฉุกเฉินคืออะไร จำเป็นแค่ไหน ควรมีเท่าไหร่จึงจะวางใจได้?

GUEST1649747579

ขีดเขียนดีเด่น (374)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:700
เมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 12.18 น.

เงินสํารองฉุกเฉิน เงินก้อนสำคัญที่หลาย ๆ คนอาจมองข้ามไป เพราะค่าครองชีพในยุคปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้การเก็บเงินสํารองฉุกเฉินถูกลดความสำคัญลงมา เพราะบางคนก็มองว่ายังไม่ใช่เหตุจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องรีบทำ การนำเงินไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและให้รางวัลตัวเองสำคัญกว่า

แต่แท้จริงแล้วการออมเพื่อสำรองฉุกเฉินเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ขึ้นมาจริง ๆ เจ้าเงินสํารองฉุกเฉินก้อนนี้เองที่จะช่วยให้คุณมีความมั่นคงทางการเงินมากพอ และสามารถก้าวข้ามสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้นไปได้ ตัวอย่างเช่นเหตุการณ์ที่โรคระบาดโควิด 19 ที่ได้ผ่านพ้นไปเมื่อไม่นานมานี้ ก็เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เงินสํารองฉุกเฉินเข้ามามีบทบาทสำคัญ

แล้วเงินสํารองฉุกเฉินคืออะไร จะเข้ามาช่วยพาคุณผ่านสถานการณ์อันยากลำบากเหล่านั้นไปได้อย่างไร ถ้าจะเก็บเงินสํารองฉุกเฉินควรเก็บให้ได้เท่าไหร่ สามารถหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันได้ในบทความนี้

 

พามาทำความรู้จักกับ “เงินสำรองฉุกเฉิน”

เงินสํารองฉุกเฉินเป็นอีกหนึ่งเงินเก็บสำคัญที่จะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับชีวิตของคุณ ทั้งเพิ่มความมั่นคงทางการเงินและช่วยพาคุณผ่านสถานการณ์ยากลำบากที่ไม่คาดคิดไปได้อย่างเหลือเชื่อ เจ้าเงินสํารองฉุกเฉินนี้เองจึงเป็นเงินเก็บอีกประเภทหนึ่งที่คุณควรทำความรู้จักเอาไว้

 

เงินสำรองฉุกเฉิน คืออะไร

เงินสำรองฉุกเฉินคือเงินเก็บที่มีไว้ใช้เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินอันเป็นสถานการณ์เร่งด่วนที่ต้องสามารถหยิบเงินสํารองฉุกเฉินออกมาใช้ได้ในทันที หรืออย่างน้อยก็ต้องไม่เกินระยะเวลา 1-2 วัน เพื่อให้สามารถผ่านสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นไปได้

ตัวอย่างสถานการณ์ที่ต้องใช้เงินสํารองฉุกเฉินได้แก่

  • การเกิดอุบัติเหตุทำให้ต้องเข้าโรงพยาบาลกะทันหัน
  • ป่วยเป็นโรคที่ไม่คาดฝันจนต้องเข้าโรงพยาบาล
  • รถเสีย หรืออุบัติเหตุทางรถ จนต้องนำรถไปซ่อม
  • ตกงานโดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า ไม่ได้เตรียมใจไว้
  • เกิดโรคระบาดทำให้ใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้
  • เศรษฐกิจตกต่ำจนเงินที่มีในปัจจุบันไม่พอใช้

ดังนั้นการออมเงินเพื่อสำรองฉุกเฉิน คือการออมเงินที่มีสภาพคล่องทางการเงินสูง โดยเงินสํารองฉุกเฉินจะต้องสามารถหยิบออกมาใช้ได้อย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันต่าง ๆ และจะต้องมีจำนวนเพียงพอครอบคลุมค่าใช้จ่ายของสถานการณ์เหล่านั้นโดยไม่กระทบกับเงินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

 

เหตุผลที่ควรเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน

เมื่อคุณรู้แล้วว่าเงินสํารองฉุกเฉินคืออะไร คำถามต่อมาที่หลาย ๆ คนอยากรู้คำตอบก็คงจะหนีไม่พ้นแล้วเงินสํารองฉุกเฉินนี่มันสำคัญอย่างไร มีเหตุผลอะไรบ้างที่เราควรเก็บเงินสํารองฉุกเฉิน เพราะเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ที่ยกตัวอย่างมาก็ดูไม่ได้เป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นกันบ่อย ๆ ดังนั้นการรู้ว่าเงินสํารองฉุกเฉินมีประโยชน์อย่างไร และสำคัญอย่างไร ก็จะช่วยตอบคำถามให้กับคุณได้

 

เงินสำรองฉุกเฉิน สำคัญอย่างไร

ความสำคัญของเงินสํารองฉุกเฉินที่เห็นได้ชัดมีหลายประการ ได้แก่

  • เงินสํารองฉุกเฉินช่วยให้คุณมีเงินมาหมุนเวียน และมีเงินเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิต ในสถานการณ์ที่ขาดรายได้ หรือเกิดเศรษฐกิจตกต่ำจนใช้ชีวิตได้ยาก ทำให้คุณผ่านพ้นช่วงเวลาเหล่านั้นได้ จนถึงวันที่สถานการณ์ต่าง ๆ ดีขึ้น
  • เมื่อมีเงินสํารองฉุกเฉิน แม้จะเกิดอุบัติเหตุหรือเกิดโรคร้ายแรงที่ไม่คาดฝันมาก่อนก็อุ่นใจได้ว่าทั้งคุณและครอบครัวจะมีเงินมากเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตระหว่างการรักษาตัว และมีเงินมากพอเพื่อให้มีระยะการพักฟื้นที่เหมาะสม
  • เงินสํารองฉุกเฉินทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ต้องซ่อมรถ ซ่อมบ้าน ก็มีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายเหล่านั้นและไม่มากระทบรายจ่ายทั่วไปในชีวิตประจำวันที่ต้องจ่ายเป็นประจำ
  • การมีเงินสํารองฉุกเฉินทำให้เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ก็ไม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินใคร คุณสามารถข้ามผ่านมันไปด้วยตนเองได้เลย

จะเห็นได้ว่าเงินสํารองฉุกเฉินมีประโยชน์มากมายและสำคัญมาก ๆ หากคุณอยากจะมีความมั่นคงในชีวิต แม้ว่าคุณจะมองว่าอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นได้ยาก แต่ในยามที่มันเกิดขึ้นคุณจะไม่มีเวลาได้เตรียมตัวหรือเตรียมเงินเพื่อรับมือมันเลย ดังนั้นเงินสํารองฉุกเฉินจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญและช่วยแก้ปัญหาให้คุณได้ทันที

 

ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินเท่าไหร่ถึงจะพอ

Alt: เงินสำรองฉุกเฉินควรมีเท่าไหร่

เงินสำรองฉุกเฉินควรมีเท่าไหร่ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามสำคัญ เพราะต่อให้มีเงินสํารองฉุกเฉินเก็บเอาไว้แล้ว แต่ถ้ามีเงินสํารองฉุกเฉินไม่พอก็ไม่มีความหมาย ดังนั้นการรู้จำนวนเงินสํารองฉุกเฉินที่ควรมี และพยายามตั้งเป้าหมายเพื่อเก็บเงินสํารองฉุกเฉินให้ได้ใกล้เคียงกับจำนวนที่คุณคาดหวังเอาไว้ให้มากที่สุดจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

การคำนวณเงินสํารองฉุกเฉินของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป เนื่องจากคนเรามีภาระทางการเงินไม่เท่ากัน หากลองดูปัจจัยคร่าว ๆ จะเห็นได้ว่าโดยส่วนใหญ่ภาระทางการเงินจะประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายเหล่านี้

  • ค่าที่อยู่อาศัย โดยอาจเป็นการผ่อนหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ
  • ค่าอาหารในแต่ละเดือน
  • ค่าสาธารณูปโภคอย่างค่าน้ำค่าไฟ
  • ค่าผ่อนรถสำหรับผู้ที่มีรถยนต์
  • ค่าน้ำมันสำหรับผู้ใช้รถ
  • ค่าเดินทางสำหรับผู้ที่เดินทางด้วยรถสาธารณะอื่น ๆ
  • ค่าอินเตอร์เน็ตบ้าน
  • ค่าอินเตอร์เน็ตของโทรศัพท์

 

ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ของแต่ละคนก็อาจมีตัวเลขที่แตกต่างกันไป ดังนั้นจุดสำคัญคือการคำนวณค่าใช้จ่ายดังกล่าวของตนเองแล้วเก็บให้ได้ 3-6 เท่าจากตัวเลขนั้นหากคุณเป็นพนักงานเงินเดือน หรือ 6-12 เท่าจากตัวเลขนั้นหากคุณเป็นฟรีแลนซ์ เนื่องจากเงินสํารองฉุกเฉินควรมีเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่ 3 เดือน ไปจนถึง 12 เดือน ขึ้นอยู่กับความมั่นคงและโอกาสเสี่ยงที่จะต้องใช้เงินสํารองฉุกเฉินก้อนดังกล่าว

การที่ฟรีแลนซ์ต้องเก็บเงินสํารองฉุกเฉินให้เพียงพอสำหรับการอยู่หลายเดือนกว่าการทำงานประจำเพราะฟรีแลนซ์มีโอกาสที่จะต้องใช้เงินสํารองฉุกเฉินมากกว่า และมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งหากคุณทำงานที่มีความมั่นคงอย่างข้าราชการก็อาจเก็บเงินสํารองฉุกเฉินน้อยกว่านี้ได้เช่นกัน แต่ถึงอย่างนั้นการเก็บเงินสํารองฉุกเฉินให้ได้อย่างน้อย 3 เดือนก็จะช่วยให้คุณมีความมั่นคงทางการเงินสูงขึ้น และอุ่นใจมากกว่า

ทว่าในสถานการณ์ที่ผิดปกติร้ายแรงอย่างเช่นในกรณีของสถานการณ์โควิด ความต้องการใช้เงินสํารองฉุกเฉินอาจเพิ่มสูงขึ้นมากแล้วการเก็บเงินสํารองฉุกเฉินตามปกติที่ 3-6 เดือนอาจไม่เพียงพอ ดังนั้นการเก็บให้ได้อย่างน้อย 6-8 เดือนอาจสร้างความมั่นใจได้มากกว่า เมื่อคำนึงถึงภาวะโรคระบาดและภาวะสงครามที่เกิดขึ้นหลายครั้งในปัจจุบัน

ตัวอย่างการคำนวณเงินสํารองฉุกเฉินเช่น

  • ค่าเช่าคอนโดเดือนละ 6,000 บาท
  • ค่าเดินทางเดือนละ 3,500 บาท
  • ค่าอาหารเดือนละ 10,000 บาท
  • ค่าอินเตอร์เน็ตโทรศัพท์ 500 บาท

 

จะได้เป็นจำนวนเงินค่าใช้จ่ายต่อเดือนรวมทั้งหมด 20,000 บาท ดังนั้นหากจะเก็บเงินสํารองฉุกเฉินให้เพียงพอต่อ 6 เดือนก็ควรจะมีเงินสํารองฉุกเฉินทั้งสิ้น 120,000 บาทนั่นเอง

 

เงินสํารองฉุกเฉินเริ่มเก็บเองได้ไม่ยาก

เงินสํารองฉุกเฉินก็คือเงินที่เราควรจะมีเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝัน โรคระบาด หรือตกงาน ดังนั้นเงินสํารองฉุกเฉินควรเป็นเงินที่มีสภาพคล่องสูงสามารถโอนถ่ายออกมาเพื่อใช้จ่ายในสถานการณ์นั้น ๆ ได้ไม่ยาก

โดยการคำนวณเงินสํารองฉุกเฉินของแต่ละคนจะแตกต่างกันไปตามภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของบุคคลนั้น ๆ นำไปคูณกับจำนวนเดือนที่ควรจะเก็บให้พอใช้ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามโอกาสที่จะได้ใช้เงินสํารองฉุกเฉินอีกทีหนึ่ง นั่นคือคนที่มีความมั่นคงมากก็อาจเก็บเพียง 3 เดือน ในขณะที่คนที่มีความมั่นคงน้อยกว่าก็อาจจะเก็บตั้งแต่ 6 เดือนไปจนถึงมากกว่า 1 ปี

โดยการเก็บเงินสํารองฉุกเฉินให้ได้จำนวนที่เพียงพอหรือใกล้เคียงที่สุด อย่างแรกที่คุณควรทำคือการคำนวณเงินสํารองฉุกเฉินที่คุณต้องการเก็บเสียก่อน แล้วจึงนำเป้าหมายนั้นมาวางแผนการเก็บเงินเพื่อให้สามารถแบ่งจำนวนเงินและเลือกวิธีการเก็บเงินที่เหมาะสมกับตัวคุณเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในปัจจุบันการเก็บเงินสํารองฉุกเฉินง่ายขึ้นมาก เนื่องจากมีแอปพลิเคชันหรือบัญชีรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถแบ่งเงินสํารองฉุกเฉินออกจากค่าใช้จ่ายปกติได้ ได้ดอกเบี้ยสูงและยังมีสภาพคล่องทางการเงินสูงอีกด้วย ดังนั้นหากคุณเลือกใช้ตัวช่วยเหล่านั้น การเก็บเงินสํารองฉุกเฉินให้ได้ตามเป้าก็จะไม่ใช่เรื่องท้าทายอีกต่อไป

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา