มาทำความรู้จักกับวิธีรักษาไมเกรนยังไงให้หายขาด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำรอย!

GUEST1649747579

ขีดเขียนดีเด่น (371)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:694
เมื่อ 27 มีนาคม พ.ศ. 2566 12.08 น.

วิธีรักษาไมเกรนให้หายขาด

ไมเกรนรักษาหายไหม เป็นอีกหนึ่งคำถามสำหรับหลาย ๆ คนที่กำลังประสบปัญหาจากโรคไมเกรนที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตจำประวัน เพราะหากยิ่งเพิกเฉยกับการรักษาไมเกรนไว้นานมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ยิ่งสร้างความทรมาณให้แก่ผู้ที่เป็นโรคไมเกรนไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งในบทความนี้จะมาบอกถึงวิธีรักษาไมเกรนให้หายขาด โดยที่คุณอาจจะไม่ต้องพึ่งยาแก้ไมเกรน แต่จำเป็นจะต้องรู้จักกับวิธีบำบัดและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกนั่นเอง


 

มีวิธีการป้องกันเพื่อรักษาไมเกรนอย่างไรบ้าง?

 

วิธีรักษาไมเกรนด้วยตนเอง

พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ที่เป็นไมเกรนก็มีส่วนร่วมในการกระตุ้นให้เกิดปวดหัวไมเกรนขึ้นมาได้ โดยเราสามารถหลีกเลี่ยงอาการปวดศีรษะและรักษาไมเกรนได้ด้วยตนเองได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการนอนดึก และนอนพักในที่มืดและเงียบสงบ
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรน
  • ลดอาการเครียด ด้วยการทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายสมอง เช่น ฟังเพลง หรือทำกิจกรรมที่คุณชอบ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีแสงสว่างจ้าจนแสบตาเป็นเวลานาน ๆ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีเสียงอึกทึกครึกโครม
  • การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ลดทานอาหารประเภทที่อาจทำให้อาการปวดศีรษะจากไมเกรนกำเริบ เช่น เนย ช็อกโกแลต ถั่ว อาหารหมักดอง เป็นต้น เนื่องจากเป็นอาหารที่สามารถไปกระตุ้นไมเกรนได้
  • ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น ไวน์ เบียร์ และเหล้า เป็นต้น
  • อย่าปล่อยให้ตัวเองหิวจัด หรืออดอาหารมากจนเกินไป
  • ประคบเย็นบริเวณศีรษะ เมื่อเกิดอาการปวดไมเกรน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่หักโหมจนเกินไป


 

สามารถรักษาไมเกรนเบื้องต้นอย่างไรได้บ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก

 

วิธีรักษาไมเกรนเบื้องต้น

ถึงแม้ว่าอาการปวดหัวไมเกรนจะเป็นโรคที่กวนใจ แต่ก็มีทางที่จะสามารถรักษาไมเกรนได้ ซึ่งก่อนอื่นที่เราควรทำความรู้จักกับเจ้าโรคไมเกรนให้ดีเสียก่อน เพื่อให้รู้เท่าทันและสามารถป้องกันได้อย่างถูกวิธี

1. อาการไมเกรนเป็นอย่างไร

 

ผู้ที่เป็นไมเกรน สามารถสังเกตลักษณะอาการปวดหัวได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • มักปวดหัวตุบ ๆ บริเวณขมับ อาจปวดร้าวมาที่กระบอกตาหรือท้ายทอยและปวดหัวข้างเดียว หรือบางรายอาจปวดหัวทั้งสองข้าง ปวดเป็นระยะ ๆ แต่มีบางคราวที่ปวดแบบตื้อ ๆ สลับข้าง
  • อาการนำจะเป็นอาการทางสายตา โดยจะมีอาการนำมาก่อนปวดศีรษะราว 10-20 นาที เช่น เห็นแสงเป็นเส้น ๆ ระยิบระยับ แสงจ้าสะท้อน หรือเห็นภาพบิดเบี้ยวนำมาก่อน
  • ในส่วนมากลักษณะอาการปวดมักมีความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก โดยจะค่อย ๆ ปวดมากขึ้นทีละน้อยจนกระทั่งปวดรุนแรงเต็มที่แล้วค่อย ๆ บรรเทาอาการปวดลงจนหาย
  • ขณะที่ปวดหัวมักมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียน และมีอาการแพ้แสงและแพ้เสียงร่วมด้วย

2. ทำความรู้จักโรคไมเกรน

 

หลาย ๆ คนต่างหาสาเหตุว่าทำไมถึงเป็นโรคไมเกรน ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับโรคไมเกรนให้ดีเสียก่อน เพื่อที่จะได้รู้เท่าทัน และสามารถรักษาไมเกรนได้อย่างถูกวิธี

ไมเกรน คือ โรคทางประสาทวิทยาชนิดหนึ่ง ที่จะส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวตุบ ๆ ข้างใดข้างหนึ่งที่จะค่อย ๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้น หรือในบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อย่างเช่น คลื่นไส้ อาเจียน และภาวะไวต่อการรับรู้แสง เสียง หรือกลิ่นที่สัมผัสร่วม เป็นต้น ซึ่งเกิดจากความผิดปกติชั่วคราวของระดับสารเคมีในสมอง ทำให้ก้านสมองถูกกระตุ้น หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองมีการบีบและคลายตัวมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดหัว หรือมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน จากก้านสมองที่ถูกกระตุ้นได้

โดยจะมีแนวทางการรักษาอาการไมเกรนที่สามารถแยกออกเป็น 2 วิธี ดังนี้

  1. การรักษาไมเกรนแบบไม่ใช้ยา ไม่ว่าจะเป็นการประคบเย็น การนวด กดจุด การนอนพัก การนั่งสมาธิ หรือ การคลายเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถือเป็นวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้นไปในตัว
  2. การรักษาไมเกรนแบบใช้ยา โดยใช้ยาแก้ปวดไมเกรน เช่น
  • ยาบรรเทาอาการปวดกรณีอาการไม่รุนแรง ผู้มีอาการสามารถใช้แอสไพริน ไอบูโพรเฟน พาราเซตามอล หรือยาแก้ปวดอื่นๆ ช่วยลดอาการปวดไมเกรนได้
  • ยาบรรเทาอาการปวดสำหรับอาการปวดที่รุนแรงขึ้น ซึ่งเป็นยาแก้ปวดสำหรับผู้มีอาการปวดไมเกรนโดยเฉพาะ ได้แก่ ยาเออร์กอต (Ergots) 
  • ยาสำหรับบรรเทาอาการแก้ไมเกรน และอาการอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น อาการคลื่นไส้ อาการไวต่อแสงและเสียง ยาประเภทนี้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถบรรเทาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ยากลุ่มทริปแทน (Triptans) มีทั้งประเภทยาเม็ด ยาพ่น และยาฉีด เช่น ยาซูมาทริปแทน ยาริซาทริปแทน ยาอีลีทริปแทน เป็นต้น

สรุป

 

จะเห็นได้ว่าโรคไมเกรนสามารถรักษาได้ด้วยการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ ไม่เคร่งเครียดมากจนเกินไป ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยบรรเทาจากอาการไมเกรนได้ไม่แพ้การรับประทานยาเลย โดยในปัจจุบันนั้น ยังไม่มีการรักษาอาการไมเกรนให้หายขาด ทำได้เพียงบรรเทาและป้องกันเท่านั้น แต่หากมี

แก้ไขครั้งที่ 1 โดย GUEST1649747579 เมื่อ27 มีนาคม พ.ศ. 2566 12.09 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา