EKG คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร? ทำความรู้จักให้มากขึ้นได้ที่นี่

GUEST1649747579

สุดยอดขีดเีขียน (536)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:963
เมื่อ เมื่อวาน 19.46 น.

EKG

โรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เป็นอีกสาเหตุหลักในการเสียชีวิตของคนไทย แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้มีการตรวจสอบได้หลายอย่าง เกี่ยวกับหัวใจยกตัวอย่างเช่น EKG ซึ่ง EKG  คือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งเป็นวิธีการทางการแพทย์ที่ใช้บันทึกสัญญาณไฟฟ้าที่เกิดจากการทำงานของหัวใจ เพื่อวิเคราะห์จังหวะการเต้นและตรวจหาความผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจขาดเลือด หรือภาวะหัวใจโต 

โดยเครื่อง EKG จะติดขั้วไฟฟ้าบริเวณหน้าอก แขน และขา เพื่อรับสัญญาณไฟฟ้าและแปลงเป็นกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจใช้ในการตรวจสุขภาพทั่วไปหรือเมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจเช่นเจ็บหน้าอกหรือหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ การตรวจ EKG จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาได้ทันเวลา

 

EKG คืออะไร เกี่ยวอะไรกับสุขภาพ?

แน่นอนว่าหากรู้จักเกี่ยวกับการตรวจต้องพอทราบเกี่ยวกับ EKG มาบ้าง โดยหลักการแล้ว EKG คือ การตรวจคลื่นหัวใจเป็นเทคนิคที่ใช้วัดและบันทึกกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจผ่านขั้วไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า Electrodes ผ่านการติดบนร่างกายและปกติแล้วสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้ถูกส่งผ่านไปยังเครื่องบันทึกและแสดงผลเป็นกราฟของคลื่นหัวใจ

แล้วตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ บอกอะไรได้บ้าง? สำหรับการตรวจ EKG คือวิธีสำคัญที่แพทย์ใช้วิเคราะห์การทำงานของหัวใจ ตรวจจับความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจ เพื่อเช็คว่ามีสัญญาณของภาวะหัวใจขาดเลือดหรือภาวะหัวใจโตรวมถึงเช็คในเรื่องของและโรคหัวใจอื่น ๆ ได้อีกด้วย

 

รู้ได้ไงว่าควรเข้ารับการตรวจ EKG? ใครต้องตรวจบ้าง? 

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

สำหรับการตรวจ EKG จะเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันและเฝ้าระวังโรคหัวใจได้ดี ยิ่งถ้ามีอาการหรือปัจจัยเสี่ยงควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะว่าหากมีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ อาจจะร้ายแรงมากจนถึงขั้นอันตรายต่อชีวิตได้เลย ส่วนคนที่มีความเสี่ยงและควรรับการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจคร่าว ๆ มีดังนี้

  • อาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจอยู่แล้ว เช่น เจ็บหน้าอก ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม หน้ามืด หรือเวียนหัวบ่อย
  • คนที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อนหน้า เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจขาดเลือด หรือหัวใจโต
  • มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจโดยเฉพาะหากมีคนในครอบครัวเคยเป็นโรคหัวใจก่อนวัยอันควร ต้องเข้ารับการตรวจไว้ก่อนเพื่อป้องกัน
  • คนออกกำลังกายหนักหรือเป็นนักกีฬาอาชีพเพื่อประเมินสุขภาพหัวใจก่อนทำกิจกรรมที่ใช้ร่างกายหนัก
  • ผู้ที่ใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อหัวใจ เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูงหรือยาที่ควบคุมจังหวะหัวใจ

 

รู้จักขั้นตอนการตรวจ EKG ให้มากขึ้น

หลังจากที่รู้ปัจจัยเสี่ยงมาคร่าว ๆ แล้วในส่วนของขั้นตอนการตรวจ EKG แนะนำให้เลือกโรงพยาบาลที่มีคุณภาพสูง และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้บริการ โดยขั้นตอนการตรวจแบบทั่วไปมีดังนี้

  1. ก่อนตรวจผู้เข้ารับการตรวจอาจจะต้องขอให้งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือหยุดยาบางชนิดที่มีผลต่อจังหวะหัวใจแต่จะขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์และควรสวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการติดขั้วไฟฟ้า 
  2. ผู้เข้ารับการตรวจจะถูกขอให้นอนราบบนเตียงในท่าที่สบายและเจ้าหน้าที่จะติดขั้วไฟฟ้า บนหน้าอก แขน และขา โดยขั้วไฟฟ้านี้จะรับสัญญาณไฟฟ้าจากหัวใจ
  3. ในการบันทึกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจเครื่อง EKG จะบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีซึ่งผู้เข้ารับการตรวจต้องอยู่นิ่ง ๆ และหายใจตามปกติระหว่างการบันทึก 
  4. สำหรับการถอดขั้วไฟฟ้าเมื่อบันทึกข้อมูลเสร็จแล้วเจ้าหน้าที่จะถอดขั้วไฟฟ้าออกและทำความสะอาดบริเวณที่ติดอุปกรณ์ผู้เข้ารับการตรวจสามารถกลับไปทำกิจกรรมตามปกติได้ทันที 
  5. หลังจากนั้นแพทย์วิเคราะห์ผลการตรวจจากกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ได้จะถูกนำไปวิเคราะห์โดยหากพบความผิดปกติอาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติมหรือรับคำแนะนำในการรักษาต่อไป

 

ทำไมต้องตรวจ EKG สำคัญยังไง?

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่ออะไร

การตรวจ EKG คืออีกหนึ่งวิธีที่ปลอดภัย ไม่เจ็บปวด และให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจ หากมีอาการผิดปกติหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง โดยประโยชน์ของการตรวจ EKG มีดังนี้

  • ช่วยตรวจจับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจสามารถบอกได้ว่าหัวใจเต้นเร็วเกินไป ช้าเกินไปหรือเต้นไม่สม่ำเสมอ
  • วินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดได้รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจตาย เพราะระบุว่าหัวใจได้รับออกซิเจนเพียงพอหรือไม่
  • ช่วยวิเคราะห์ภาวะหัวใจโต ได้โดยการตรวจดูว่าหัวใจมีขนาดปกติหรือโตผิดปกติซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูง
  • ใช้ติดตามผลการรักษาโรคหัวใจ เช่น ประสิทธิภาพของยาหรือผลกระทบจากการทำหัตถการเกี่ยวกับหัวใจ
  • ช่วยวิเคราะห์ผลข้างเคียงจากยาเพราะว่ายาบางประเภทอาจมีผลต่อจังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งสามารถตรวจพบได้ผ่าน EKG เช่นกัน
  • ประเมินความเสี่ยงก่อนการผ่าตัดอันนี้แพทย์จะใช้เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจเป็นอย่างมากเช่นผู้ที่มีประวัติความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ

 

ต้องตรวจ EKG บ่อยแค่ไหนเพื่อให้ปลอกภัย

ส่วนในเรื่องของความถี่ในการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ สุขภาพหัวใจและอาการที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรตรวจบ่อยแค่ไหนเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคหัวใจได้อย่างครบถ้วน โดยสามารถแบ่งคร่าว ๆ ได้ดังนี้

  • คนทั่วไปที่ไม่มีอาการผิดปกติถ้าไม่มีปัจจัยเสี่ยงหรืออาการผิดปกติ ไม่จำเป็นต้องตรวจ EKG เป็นประจำ อาจจะตรวจในช่วงตรวจสุขภาพประจำปีหรือทุก 3-5 ปี ตามแพทย์สั่ง
  • คนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจควรตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือบ่อยกว่านั้น และถ้ามีความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูง แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจ EKG บ่อยขึ้นได้ 
  • คนที่มีอาการผิดปกติทางหัวใจที่มีอาการ เจ็บหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ วิงเวียน หน้ามืดบ่อย ๆ ควรเข้ารับการตรวจทันทีอาจต้องตรวจ EKG หลายครั้งตามอาการที่เกิดขึ้น 
  • ผู้ที่เคยมีภาวะหัวใจผิดปกติหรือเป็นโรคหัวใจควรตรวจตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งอาจเป็นทุก 3-6 เดือน หรือบ่อยขึ้นหากมีอาการผิดปกติ หรือแพทย์อาจจะใช้ในการติดตามผลการรักษา เช่น หลังจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นต้น 
  • ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดบางรายก่อนการผ่าตัดแพทย์มักแนะนำให้ตรวจ EKG เพื่อประเมินความเสี่ยงของหัวใจโดยความถี่ในการตรวจขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัดและสุขภาพหัวใจของผู้ป่วย

 

รวบรวมข้อมูล EKG ที่ควรรู้

สรุปสั้น ๆ EKG คือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วัดและบันทึกสัญญาณไฟฟ้าที่ควบคุมการเต้นของหัวใจที่จะช่วยให้แพทย์สามารถประเมินภาวะการทำงานของหัวใจ ตรวจหาความผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือภาวะหัวใจขาดเลือดหรือโรคหัวใจอื่น ๆ ได้อย่างแม่นยำในการตรวจ EKG มีความสำคัญมากเพราะเป็นวิธีที่รวดเร็ว ปลอดภัย และไม่เจ็บปวด ใช้เพื่อวินิจฉัยและติดตามโรคหัวใจ ช่วยเฝ้าระวังสุขภาพหัวใจของผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 

นอกจากนี้ยังใช้ในการประเมินความพร้อมก่อนการผ่าตัด การตรวจ EKG สำหรับคนที่ไม่มีอาการผิดปกติอาจตรวจระหว่างการตรวจสุขภาพประจำปี ส่วนผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือโรคหัวใจควรตรวจตามคำแนะนำของแพทย์ก็เพียงพอ

แก้ไขครั้งที่ 2 โดย GUEST1649747579 เมื่อเมื่อวาน 19.47 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา