Smart Grid ไฟฟ้าอัจฉริยะ โครงสร้างสำคัญของเมืองอัจฉริยะ

GUEST1649747579

ขีดเขียนดีเด่น (372)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:696
เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 04.37 น.

smart grid

ความเจริญในเมืองที่มีประชากรอาศัย ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง การศึกษา, โทรคมนาคม, เศรษฐกิจ, การบริหาร ไปจนถึงฟันเฟืองชิ้นใหญ่ นั่นก็คือระบบไฟฟ้าและทรัพยากร ที่เป็นตัวขับเคลื่อนบ้านเมืองให้สามารถอยู่อาศัยหรือประกอบธุรกิจได้ โดย Smart Grid หรือไฟฟ้าอัจฉริยะ เป็นแนวทางการพัฒนาระบบภายในของเมืองให้ขับเคลื่อนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งช่วยลดการใช้ทรัพยากรได้ ซึ่งบทความนี้จะมาอธิบาย Smart Grid แบบเจาะลึก พร้อมยกตัวอย่างเมืองที่วางระบบ Smart Grid ว่ามีผลลัพธ์เช่นไร



Smart Grid คืออะไร

Smart Grid คือโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่เป็นการเสริมหรือปรับแต่งระบบไฟฟ้าให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ทั้งการจ่ายพลังงานที่มีระบบและข้อมูลอันแม่นยำ อัปเดตข้อมูลตลอดเวลา เน้นนำเทคโนโลยีมาช่วยลดการใช้พลังงาน รวมไปถึงทรัพยากรที่ประยุกต์ใช้ออกมาให้มีความปลอดภัย เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างถูกต้องแล้วนำมาแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอุปกรณ์อัตโนมัติในการอำนวยความสะดวกกับประชากรและการผลิต โดยมีตัวแปรสองอย่างที่ทำให้เกิด Smart Grid นั่นก็คือระบบโครงข่ายไฟฟ้า และเทคโนโลยีระบบสื่อสารสารสนเทศ 

ไฟฟ้าอัจฉริยะ ในแง่ของการจัดการด้านพลังงาน ถือเป็นเรื่องที่หลายคนมองข้าม เพราะการมี Smart Grid อาจจะดูเป็นอะไรที่จับต้องยาก และอาจจะไม่ทำให้ประชากรรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงได้ในระยะสั้น เพราะ Smart Grid ในระยะเริ่มต้น คือการรื้อระบบการจัดการด้านพลังงานก่อน เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและปัญหาจากชุมชนมากพอ ก็จะนำเอาเทคโนโลยีที่ผนวกเข้ากันกับแนวทางของโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะมาใช้ ชุมชนก็จะเริ่มพัฒนามากขึ้น เช่นการนำเอาอุปกรณ์อัตโนมัติเข้ามาช่วยตัดสินใจ ดูแลความปลอดภัยต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการจ่ายพลังงานที่จำเป็นและทั่วถึง



Smart Grid สำคัญอย่างไร

 

smart grid สำคัญอย่างไร

ความสำคัญของ Smart Grid คือการจัดการระบบไฟฟ้าที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน ด้วยความที่ระบบไฟฟ้า มีความล้าสมัยต่างจากระบบอื่น ๆ การผลิตไฟฟ้าจึงเป็นการสร้างพลังงานโดยไม่สนใจแง่ของผลกระทบ รวมไปถึงปัญหาขัดข้องด้านไฟฟ้าที่ยังจัดการได้ไม่ดีพอ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะเป็นตัวฉุดรั้งนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีข้อจำกัดในด้านพลังงานไฟฟ้าเข้ามา ส่งผลตั้งแต่ประชากรจนไปถึงเศรษฐกิจได้



Smart Grid มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

 

smart grid ประโยชน์

ประโยชน์ของ Smart Grid หากมองให้กว้าง การพัฒนาหรือประยุกต์ระบบไฟฟ้า จะส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชากรดีขึ้นเป็นอย่างมาก เพราะผู้คนจะสามารถดำเนินชีวิตได้สะดวกรวดเร็วขึ้น ลดปัญหาไฟฟ้าขัดข้อง ส่งเสริมธุรกิจ การศึกษา และการท่องเที่ยวให้เมืองน่าอยู่ ปลอดภัย สามารถสร้างพลังงานได้เอง ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งประโยชน์ของ Smart Grid มีอะไรบ้าง เราได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้


ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

เน้นนำการผลิตไฟฟ้าที่ปลอดภัยต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้ไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ปรับแต่งนโยบายการใช้พลังงานให้สมเหตุสมผล โดยให้ภาครัฐช่วยในการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน Smart Grid จะส่งเสริมชุมชนให้มีการผลิตไฟฟ้าใช้เอง และสามารถนำพลังงานไฟฟ้าออกมาจำหน่ายได้ รวมไปถึงการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยในชุมชนอย่างทั่วถึง


ด้านระบบไฟฟ้า

Smart Grid จะเป็นระบบที่ช่วยลดปัญหาการขัดข้องในการจ่ายไฟ หรือเหตุอันไม่คาดฝันที่ทำให้ไฟฟ้าเกิดการขัดข้อง Smart Grid จะปรับปรุงระบบให้กลับมาใช้ได้ในระยะเวลาอันสั้น รวมไปถึงการเดินสายกระจายไฟฟ้าที่ให้ประสิทธิภาพสูงจากระบบสื่อสาร ที่คล่องตัวและทั่วถึงมากขึ้น เพิ่มศักยภาพให้กับชุมชนและเมืองที่ตั้งอย่างมีคุณภาพ ให้ก้าวหน้าสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะที่รองรับประชากรที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับพลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการทุกพื้นที่ได้


ด้านเศรษฐกิจ

หลายคนอาจสงสัยว่าระบบไฟฟ้าด้านเศรษฐกิจใน Smart Grid มีอะไรบ้าง เพราะสามารถแบ่งแยกย่อยได้อีกมากมาย โดยเราได้สรุปออกมาคร่าว ๆ เริ่มจากภาคการลงทุน การมี Smart Grid จะเปิดโอกาสให้ธุรกิจเติบโต พร้อมนำธุรกิจใหม่ ๆ เข้ามา เปิดโอกาสให้เกิดลู่ทางที่สร้างรายได้แบบใหม่ผ่านการใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ และภาคอุตสาหกรรม ที่มักมีผลกระทบเมื่อเกิดการขัดข้องทางไฟฟ้า ทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมสูญเสียมูลค่าใหญ่หลวง การมี Smart Grid จะช่วยสร้างแนวทางการควบคุมและป้องกันการขัดข้องทางไฟฟ้าได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถดำเนินงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพกว่าเดิมหลายเท่า



Smart Grid กับระบบไฟฟ้าปัจจุบัน ต่างกันอย่างไรบ้าง

ระบบไฟฟ้าปัจจุบัน ถึงแม้จะยังสามารถกระจายพลังงานได้อย่างทั่วถึงแล้ว แต่ก็ยังติดปัญหาของการจัดการระบบโครงข่ายที่ยังมีปัญหา สังเกตได้จากสายไฟที่ระโยงระยาง รวมไปถึงการซ่อมบำรุงที่ต้องแก้ไขอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งปัญหาทั้งหมดเป็นเพียงเบื้องหน้าเท่านั้น เพราะเบื้องหลังของระบบไฟฟ้าในปัจจุบันนั้น เกิดจากการมีศูนย์กลางการกระจายพลังงานเพียงจุดเดียว 

อธิบายอย่างละเอียดคือเราอาศัยพลังงานจากโรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียวต่อชุมชน นั่นทำให้เมื่อเกิดการขัดข้อง เราจะไม่สามารถยืมพลังงานจากที่อื่นมาใช้ได้เลย อีกทั้งนโยบายการผลิตไฟฟ้าก็ยังมีความจำกัดอยู่ ซึ่งน้อยคนนักที่จะมีกำลังในการผลิตพลังงานใช้เอง รวมไปถึงการนำเอาอุปกรณ์ที่มีระบบคำนวณหรือประเมินแบบอัตโนมัติมาใช้งานกับโครงข่ายไฟฟ้า แม้จะมีใช้บ้าง แต่ไม่มากพอและไม่ทั่วถึง

ดังนั้น Smart Grid จึงมีหน้าที่แก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป ด้วยการจัดการข้อมูล นำมาประเมินผล แล้วตกผลึกเป็นนโยบายในการจัดการระบบไฟฟ้าและพลังงาน ทั้งนำเอาอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสำคัญเข้ามาช่วย สร้างระบบให้ชัดเจนขึ้นตามแนวทางการบริหาร และสร้างศูนย์กระจายพลังงานให้สามารถใช้พลังงานหมุนเวียนได้ ให้ประชากรได้มีบทบาทในการช่วยผลิตพลังงานทดแทนพร้อมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี เช่นโรงงานไฟฟ้ากังหันลม หรือใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เป็นต้น



ตัวอย่าง Smart Grid

ประเทศไทย ต้องการที่จะสร้าง Role Model ของ Smart Grid โดยมีการร่วมมือกันของภาครัฐและหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งเราเรียกว่า การนำร่องแก้ไขระบบโครงข่ายเพื่อสร้างไฟฟ้าอัจฉริยะ แน่นอนว่าการริเริ่มใช้ Smart Grid ไม่ได้สามารถหยิบตัวอย่างเมืองจากต่างประเทศแล้วทำได้เลย เพราะเราต้องประเมินทั้งข้อมูล ทรัพยากร และสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง เพื่อนำไปสู่สูตรสำเร็จของการสร้าง Smart Grid ที่ได้ประสิทธิภาพต่อไป โดย Smart Grid ตัวอย่างเหล่านี้ เป็นพื้นที่ริเริ่มที่น่าเรียนรู้ที่สุด เริ่มจาก


โครงการ Smart Grid แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน เป็นตัวอย่างของพื้นที่สีเขียว อันเต็มไปด้วยภูเขาและถิ่นอนุรักษ์ ทำให้การเข้าถึงระบบไฟฟ้าเป็นไปอย่างยากลำบาก จึงมีนโยบายเพื่อการพัฒนาและผลิตไฟฟ้าในจังหวัด แต่ด้วยการที่ กฟภ.ยังไม่สามารถเข้าถึงได้อย่างเต็มที่ ทำให้เกิดการขาดแคลนทางด้านพลังงานไฟฟ้า

กฟภ.จึงริเริ่มสร้างระบบโครงข่าย Smart Grid กลางอำเภอเมือง เน้นนำระบบ Microgrid เข้ามาใช้ ซึ่งเป็นการสร้างไฟฟ้าแรงดันต่ำ กักเก็บพลังงานอัตโนมัติ ที่ควบคุมด้วยระบบสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไว้ด้วยกัน


โครงการ Smart Grid พัทยา

กฟภ.ได้ริเริ่มสร้างโครงการ Smart Grid แห่งแรกที่นี่ ด้วยความที่พัทยาเป็นเมืองที่มีความหนาแน่นใดด้านประชากร การใช้พลังงาน รวมไปถึงการประกอบธุรกิจในจังหวัดชลบุรี โดยเมืองนี้อาจไม่ได้มีปัญหาด้านพลังงาน แต่ด้วยปัจจัยของความหนาแน่นเหล่านี้ จึงสามารถทดลองระบบ Smart Grid ได้ เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนที่สุด อีกทั้งพัทยายังเป็นเมืองที่อยู่ในโครงการพัฒนาเมืองให้เป็น Smart CIty อยู่แล้ว จึงจำเป็นต้องนำ Smart Grid เข้ามาใช้



สรุปเรื่อง Smart Grid

 

smart grid สรุป

 

โดยสรุปแล้ว Smart Grid คือสิ่งที่จำเป็นต่อโลกอนาคต ที่ซึ่งต้องการพลังงานหมุนเวียนและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น แน่นอนว่าในบางพื้นที่อาจจะยังไม่มีระบบนี้ แต่เราสามารถเริ่มต้นที่ตัวเองก่อนได้เลย หากต้องการคำปรึกษาหรือหาแนวทางที่จะทำให้องค์กร หรือธุรกิจก้าวหน้าพร้อมกับ Smart City ในอนาคต ติดต่อ NT National Telecom บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ที่พร้อมให้คำปรึกษา และชี้แนวทางการสร้าง Smart Grid ด้วยเครื่องมือที่เรามี 

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ที่ NT Metro Service

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา