5 วิธีสอนลูก ที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ เพื่อให้พวกเขามีใจสู้กับทุกสถานการณ์

waanbotan_

ขีดเขียนเต็มตัว (177)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:218
เมื่อ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2565 13.20 น.

สภาพสังคมยุคนี้มีปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดหลายอย่างด้วยกัน เช่น จำนวนประชากรที่หนาแน่นมากขึ้น  สภาพเศรษฐกิจเต็มไปด้วยการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นในวัยไหนก็มีการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา

นอกจากต้องแข่งกันในเรื่องของวิชาการเด็กยุคใหม่ยังต้องเผชิญกับการถูกรังแกหลากหลายรูปแบบ  ไม่ว่าจะทางคำพูด การกลั่นแกล้งกัน แน่นอนว่าพ่อแม่ต้องการจะปกป้องลูกจากสิ่งเหล่านี้แต่เราไม่สามารถอยู่กับเขาได้ตลอดเวลา วิธีที่ดีที่สุดจึงกลายเป็นการสร้างทักษะความใจสู้หรือทักษะการฝึกใจให้แข็งแกร่งสามารถรับมือกับความผิดหวังรวมถึงการถูกรังแกได้ดี ทั้งยังเป็นทักษะที่สามารถช่วยให้ลูกอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างเหมาะสม 

อ.ดร.กุลวดี ทองไพบูลย์ หรืออาจารย์เอ๋ นักจิตวิทยาคลินิก ดีกรีปริญญาเอกด้านจิตวิทยา (ดุษฎีบัณฑิต) จากสถาบัน The Wright Institute, Berkeley ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เคยให้ข้อมูลและข้อแนะนำเกี่ยวกับทักษะความใจสู้ หรือ Resilience (RQ) ไว้ดังนี้ 

Resilience (RQ) คือ ‘ทักษะการฝึกใจให้แข็งแกร่ง’ หรือ ‘ทักษะความใจสู้’ ถือเป็นหนึ่งในทักษะการใช้ชีวิต ซึ่งพ่อแม่ควรเริ่ม สอนลูกให้มีทักษะ RQ ตั้งแต่เด็ก เพราะจะช่วยให้สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ ในสังคมได้อย่างเหมาะสม เข้าใจความเป็นจริงของโลกใบนี้ได้ดี รู้ว่าเมื่อพบเจอความผิดหวังในวันนี้ก็ยังมีโอกาสที่จะพบเจอกับความสำเร็จหรือสิ่งที่ดีกว่าในวันหน้า ล้มแล้วลุกได้ไว ใช้หลักเหตุผลในการดำเนินชีวิตไม่ใช้อารมณ์นำจนพาชีวิตตนเองไปอยู่ในเส้นทางที่ผิด 

 

วิธีสอนลูก ให้มีทักษะ RQ หรือทักษะความใจสู้ 

 

  • สอนลูกให้เล่นกีฬาชนิดที่พวกเขาสนใจ 

 

สำหรับเด็กที่ชอบเล่นกีฬาชอบทำกิจกรรมทางร่างกายเป็นทุนเดิม  เราสามารถสอนได้ว่า เมื่อลูกเล่นกีฬาได้ไม่ดีเท่าคนอื่นที่เล่นมานานกว่าหรือฝึกฝนมาหนักกว่า ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าเขาสามารถพัฒนาตัวเองให้ไปถึงจุดที่คนอื่นอยู่หรือสูงกว่าที่คนอื่นอยู่ได้หากเขามีความพยายามและใช้เวลาฝึกฝนมากพอ เมื่อเขาแพ้ในการแข่งขัน แต่เราก็สามารถชนะได้ แค่เพียงวิเคราะห์สาเหตุของครั้งนี้ ฝึกฝน และเริ่มต้นเป้าหมายครั้งใหม่ เมื่อลูกทำสำเร็จได้รับชัยชนะกลับมาพ่อแม่ควรแสดงความชื่นชมและแสดงออกถึงความภาคภูมิใจในตัวลูกอย่างเหมาะสม 

สำหรับเด็กที่ไม่ชอบเล่นกีฬาการชักชวนพวกเขาเล่นกีฬาง่าย ๆ ถือเป็นความท้าทายหนึ่งที่จะช่วยสร้างทักษะความใจสู้ให้กับเด็ก ๆ ได้ดี เพราะเมื่อพวกเขาได้ทดลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนแล้วพบว่าที่จริงแล้วพวกเขาทำได้ดีกว่ากว่าที่คิด ก็ถือเป็นการเข้าใจชีวิตอีกอย่าง อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.milo.co.th/blog/วิธีสอนลูกให้เข้มแข็งด้วย-resilience-ผ่านกีฬา

 

 

 

วิธีสอนลูก Miloห้สู้คน สู้ชีวิตจำเป็นต้องฝึกให้ลูกมีวิสัยทัศน์ในแบบที่ควรจะเป็น เพราะหากพวกเขารู้จักการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายโอกาสที่ชีวิตของพวกเขาจะหลุดออกไปนอกเส้นทางหรือเป้าหมายที่พวกเขาวางไว้จะเป็นไปได้ยากมากขึ้น ยกตัวอย่างแบบง่าย เช่น เมื่อพ่อแม่ชวนลูกตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับการเล่นกีฬาบาสเกตบอล หลังจากลูกตั้งเป้าหมายได้แล้วให้ชวนกันวางแผนไปสู่เป้าหมายนั้น ลูกจะมีแผนการซ้อมและให้เวลากับการเล่นบาสเกตบอลมากกว่าที่จะเอาไปใช้กับเรื่องที่เขามองว่าเสียเวลา และหากมีคนใช่คำพูดสบประมาทเขาจะรู้สึกว่าต้องการพิสูจน์ตัวเองเพื่อลบคำสบประมาทมากกว่าจะรู้สึกท้อใจและล้มเลิกกลางทาง เพราะเขามีเป้าหมายและแผนการซ้อมอยู่แล้ว หากยังไม่สุดทางเด็กที่มีทักษะ RQ จะไม่ล้มเลิกง่าย ๆ อย่างแน่นอน 

 

  • สอนให้ลูกจัดการอารมณ์ของตนเองอย่างเหมาะสม 

 

การจัดการกับอารมณ์ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่พ่อแม่ควรแนะนำลูกตั้งแต่วัยเด็ก แน่นอนว่าเด็กเล็ก ๆ มักจะร้องไห้งอแงเมื่อไม่ได้ดั่งใจบ้างเป็นปกติ แต่ การสอนลูก จัดการอารมณ์ตัวเองอย่างค่อยเป็นค่อยไปคือสิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย เพราะเด็กที่จัดการอารมณ์ของตัวเองได้ดีจะเกิดทักษะ RQ ได้ง่ายกว่า

 

  • การสอนลูกให้ยืนหยัดไม่ย่อท้อ 

 

การยืนหยัดไม่ย่อท้อคือส่วนหนึ่งของทักษะ RQ ซึ่งการยืนหยัดไม่ย่อท้อต่อสิ่งใดง่าย ๆ นี้ต้องอาศัยความพยายามและความเข้าใจชีวิตระดับหนึ่งเลยทีเดียว เมื่อพ่อแม่สามารถสอนให้ลูกรู้จักการยืนหยัดไม่ย่อท้อผ่านการใช้ชีวิตประจำวันหรือแม้กระทั่งการเล่นกีฬาจะส่งผลให้ลูกสามารถดึงตัวเองกลับมาจากความรู้สึกแย่ ๆ ได้เร็วและยังมีแรงที่จะเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างแข็งแกร่ง 

 

  • สอนให้ลูกรู้จักการร่วมมือกับผู้อื่น 

 

การร่วมมือกันคืออีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรสอนให้ลูกมีไว้ตั้งแต่วัยเด็ก หากจะเปรียบเทียบกับการเล่นกีฬาก็คล้ายกับการสอนให้ลูกเล่นกีฬาเป็นทีม มีน้ำใจนักกีฬา รู้ว่าควรปฏิบัติตนอย่างไรกับคนอื่น ๆ ในสังคม และรู้จักปฏิบัติตัวให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับคนอื่น ๆ เพื่อสัมพันธภาพที่ดี หรือเพื่อผลสำเร็จอื่น ๆ ของทีมและสังคม ดูเพิ่มเติม https://www.milo.co.th/blog/resilience-ทักษะการฝึกใจให้แข็งแกร่ง



อ่านมาถึงตรงนี้จะพบว่า วิธีสอนลูก ให้มีทักษะใจสู้หรือการ สอนลูกให้สู้คน สู้ชีวิตจำเป็นต้องใช้ปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน สิ่งสำคัญสูงสุดคือพ่อแม่ต้องมีทักษะดังกล่าวเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกก่อน หากพ่อแม่สอนลูกเล่นกีฬาเพื่อความเป็นเลิศหรือพ่อแม่เน้นแต่พัฒนาการด้านวิชาการโดยไม่สนใจพัฒนาทักษะด้านการใช้ชีวิต การฝึกทักษะ RQ ก็มีโอกาสสำเร็จน้อยเต็มที

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา