ปรับโครงสร้างหนี้ vs รีไฟแนนซ์ หนี้เยอะเลือกแบบไหนดีกว่ากัน

waanbotan_

ขีดเขียนเต็มตัว (202)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:248
เมื่อ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2567 22.39 น.

สรุปความแตกต่างระหว่าง “ปรับโครงสร้างหนี้” และ “รีไฟแนนซ์” หากเรากำลังผ่อนบ้านหรือรถ แต่ดอกเบี้ยกู้สินเชื่อสูงเกินไป ทำให้ไม่สามารถผ่อนชำระในอัตราเดิมได้ การปิดหนี้ด้วยวิธีใดจึงจะช่วยให้หนี้เบาลง ควรอ่านข้อมูลนี้ก่อนตัดสินใจว่าแบบไหนเหมาะกับเรา

 

1.การขอปรับโครงสร้างหนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับหนี้บ้านระยะยาว 10-30 ปี ที่เป็นภาระหนักสำหรับคนมีรายได้ระดับหมื่นต้น ๆ ดอกเบี้ยจะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต เมื่อมีปัญหาเงินขาดมือ ควรรีบปรึกษาสถาบันการเงินที่เป็นหนี้อยู่ อย่าผิดนัดชำระหนี้หรือชำระล่าช้า ลูกหนี้ควรเจรจาขอปรับโครงสร้างหนี้เพื่อลดอัตราดอกเบี้ย เช่น จากผ่อนเดือนละ 20,000 บาท ลดเหลือ 5,000-10,000 บาท และกลับมาผ่อนปกติเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น

จุดเด่นของการปรับโครงสร้างหนี้ คือรวมหนี้ทั้งหมดเป็นยอดเดียวกันแล้วผ่อนจ่ายแค่ดอกเบี้ยก่อนด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเดิม ช่วยให้หาทางออกในเวลานั้นสามารถยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปอีกหน่อย นับเป็นวิธีที่เหมาะกำลังคนที่มีกำลังจ่ายหนี้ไหว แต่เพราะติดขัดปัญหาบางอย่าง เช่น ตกงานกะทันหัน หรือเกิดอุบัติเหตุ ทำให้เกิดอาการตึงมือชั่วคราวและหมุนเงินไม่ทันเวลานั้น การปรับโครงสร้างหนี้จึงเป็นคำตอบที่น่าสนใจ แต่ถ้าคนเป็นหนี้ไม่มีกำลังจะจ่ายไหวและมีปัญหาเรื่องการชำระเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การปรับโครงสร้างหนี้ไม่ใช่ทางออกแน่นอน เพราะถึงจะผ่อนจ่ายแค่ดอกเบี้ยไปก่อน แต่หนี้เงินต้นก็ยังบานปลายอยู่แบบนั้น อาจเพิ่มภาระให้มากกว่าเดิมด้วยซ้ำ

 

2.การรีไฟแนนซ์ เป็นการกู้เงินก้อนใหม่มาปิดหนี้ก้อนเดิม เรียกว่าเป็นการย้ายหนี้เก่าไปผ่อนกับสถาบันการเงินแห่งใหม่ เพื่อให้ยอดผ่อนชำระแต่ละเดือนลดลง ยกตัวอย่างง่าย ๆ กรณีที่คุณเป็นหนี้สินเชื่อบ้านหรือสินเชื่อรถยนต์ แล้วต่อมาเกิดอาการชักหน้าไม่ถึง รู้สึกว่าผ่อนต่อไปไม่ไหวแล้ว การรีไฟแนนซ์ช่วยคุณได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือรถยนต์ รวมถึงสามารถรีไฟแนนซ์ ปรับโครงสร้างหนี้บัตรเครดิต ได้ด้วย เพียงแค่ย้ายสัญญาสินเชื่อเดิมไปเป็นสัญญาประเภทใหม่ ช่วยให้เราจัดการหนี้ได้ง่ายขึ้น

จุดเด่นของการรีไฟแนนซ์คือ ช่วยยืดระยะเวลาการผ่อนนานขึ้น ทั้งยังได้ลดดอกเบี้ยถูกลงกว่าเดิม หมายความว่ายอดผ่อนชำระต่อเดือนลดน้อยลงไปด้วย เหมาะกับช่วงที่ขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างมาก

 

3.การรวมหนี้เป็นขั้นตอนหนึ่งของการปรับโครงสร้างหนี้ โดยนำสินเชื่อบ้านรวมกับสินเชื่อรายย่อยและปิดยอดหนี้บัตรเครดิตไว้ในธนาคารเดียว จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยและเพิ่มสภาพคล่อง หากรวมหนี้สำเร็จก่อนเป็นหนี้เสียจะไม่ติดแบล็กลิสต์เครดิตบูโร จุดเด่นคือมีหนี้สินที่เดียว ลดอัตราดอกเบี้ย ผ่อนจ่ายน้อยลง ชำระหนี้ง่ายขึ้น และมีสภาพคล่องมากขึ้น

 

สำหรับใครที่ต้องการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เป็นประโยชน์สำหรับคนที่มีหนี้สินเยอะ แล้วเกิดปัญหาไม่มีกำลังในการใช้หนี้คืนตามระยะเวลาที่กำหนด แนะนำให้คิดถึงการปรับโครงสร้างหนี้ สินเชื่อหรือการรีไฟแนนซ์ กู้สินเชื่อส่วนบุคคล กู้เงินด่วนได้เลย 

แก้ไขครั้งที่ 1 โดย waanbotan_ เมื่อ17 มิถุนายน พ.ศ. 2567 22.40 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา