การสร้างทีมงานแบบทีมเวิร์ค สิ่งสำคัญในการผลักดันองค์กร

Unyana

ขีดเขียนในตำนาน (760)
เด็กใหม่ (3)
เด็กใหม่ (0)
POST:1286
เมื่อ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563 23.04 น.

ทีมเวิร์ค คือการทำงานร่วมกันตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป โดยมีระบบการทำงาน มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามความถนัด สำคัญที่สุดก็คือ ทุกคนมี “ผลสำเร็จของงาน” เป็นเป้าหมายเดียวกันทั้งหมด

 

การทำงานเป็นทีมนั้นจะช่วยเพิ่มโอกาสให้องค์กรได้ผลงานที่ออกมาสมบูรณ์แบบ เนื่องจากการทำงานเป็นทีม คือ การรวบรวมผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน และร่วมช่วยกันผลักดันทีมให้สามารถผลิตงานออกมาได้ตรงตามเป้าหมาย และนี่ก็คือสาเหตุที่ทำให้องค์กรหลายแห่งนั้นต้องการที่จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้มีทีมเวิร์ค เพราะว่านอกจากจะมีโอกาสได้ผลงานที่เปี่ยมประสิทธิภาพแล้ว ก็ยังช่วยกระตุ้นให้บุคลากรนั้นเกิดพลังในการทำงาน เนื่องจากการทำงานร่วมกันเป็นทีมนั้นจะให้บรรยากาศที่ดีกว่าการแข่งขันกันทำงานและยังช่วยให้บุคลากรภายในทีมนั้นสามารถที่จะแชร์ความรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันได้ เป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับทีมไปด้วยในตัว

 

     การสร้างทีมงานนั้นยาก เพราะว่าจะต้องอาศัยหลักการและปัจจัยต่าง ๆ มากมาย แต่หลักการทำงานเป็นทีมซึ่งเป็นหัวใจหลักนั้นมีอยู่เพียงไม่กี่ข้อ หากสามารถทำตามได้อย่างเคร่งครัด ก็จะสามารถสร้าง teamwork ให้เกิดขึ้นในองค์กรได้เพราะ RS Group บริษัทของไทนที่ประกอบธุรกิจมายาวนานได้ใช้หลักการเหล่านี้ในการสร้างทีมเช่นกัน

 

  1. พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องและถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์

การทำงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบในทีมอย่างเต็มความสามารถหรือแม้กระทั่งการอาสาทำงานบางอย่างที่อาจต้องปรับเปลี่ยนเพิ่มเพื่อผลสำเร็จของงาน เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม แต่การไม่หยุดพัฒนาตัวเองและการถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่องาน ก็เป็นเรื่องน่าชื่นชมกว่า นอกจากเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับทีมและยังได้มีโอกาสแสดงศักยภาพที่แท้จริงของตนเองให้คนอื่น ๆ ได้เห็นอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น หากถึงเวลาที่เราต้องการความช่วยเหลือหรือคนรักษาการแทนบางส่วนในยามฉุกเฉิน แม้สมาชิกในทีมที่รับความรู้จากเราไปจะทำได้ไม่ดีเท่าเรา แต่งานก็จะไม่พัง ทีมยังประคองงานต่อไปได้ รอจนกว่าผู้ชำนาญงานตัวจริงจะกลับมาทำด้วยตนเอง

  1. เปิดโอกาสให้สามารถแสดงความคิดเห็นและพูดคุยได้อย่างอิสระ ภายใต้การให้เกียรติซึ่งกันและกัน

มีโอกาสที่สมาชิกในทีมอาจไม่เห็นด้วยกับอีกคนหรืออาจมองเห็นจุดอ่อนจากไอเดียของผู้นำทีม ทั้งหมดนี้องค์กรและผู้นำทีมควรให้อิสระในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งแม้กระทั่งการเปิดใจเคลียร์กันระหว่างสมาชิกในทีม แต่การแสดงความคิดเห็นและเคลียร์ใจ ต้องเป็นไปภายใต้การให้เกียรติซึ่งกันและกัน เพื่อรักษาสัมพันธภาพที่ดีภายในทีมเอาไว้ และเพื่อขจัดความบาดหมางใจที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการทำงาน

  1. เปิดใจยอมรับความแตกต่าง

สมาชิกในทีมไม่จำเป็นต้องคิดเห็นในแนวทางเดียวกันทั้งหมด ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกในทีม หรือแม้แต่ผู้นำทีม แสดงความคิดเห็นที่อาจเป็นประโยชน์ต่องานของทีมอย่างอิสระและทุกคนในทีมก็ควรรับฟังความคิดเห็นของแต่ละคนในทีมด้วยเช่นกัน เพื่อหาข้อสรุปที่ลงตัวที่สุด เลือกแนวทางที่ดีที่สุดในการมุ่งสู่ความสำเร็จร่วมกัน อย่างไรก็ตามนอกจากความคิดเห็นที่อาจแตกต่างกัน ลักษณะนิสัยและทัศนคติก็มักแตกต่างกันไปตามธรรมชาติของมนุษย์ ดังนั้นทุกคนในทีมจึงควรเปิดใจยอมรับคาแรคเตอร์เฉพาะตัวของแต่ละคนด้วย เพราะหากนิสัย หรือทัศนคตินั้น ๆ ไม่ได้มีผลเสียต่อการทำงานในทีม ก็อาจไม่จำเป็นต้องกดดันหรือพูดคุยเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จะได้ไม่เกิดบรรยากาศที่อึดอัดมากจนเกินไป

ในปัจจุบันนี้หลาย ๆ องค์กรนั้นสามารถสร้าง teamwork ที่แข็งแกร่งได้สำเร็จ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ บริษัท RS Group ซึ่งมีวัฒนธรรมองค์กรแบบ teamwork มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน หากต้องการเรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ ก็ควรหาโอกาสเข้ามาร่วมงานเพื่อเรียนรู้ และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ดี ๆ และหากอยากเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรชั้นนำ สมัครงานกับ RS ได้ที่นี่ https://www.rs.co.th/th/career/ หรือคลิกชมโฉมหน้าผู้บริหาร RS ได้ที่นี่ https://www.rs.co.th/th/เปิดตัว-ทีมผู้บริหาร-rs-ให/

 

 

แก้ไขครั้งที่ 1 โดย Unyana เมื่อ19 ตุลาคม พ.ศ. 2563 23.07 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา