ใช้เครื่องวัดความดันตรวจจับภาวะหัวใจสั่นพลิ้วเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง

hanasangg

ขีดเขียนเต็มตัว (157)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:155
เมื่อ 9 มีนาคม พ.ศ. 2561 16.26 น.

       การตรวจจับภาวะหัวใจสั่นพลิ้วนั้น สามารถตรวจเช็คเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง ด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตที่มี AFIB technology ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการตรวจวัดภาวะการเต้นของหัวใจห้องบนผิดปกติ ช่วยให้เราสามารถวัดความดันโลหิตและตรวจภาวะ AF ได้ในเวลาเดียวกัน อย่างน้อยเมื่อเราได้ทำการวัดความดันโลหิต แล้วพบว่ามีการแจ้งเตือนของภาวะ AF ซึ่งการตรวจพบภาวะ AF ได้แต่เนิ่น ๆ ก็จะทำให้เราสามารถเข้าพบแพทย์เพื่อหาทางป้องกันและรักษาได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนต่างๆที่จะตามมาได้

      ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว หรือ Atrial Fibrillation (AF) เป็นภาวะที่มีการกระตุ้นของหัวใจห้องบนแบบกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ จึงทำให้การบีบตัวของหัวใจห้องบนเสียไป ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ โดยผลแทรกซ้อนของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คือ ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดออกไปได้ลดลง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดไหลไปอุดตันในสมอง ซึ่งอาจเกิดอัมพฤกษ์และอัมพาตได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้ในที่สุด การทำให้เลือดหมุนวนตกค้างในหัวใจห้องบนสามารถก่อให้เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดสมองได้สูงกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่า ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิต

      คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตสูง  เนื่องจากไม่มีอาการใดๆ และความดันโลหิตก็ทำให้เกิดผลเสียโดยไม่ทันได้ป้องกันหรือรับการรักษา ด้วยเหตุนี้โรคความดันโลหิตสูงจึงได้รับสมญาว่า “ฆาตกรเงียบ” 

 

  

ทั้งนี้เราสามารถ ป้องกัน ควบคุมและรักษาภาวะความดันโลหิตสูงทำได้ดังนี้

  1. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมักมีน้ำหนักตัวเกินกำหนด จึงควรควบคุมอาหารและควบคุมน้ำหนัก
  2. จำกัดปริมาณเกลือในอาหาร การรับประทานอาหารเค็มสามารถทำให้ความดันโลหิตสูงได้
  3. หลีกเลี่ยงความเครียด เนื่องจากความเครียดจะทำให้เกิดการหลั่งสารเคมีและฮอร์โมนที่จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้
  4. งดสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่มีผลทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ง่ายขึ้น รวมทั้งบุหรี่ยังเพิ่มความเสี่ยงต่ออวัยวะในร่างกายร่วมกับความดันโลหิตสูงได้ ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง
  5. ออกกำลังกาย จากการศึกษาพบว่าหลังจากผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หากออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกัน 3-6 เดือนขึ้นไป จะสามารถลดความดันโลหิตลงได้
  6. งดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง
  7. ตรวจวัดความดันโลหิต สม่ำเสมอ การวัดความดันโลหิตเป็นประจำและจดบันทึกไว้
  8. การพบแพทย์และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ แจ้งแพทย์เกี่ยวกับโรคประจำตัวและยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำทุกชนิด แพทย์จะพิจารณายาลดความดันโลหิตให้แต่ละบุคคล

     

     นอกจากนี้การมีเครื่องวัดความดันระบบดิจิตอลสักเครื่องติดบ้านไว้ ซึ่งจะสะดวกกับการใช้งาน เป็นประโยชน์ในการช่วยให้แพทย์ควบคุมความดันโลหิตของท่านได้ดีขึ้น คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและดูเครื่องวัดความดันโลหิตได้ทีเว็บไซต์ http://bit.ly/samh_microlife

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา