CPM คืออะไร มีความสำคัญแค่ไหนกับการตลาดออนไลน์

GUEST1649747579

สุดยอดขีดเีขียน (439)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:801
เมื่อ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 16.14 น.

CPM คืออะไร มีความสำคัญแค่ไหนต่อตลาดออนไลน์

การตลาดออนไลน์ถือเป็นช่องทางที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากและนับว่ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้คนในยุคปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อการันตีว่าแบรนด์หรือสินค้าของเราจะมีคนรู้จักและมองเห็นเพิ่มมากขึ้นการลงสื่อแคมเปญโฆษณาจึงเป็นทางเลือกที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกใช้ ทั้งนี้เมื่อขึ้นชื่อว่าโฆษณาย่อมมีค่าใช้จ่ายที่ตามมา

CPM คือตัวแปรสำคัญที่เข้ามาเป็นรูปแบบกำหนดราคาในการโฆษณาผ่านตลาดดิจิทัล โดยวิธีการมีอยู่หลายแบบด้วยกันทั้ง CPM, CPA และ CPC สำหรับใครที่กำลังมองหาเทคนิคในการทำ CPM เรามาทำความรู้จักไปพร้อมกันในบทความนี้


 

CPM คืออะไร 

 

CPM คืออะไร? CPM ย่อมาจาก Cost Per Mille เป็นรูปแบบการกำหนดราคาในการโฆษณาผ่านการทำตลาดดิจิทัล เน้นการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ทำความเข้าใจลูกค้าและสามารถใช้เช็กผลลัพธ์ได้ว่าแคมเปญเหล่านั้นเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในระดับน่าพึงพอใจหรือไม่ 

โดยจะเป็นต้นทุนหรือเงินจำนวนหนึ่งที่ผู้ลงโฆษณาต้องจ่ายผ่านการแสดงผลหรือยอดการเข้าชมในทุก ๆ พันครั้งต่อโฆษณานั้น ซึ่งยอดต้นทุน CPM มีความแตกต่างได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นจากการกำหนดเป้าหมายแคมเปญ ตำแหน่งหรือรูปแบบของโฆษณา


 

เข้าใจ “CPM” ในการทำการตลาดออนไลน์

 

CPM คือวิธีที่นิยมใช้ในการกำหนดราคาโฆษณาผ่านตลาดดิจิทัล โดย CPM คือการตลาดออนไลน์แบบดั้งเดิมที่บริษัทซึ่งเป็นผู้ลงโฆษณาต้องจ่ายเงินผ่านการใช้สื่อแก่เจ้าของเว็บไซต์ อย่างเช่นแพลตฟอร์ม Google Ads ไม่เว้นแม้แต่ Facebook ที่ใช้โครงสร้างการกำหนดราคาแบบ CPM เช่นกัน

การคำนวณค่าใช้จ่ายแบบ CPM Calculation

ค่าใช้จ่ายแบบ CPM คำนวณอย่างไร? 

 

CPM Calculation หรือการคำนวณค่าใช้จ่ายแบบ CPM นั้นมีวิธีการอย่างไร? สูตรสำหรับหาค่าโฆษณาตามหลัก CPM คือ [ CPM x (การแสดงผล / 1,000) = เงินโฆษณา ]

ยกตัวอย่าง 100 (CPM) x (การแสดงผล 3,000,000 ครั้ง / 1,000) = 300,000 บาท

ซึ่งเราสามารถหาค่า CPM ได้จากสูตร [ CPM = เงินค่าโฆษณา x 1,000 / การแสดงผล ]

ยกตัวอย่าง CPM 100 = 300,000 x 1,000 / 3,000,000


 

CPM CPA และ CPC แตกต่างกันอย่างไร 

 

หากพูดถึงการตลาดดิจิทัลคุณอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ CPM, CPA และ CPC อยู่บ้างไม่มากก็น้อย หรือถ้ายังไม่เคยรู้จักสำหรับในหัวข้อนี้เราจะพาคุณไปลงรายละเอียดทำความเข้าใจถึงหน้าที่ ความแตกต่างและความสำคัญของสามอย่างนี้กันว่ามีส่วนช่วยวัดความสำเร็จให้แคมเปญได้อย่างไรบ้าง

CPM (Cost Per Thousand)

 

CPM คือต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการแสดงโฆษณาจากผล 1,000 ครั้ง ยกตัวอย่างให้เข้าใจโดยง่ายคือในทุก ๆ 1,000 ครั้งที่มีคนเห็นแคมเปญโฆษณาของเราจะช่วยให้เราทราบยอดจำนวนเงินที่ต้องใช้จ่ายสำหรับการแสดงผลเหล่านั้นนั่นเอง

CPA (Cost Per Acquisition)

 

สำหรับ CPA จะเกี่ยวข้องในรูปแบบของการกำหนดราคาบนตลาดออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ การคลิกลิงก์หรือแม่แต่การกรอกแบบฟอร์มต่าง ๆ โดยผู้ที่ลงโฆษณาจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่อการตอบสนองเหล่านั้นจากผู้ใช้งาน ซึ่ง CPA คือตัวชี้วัดแคมเปญโฆษณาที่แม่นยำและสำคัญต่อการตลาดแบบดิจิทัล 

นอกจากนี้แล้วยังเป็นหน่วยวัดค่าใช้จ่ายเมื่อมีผู้เข้าใช้ใหม่อีกด้วย เช่น แคมเปญมูลค่า 100 บาท หลังจากแสดงผลโฆษณาไปแล้วได้ผู้ใช้งานใหม่เพิ่มมา 10 คน เราก็จะได้ค่า CPA เป็นเท่ากับ 10 บาท

CPC (Cost Per Click)

 

Cost Per Click หรือ CPC เป็นวิธีการในการกำหนดราคาแบบดิจิทัลเพื่อเรียกเก็บเงินตามจำนวนครั้งที่มีคนคลิกโฆษณานั้น ๆ คล้ายกับค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายซึ่งข้อดีของ CPC คือช่วยให้ธุรกิจของเราสามารถติดตามผลสำเร็จต่อแคมเปญโฆษณาได้ เพราะเป็นวิธีการที่แสดงผลอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งหากไม่มีคนคลิกโฆษณาเลยคุณก็ไม่ต้องจ่ายเงินนั่นเอง


 

การทำ CPM มีข้อดีอะไรบ้าง? 

 

การทำ CPM จะช่วยปรับปรุงและสร้างความน่าเชื่อถือแก่สินค้า สร้างความคุ้นเคยและเพิ่มความไว้วางใจจากกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการเราได้มากที่สุด นอกจากนี้ CPM คือตัวช่วยสร้างความตื่นตัว แรงดึงดูดที่ดีต่อแบรนด์ให้มีการพูดถึงมากขึ้นนำไปสู่ยอดเข้าชมและยอดการขายที่เพิ่มขึ้น


 

เทคนิคการทำ CPM

 

CPM คือรูปแบบหนึ่งของการแสดงโฆษณาซึ่งมีความนิยมในการตลาดรูปแบบออนไลน์ เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและวัดผลได้ เข้าถึงผู้ใช้งานจำนวนมาก โดยจะมีการเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายตามผลของผู้เข้าชมแคมเปญโฆษณา และเพื่อให้การทำ CPM นั้นออกมามีคุณภาพมีเทคนิคอย่างไรบ้าง

เทคนิคในการทำ CPM คือ

 

ตำแหน่งโฆษณา

 

การวางตำแหน่งโฆษณาเรียกว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญว่าแคมเปญที่ลงไปนั้นจะสำเร็จหรือไม่ ซึ่งโฆษณาที่ถูกวางอยู่บริเวณด้านบนของหน้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันจะมีแนวโน้มถุกเห็นจากผู้เข้าชมได้มากกว่าโฆษณาในส่วนอื่น และตำแหน่งที่ได้รับการมองเห็นสูงก็ย่อมมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามไปด้วย แต่หากพูดกันถึงยอดผู้เข้าชมที่จะได้รับจากการลงโฆษณาตัวหนึ่งแล้วถือว่าคุ้มค่าทีเดียว

รูปแบบโฆษณา

 

รูปแบบของโฆษณาเป็นอีกปัจจัยสำคัญไม่แพ้การวางตำแหน่งโฆษณา ซึ่งรูปแบบที่แตกต่างกันย่อมส่งผลต่อการมองเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งานที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นแบนเนอร์ แบบป๊อปอัป หรือโฆษณาคั่นหน้าก่อนเข้าหน้าเว็บไซต์หลัก และอื่น ๆ ดังนั้นจึงควรพิจารณาเลือกให้เหมาะสมต่อเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมายของแคมเปญ ยกตัวอย่างเช่น รูปแบบโฆษณาที่ไม่เน้นการโต้ตอบจะเหมาะกับรูปแบบแบนเนอร์มากกว่าการใช้โฆษณาคั่นหน้าที่รบกวนผู้ใช้งานให้ตอบสนอง เป็นต้น


 

ใช้กลยุทธ์ CPM เปรียบเทียบแคมเปญได้อย่างไร

 

เราจะใช้กลยุทธ์ CPM เทียบกับแคมเปญอื่นได้อย่างไร? โดยทั่วไปแล้วการทำ CPM ในตลาดดิจิทัลมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าเทคนิคในรูปแบบอื่น ซึ่งบริษัทหรือผู้ประกอบการสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลงแต่ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นมากกว่าการทำตลาดแบบอื่น ทั้งนี้การวัดระดับของความประทับใจอาจเป็นเรื่องยากแต่ก็สามารถนับการเข้าถึงหรือความสนใจได้ผ่านการแสดงผลของโฆษณานั้น ๆ


 

วิธีตรวจสอบคุณภาพโฆษณาด้วย CPM

 

เราสามารถตรวจสอบคุณภาพโฆษณาด้วย CPM ได้โดยการหลีกเลี่ยงการกำหนดเป้าหมายที่เฉพาะกลุ่มมากเกินไป อย่างเช่น การกำหนดเป้าภูมิศาสตร์, กลุ่มประชากร หรือเครือข่ายอุปกรณ์ที่เจาะจงมากเกินไป 

สิ่งต่อมาคือการเลือกใช้สื่อโฆษณาได้สอดคล้องกับเป้าหมายและส่งผลคุ้มทุน ทั้งนี้เว็บไซต์ที่ลงแคมเปญอาจส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงของผู้ใช้งานได้ด้วยหากแพลตฟอร์มนั้นมี URL ที่เป็นตัวอักษรแปลก ๆ ทำให้อัลกอริทึมของ Google เข้าใจว่าเป็นบอท นอกจากนี้เราควรคำนึงการลงแคมเปญให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและหมั่นติดตามประวัติ CPM เพื่อเช็กคุณภาพอยู่เสมอ

CPM ย่อมาจากอะไร และมีวิธีการตรวจคุณภาพอย่างไร


 

เทคนิคการเพิ่ม CPM ROI 

 

  • การกำหนดเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ

การกำหนดเป้าหมายและเลือกใช้กลยุทธ์อย่างเหมาะสมเพื่อยิงแคมเปญโฆษณาไปหากลุ่มเป้าหมายเป็นเทคนิคเพิ่ม CPM ROI ได้อย่างดี ควรหมั่นตรวจสอบและเช็กให้แน่ใจถึงความเหมาะสมทุกครั้ง

  • ตรวจเช็กความถี่ของโฆษณา

ควรจำกัดความถี่ในการแสดงผลของโฆษณาต่อผู้ใช้งานหนึ่งคนให้ไม่ซ้ำมากเกินกว่าสามครั้ง ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการเปิดเผยที่มากเกินไปและอาจก่อความไม่สบายใจแก่ผู้ใช้งานได้

  • สร้างความประทับใจให้น่าจดจำ

อีกหนึ่งเทคนิคในการเพิ่ม CPM ROI คือการสร้างผลกระทบที่ยั่งยืนแก่ผู้เข้าชมโฆษณาโดยการเลือกใช้ภาพหรือรูปแบบที่สะดุดตาและน่าจดจำ เห็นแล้วสามารถสร้างความประทับใจได้ง่าย

  • เรียกการยอมรับจากผู้ใช้งาน

เราสามารถโน้มน้าวผู้เข้าชมให้เกิดความเชื่อถือต่อแคมเปญโฆษณาได้โดยการแสดงการรับรองจากบุคคลมีชื่อเสียง มีอิทธิพลได้รับการยอมรับจากคนหมู่มาก หรือคำรับรองจากผู้ใช้งานที่พึงพอใจ


 

คำถามที่พบบ่อย 

 

หลังจากเข้าใจกันพอสมควรแล้วว่า CPM คืออะไร มาดูกันว่ายังมีหัวข้อใดอีกบ้างที่ผู้คนมักสอบถามเกี่ยวกับ CPM

CPM แพงแก้ไขอย่างไร?

 

หาก CPM แพงเกินไป เราอาจแก้ปัญหาโดยเริ่มจากประเมินการกำหนดเป้าหมายอีกครั้ง เพิ่มประสิทธิภาพหน้าเว็บไซต์ให้น่าดึงดูดด้วยการเลือกใช้รูปภาพที่น่าสนใจและมีความเกี่ยวข้องกับตัวแคมเปญเพื่อเพิ่มโอกาสในการจดจำแก่ผู้เข้าชม และหมั่นตรวจเช็กความถี่ของการแสดงโฆษณาซ้ำต่อผู้ใช้งานคนเดิม

CPM เหมาะสมกับธุรกิจแบบใด?

 

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่อยู่ในขั้นตอนของการสร้างตัวอย่างธุรกิจใหม่ ธุรกิจที่สินค้ามีความต้องการสูง เป็นของจำเป็นและสามารถขายตัวเองได้เพียงเน้นให้ชื่อแบรนด์ หรือจะเป็นธุรกิจที่กำลังเปิดตัวผลิตภัณฑ์สินค้าใหม่ สร้างการรับรู้ให้คนรู้จักชื่อแบรนด์ล้วนเหมาะสมกับการทำ CPM ทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่นธุรกิจประเภทรถยนต์ที่เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญและมีผู้คนจำนวนมากต้องการซื้อ การทำ CPM สำหรับธุรกิจประเภทนี้จึงเพียงแค่เน้นสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำนั่นเอง


 

สรุป

 

CPM คือรูปแบบการกำหนดราคาในการโฆษณาผ่านการทำตลาดดิจิทัลที่เข้าถึงผู้คนจำนวนมาก ช่วยเพิ่มการมองเห็นโฆษณาและสามารถเช็กได้ว่าแคมเปญเหล่านั้นเกิดรายได้หรือไม่ โดย CPM จะมีรูปแบบคิดค่าใช้จ่ายโฆษณาจากทุกพันครั้งที่มีคนเข้าชม ซึ่งหากเราเข้าถึงหัวใจของการทำ CPM จะช่วยให้การกำหนดเป้าหมาย งบประมาณ และการวางแผนสำหรับทำการตลาดขั้นต่อไปมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

แก้ไขครั้งที่ 1 โดย GUEST1649747579 เมื่อ29 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 16.15 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา