5 ขั้นตอนวางแผนการเงิน ให้ทุกความฝันล้วนเป็นไปได้

GUEST1649747579

สุดยอดขีดเีขียน (463)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:837
เมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 13.07 น.

5 ขั้นตอนวางแผนการเงิน

 

เนื่องจากความไม่แน่นอนของสภาพเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ รวมถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดต่าง ๆ ในชีวิต ทำให้การบริหารรายได้-ค่าใช้จ่าย, การเก็บออม, การลงทุน รวมไปจนถึงการจัดการความเสี่ยงทางการเงินต่าง ๆ ควรที่จะได้รับการวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันไม่ให้ขาดสภาพคล่องทางการเงินหรือเกิดภาระหนี้สินสะสมที่จะส่งผลต่อเส้นทางชีวิตในอนาคต นอกจากนี้การวางแผนการเงินยังทำให้บรรลุเป้าหมายชีวิตได้อย่างราบรื่นอีกด้วย

ดังนั้นเพื่อให้ผู้คนได้เข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินมากยิ่งขึ้นและสามารถวางแผนการเงินได้อย่างเป็นลำดับขั้น เราจึงได้รวบรวมข้อมูลสำคัญต่าง ๆ มาไว้ที่นี่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการวางแผนการเงิน, เหตุผลที่ควรวางแผนการเงิน และตัวอย่างการวางแผนการเงินในแต่ละช่วงวัย

 

1. จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

 

วางแผนการเงินด้วยบัญชีรายรับรายจ่าย

 

การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายนับเป็นขั้นตอนพื้นฐานสำหรับการวางแผนการเงินเลยก็ว่าได้ เพราะไม่เพียงแค่จะช่วยให้รู้สถานะทางการเงินของตัวเองได้จากการแจกแจงข้อมูลรายรับรายจ่ายในบัญชีที่จัดทำขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้สามารถมองเห็นรายจ่ายซึ่งอาจไม่จำเป็นได้อย่างเด่นชัดยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดการพิจารณาและทบทวนความจำเป็นของค่าใช้จ่ายตรงส่วนนั้นมากขึ้น นอกจากนี้บัญชีรายรับ-รายจ่ายยังจำเป็นต่อการทำงบดุลเพื่อบริหารจัดการสินทรัพย์และภาระหนี้สินให้มีความสมดุลกันหรือมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในชีวิต ณ ช่วงเวลานั้น ๆ อีกด้วย

 

2. เพิ่มความชัดเจนของเป้าหมายชีวิต

 

วางแผนการเงินด้วยเป้าหมาย

 

ชีวิตของแต่ละคนนั้นมีเส้นทางที่ใฝ่ฝันหรือเป้าหมายอยู่มากมายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการมีชีวิตที่มั่นคง, การมีบ้านสักหลัง, การซื้อรถยนต์ไว้ขับสักคัน หรือการได้ท่องเที่ยวต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งเป้าหมายต่าง ๆ เหล่านี้เราทุกคนล้วนรู้กันดีว่าจำเป็นต้องใช้เงินไม่น้อยเลย ดังนั้นการที่จะบรรลุเป้าหมายในชีวิตตามต้องการจึงควรวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ 

แต่ก่อนที่จะสามารถวางแผนการเงินที่มีประสิทธิภาพได้ก็จำเป็นต้องแปลงเป้าหมายชีวิตออกมาให้มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้นกว่าเดิม เช่น ต้องการซื้อรถยนต์หนึ่งคัน-ควรเก็บเงินให้ได้ 500,000 บาทภายในระยะเวลา 4 ปี หรือถ้าหาก ต้องการชีวิตที่มั่นคง-ควรเลือกทำประกันด้านสุขภาพและอุบัติเหตุเพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อความมั่นคงในอนาคต

ซึ่งเมื่อทำการแปลงเป้าหมายชีวิตให้มีความเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น หรือมีการระบุจำนวนเงินและระยะเวลาในการบรรลุเป้าหมายเอาไว้ จะช่วยให้สามารถมองเห็นถึงแนวทางการบรรลุเป้าหมายชีวิตได้อย่างชัดเจน

 

3. เสาะหาสิ่งที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมาย

 

วางแผนการเงินด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงิน

 

เมื่อแปลงรูปแบบของเป้าหมายชีวิตให้มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้นหรือว่าแปลงเป็นเป้าหมายทางการเงินแล้ว ก็จะทำให้สามารถเลือกสิ่งที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายชีวิตได้อย่างเหมาะสมตามแต่ละเป้าหมายมากที่สุด โดย ‘สิ่ง’ ที่ว่ามานี้คือผลิตภัณฑ์ทางการเงินซึ่งมีอยู่หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพ, ประกันอุบัติเหตุ, ประกันทรัพย์สิน, กองทุนลดหย่อนภาษี, บัญชีเงินฝากประจำ หรือการลงทุนในผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ เป็นต้น

ซึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินทั้งหลายก็จะเหมาะสมกับเป้าหมายชีวิตที่แตกต่างกันไป ดังนี้

 

  • ประกันสุขภาพ/ประกันอุบัติเหตุ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ทำประกันมีอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือกำลังเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ 

  • ประกันทรัพย์สิน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดความเสี่ยงหรือต้องการได้รับการดูแลคุ้มครองเมื่อทรัพย์สินต่าง ๆ ของผู้ทำประกันได้รับความเสียหาย

  • กองทุนลดหย่อนภาษี เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนแบบที่ได้รับผลตอบแทนเพื่อความมั่นคงในอนาคตไปพร้อม ๆ กับการที่จะได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี

  • บัญชีเงินฝากประจำ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเก็บสะสมเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำเงินเก็บไปทำให้เป้าหมายชีวิตลุล่วงดั่งใจหวัง เช่น การซื้อของที่อยากได้, การเที่ยวในที่ที่อยากไป หรือเก็บไว้สำรองใช้ในยามฉุกเฉิน เป็นต้น เพราะนอกจากบัญชีเงินฝากประจำจะทำให้เก็บสะสมเงินได้มีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยส่งเสริมวินัยทางการเงินได้อีกด้วย

  • ลงทุนในผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบรรลุเป้าหมายชีวิตที่จำเป็นต้องใช้ระยะเวลายาวนาน ด้วยการลงทุนผลิตภัณฑ์การลงทุนซึ่งสามารถให้ผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุนได้ในระยะยาว

 

4. วางแบบแผนเพื่อบรรลุเป้าหมาย

 

วางแผนการเงินเพื่อบรรลุเป้าหมาย

 

หลังจากที่ได้พิจารณาจนรู้แล้วว่าตัวเองควรเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทใดในการบรรลุเป้าหมายทางการเงิน ขั้นตอนต่อไปก็คือวางแบบแผนการดำเนินงาน เพื่อให้เป้าหมายชีวิตนั้นสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยพิจารณาควบคู่ไปกับความพร้อมและสถานะทางการเงินเป็นรายบุคคล ซึ่งความพร้อมนี้สามารถนำฐานเงินเดือน, ค่าใช้จ่าย และภาระหนี้สิน มาคิดคำนวณกับเป้าหมายทางการเงิน เพื่อให้แปลงออกมาอยู่ในรูปแบบของงบประมาณรายเดือน แล้วจึงนำมาใช้ประกอบการวางแผนการเงิน

 

5. ติดตามความคืบหน้าของเป้าหมาย

 

ติดตามความคืบหน้าหลังวางแผนการเงิน

 

เมื่อคุณได้เริ่มต้นดำเนินการมุ่งสู่เป้าหมายตามแบบแผนที่ได้วางเอาไว้ สิ่งที่ละเลยไม่ได้ก็คือการติดตามความคืบหน้าของเป้าหมายทางการเงินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการย้ำเตือนตัวเองไม่ให้ลืมหรือวางมือจากเป้าหมาย โดยการติดตามความคืบหน้าของเป้าหมายที่ได้วางแผนการเงินไว้นั้นควรติดตามเป็นประจำทุก ๆ เดือน หรือทุกครึ่งปี ให้ตัวเองรู้ว่าสามารถดำเนินการเก็บเงินได้ตรงตามงบประมาณที่ตั้งไว้หรือไม่ และยังอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายอีกมากแค่ไหนนั่นเอง

แต่ถ้าหากว่าคุณต้องการเพิ่มความสะดวกสำหรับวางแผนการเงินและติดตามความคืบหน้าเป้าหมายมากยิ่งขึ้น แอปพลิเคชัน MAKE by KBank ถือว่าตอบโจทย์ได้ดีทีเดียว เพราะสามารถติดตามความคืบหน้าของเป้าหมายได้ง่าย ๆ ผ่านระบบ Cloud Pocket ด้วยการสร้างและออกแบบกระเป๋าเงินย่อยตามต้องการ เพื่อแบ่งเงินในบัญชีไปเก็บใส่กระเป๋าเงินย่อยที่ออกแบบตามเป้าหมายชีวิตต่าง ๆ นอกจากนี้ MAKE by KBank ยังทำให้การใช้จ่ายของคุณง่ายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการโอนจ่ายหรือติดตามรายละเอียดยอดค่าใช้จ่าย เพื่อให้สามารถวางแผนการเงินและการใช้จ่ายได้ดียิ่งขึ้น

 

ทำไมต้องวางแผนการเงิน

 

ในปัจจุบันนี้ผู้คนล้วนมีช่วงอายุที่ยืนยาวขึ้น ซึ่งยิ่งเวลาชีวิตนานมากขึ้นเท่าไหร่ก็จะเป็นต้องใช้เงินดำรงชีพมากขึ้นตามไปด้วย การวางแผนการเงินเพื่อให้มีกำลังทรัพย์เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายต่าง ๆ ภายหลังเกษียณจึงจำเป็นไม่น้อย 

นอกจากนี้ทั้งสภาพเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในอนาคตก็ไร้ซึ่งความแน่นอน ทุกสิ่งที่ไม่คาดคิดสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นโรคอุบัติใหม่, ภาวะเงินเฟ้อ, สงครามการค้าระหว่างประเทศ, ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือการขาดแคลนทรัพยากรในด้านต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้นการวางแผนการเงินที่ดีจะช่วยให้คุณสามารถรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้ได้อย่างราบรื่น

และที่สำคัญ เมื่อวางแผนการเงินเป็นอย่างดี จนมีเงินเก็บมากเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตตลอดจนบั้นปลายชีวิต คุณก็สามารถที่จะเกษียณอายุจากการทำงานได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย

 

ตัวอย่างการวางแผนการเงินแต่ละช่วงวัย

 

ผู้คนในแต่ละช่วงวัยมีความแตกต่างกันทั้งด้านวัยวุฒิ, รายได้, ภาระที่ต้องแบกรับ และสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องเผชิญ อีกทั้งประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลต่อสภาพการเงินทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้เองแนวทางวางแผนการเงินในแต่ละช่วงวัยจึงมีความแตกต่างเช่นเดียวกัน ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาอธิบายพร้อมกับยกตัวอย่างการวางแผนการเงินของ 3 ช่วงวัยให้ได้อ่านกัน

 

วางแผนการเงิน วัยเรียน

 

วางแผนการเงิน วัยเรียน

 

การวางแผนการเงินในช่วงวัยเรียนนั้นรายได้หลักส่วนใหญ่มักมาจากเงินที่ได้รับจากผู้ปกครอง เนื่องจากยังไม่สามารถที่จะหางานประจำทำได้ แต่สำหรับผู้ที่ต้องการมีรายได้อื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายส่วนตัว ก็สามารถเลือกหารายได้จากงานพาร์ทไทม์ทั่วไปหรืองานฟรีแลนซ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นงานรับถ่ายภาพ, ค้าขายออนไลน์ รวมไปถึงการเขียนนิยายลงเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยแนวทางวางแผนการเงินของผู้อยู่ในช่วงวัยเรียนควรตั้งเป้าหมายที่มีความเป็นรูปธรรม เช่น การตั้งเป้าหมายเป็นจำนวนเงิน

 

วางแผนการเงิน ฉบับมนุษย์เงินเดือน

 

วางแผนการเงิน วัยทำงาน

 

อย่างที่ทราบกันดีว่าในช่วงวัยทำงานหรือผู้ที่เป็นมนุษย์เงินเดือนนั้นจะมีรายได้หลักมาจากการทำงานประจำ แต่ถึงอย่างนั้นคุณเองก็สามารถใช้แนวทางวางแผนการเงินที่จะทำให้เงินเดือนเหล่านี้งอกเงยเป็นรายได้เสริมอีกหนึ่งทางในอนาคตได้ด้วยการลงทุนสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนกองทุนรวม, ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือการลงทุนหุ้นที่มีโอกาสเพิ่มมูลค่ามากยิ่งขึ้นในอนาคต

 

วางแผนการเงิน หลังเกษียณ

 

วางแผนการเงิน หลังเกษียณ

 

ในช่วงวัยหลังเกษียณจากการทำงานนั้นจะไม่มีรายได้หลักจากเงินเดือนอีกต่อไป ด้วยเหตุนี้เองแนวทางวางแผนการเงินในช่วงวัยทำงานจึงส่งผลสัมพันธ์ต่อการใช้จ่ายหรือการวางแผนการเงินหลังเกษียณโดยตรง ถ้าหากในวัยทำงานวางแผนการเงินมาเป็นอย่างดีก็จะทำให้การดำรงชีวิตหลังเกษียณราบรื่นเนื่องจากมีทุนทรัพย์เพียงพอต่อการใช้ชีวิต 

แต่ถ้าหากในวัยทำงานยังวางแผนการเงินมาได้ไม่ดีพอ ก็สามารถใช้แนวทางวางแผนการเงินโดยนำเงินก้อนบางส่วนที่มีอยู่ไปลงทุนสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดรายได้งอกเงยจากเงินเก็บได้เช่นกัน ซึ่งควรเลือกลงทุนสินทรัพย์ที่จะให้ผลตอบแทนได้ 5-10% ต่อปี

 

สรุป

 

การวางแผนการเงินเป็นการบริหารจัดการเงินที่ไม่เพียงแค่ชี้ให้มองเห็นถึงสถานะทางการเงินของตัวเองได้อย่างชัดเจนเท่านั้น แต่ยังช่วยให้การเงินคล่องตัวมากยิ่งขึ้นในอนาคตอีกด้วย เนื่องจากขั้นตอนวางแผนการเงินนั้นทำให้เห็นถึงลักษณะการใช้จ่ายของตัวเอง ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายส่วนที่ไม่จำเป็นและสามารถตัดออกได้ นอกจากนี้การวางแผนการเงินสามารถฝึกความมีวินัยด้านการเงินเพื่อบรรลุเป้าหมายในชีวิตตรงตามระยะเวลาที่ตั้งใจไว้ด้วยเช่นกัน

แก้ไขครั้งที่ 1 โดย GUEST1649747579 เมื่อ27 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 13.09 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา