ฟิลเลอร์ สารเติมเต็มความสวยที่คุณสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยและเห็นผลไว

GUEST1649747579

ขีดเขียนดีเด่น (367)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:690
เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 18.47 น.

ฟิลเลอร์

หากคุณเป็นคนที่รักความสวยความงาม คุณน่าจะเคยได้ยินคำว่า ฟิลเลอร์ หรือ filler กันมาบ้าง แต่อาจจะยังไม่รู้ว่า Filler คืออะไร แล้วมีประโยชน์อย่างไร รวมถึงควรฉีดเมื่อไหร่แล้วถ้าฉีดแล้ว จะต้องดูแลตัวเองอย่างไร วันนี้ เรามีข้อมูลดี ๆ มาฝากกัน



แล้วฟิลเลอร์คืออะไร 

ฟิลเลอร์ หรือ filler คือ สารเติมเต็มผิวประเภทไฮยาลูโรนิค แอซิด ( Hyaluronic Acid ) หรือ HA ซึ่งเป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่มีความปลอดภัยสูงมีคุณสมบัติช่วยกักเก็บน้ำและความชุ่มชื้น (Hydration)

การฉีดฟิลเลอร์เป็นการเติมเต็มหรือเสริมในชั้นผิวหนังและเพิ่มความยืดหยุ่นใต้ผิวหนัง (Increase Elasticity) เต่งตึง ดูสุขภาพดี เรียบเนียนช่วยลดริ้วรอย และยังสามารถนำมาใช้ในการปรับแก้ไขรูปหน้าให้สวยงาม เช่น ปรับคางให้ดูยาวขึ้น แก้ปัญหาคางตัด คางถอย และช่วยปรับรูปปากกระจับ ปากสายเกา และทรงอื่น ๆ ตามต้องการได้อีกด้วย



ฟิลเลอร์มีหลายประเภท

 

ประเภทฟิลเลอร์

ฟิลเลอร์ (filler) ที่เราเห็นกันนั้น มีหลากหลายประเภท แล้วแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง เรามาหาคำตอบกัน

Poly-L-lactic acid

กรดโพลี แอล แลคติก  (Poly L lactic acid หรือ PLLA) คือ สารอุ้มน้ำที่มีความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อในร่างกายและสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ  PLLA เป็นฟิลเลอร์ (filler) ที่ใช้ได้ผลอยู่นานกว่าไฮยารูลอนิกแอซิด ให้ผลลัพธ์ยาวนานถึง 2-4 ปี

ใช้ในวงการแพทย์อย่างแพร่หลาย เช่น ไหมละลายและตะปูเกลียวยึดกระดูก ผลจะอยู่ได้ถึง 2 ปี เป็นฟิลเลอร์ที่ได้ผลนานที่สุดในประเภทของฟิลเลอร์ที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้


Calcium hydroxylapatite

แคลเซียม ไฮดรอกซีอะพาไทท์ (Calcium Hydroxyapatite หรือ CaHA) คือ แร่ธาตุชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ในกระดูกและฟันของมนุษย์ ฟิลเลอร์ (filler) ชนิดนี้สามารถฉีดเพื่อแก้ไขปัญหาบนใบหน้าและมือได้ เนื่องจากอนุภาคของ CaHA จะเข้าไประงับปัญหาริ้วรอย โดยเปลี่ยนสภาพเป็นเหมือนเนื้อเจลชั่วคราว ผลอยู่ได้นาน 18 เดือน

เมื่อ CaHA เข้าไปอยู่ในร่างกายแล้ว จะทำให้ผล X-rays ดูคลุมเครือ จึงต้องแจ้งแพทย์ก่อนทุกครั้งเพื่อป้องกันการอ่านผล X-rays ที่ผิดพลาด  นอกจากการฉีดบนใบหน้าและมือแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในการเติมหน้าอกและสะโพกได้อีกด้วย ผลการรักษาอยู่ได้นาน 2 ปี


Polymethyl-methacrylate microspheres 

โพลีเมธิลเมธาไครเลต บีทส์ (Polymethylmethacrylate beats หรือ PMMA microspheres) เป็นสารเติมเต็มจำพวก ซิลิโคน หรือ พาราฟิน คือ พลาสติกสังเคราะห์ เป็นสารสังเคราะห์เช่นเดียวกับ PLLA ที่มีความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อในร่างกาย แต่ไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ เป็นวัสดุสำหรับผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ อย่างซีเมนต์กระดูก (Bone Cement) และเลนส์แก้วตาเทียม (Intraocular Lens หรือ IOL) 

เม็ด PMMA มีลักษณะเป็นเม็ดกลมเรียบและมีขนาดที่เล็กมาก และร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้ จะถูกทำให้เป็นเนื้อเจลด้วยการผสมกับคอลลาเจนวัว (Bovine collagen) ก่อนที่จะฉีดเข้าผิวหน้า  ข้อเสีย คือ การเอาออกหรือไม่สามารถทำการฉีดสลายฟิลเลอร์ (filler) ได้ การเอาออกเพียงทางเดียวคือต้องตัดเนื้อเยื่อบริเวณนั้นออกไป


Polyalkylimide

สารเติมเต็ม Polyalkylimide คือ พลาสติกสังเคราะห์ เป็นสารเติมเต็มที่อยู่ในกลุ่มฟิลเลอร์ (filler) แบบกึ่งถาวร มักใช้สำหรับรอยย่นลึก เช่น ร่องจมูก หรือรอยแผลเป็น สามารถย่อยสลายได้บางส่วน แต่ก็ยังมีสารตกค้างอยู่ใต้ชั้นผิว หากต้องการนำฟิลเลอร์ออกต้องทำการขูดออกเท่านั้น ไม่สามารถฉีดยาสลายฟิลเลอร์ได้



ควรทำอย่างไรก่อนฉีดฟิลเลอร์

ในการเตรียมตัวก่อนฉีด filler มีข้อควรปฏิบัติดังนี้ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีและความปลอดภัย

  •  เราต้องศึกษาข้อมูลที่จำเป็น ในการเลือกคลินิกที่ได้มาตรฐาน เลือกหมอ เทคนิคในการทำ รวมถึงวิธีการสังเกตฟิลเลอร์แท้แต่ละยี่ห้อ เพื่อความปลอดภัยและมั่นใจว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดี คุ้มค่า
  • ควรงดยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ยาละลายลิ่มเลือด และวิตามิน St. Johns Wort, ginko biloba, garlic, ginseng และ Vitamin E  น้ำมันพริมโรส กระเทียม โสม สารสกัดจากใบแปะก๊วย เป็นต้น ประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนการฉีดฟิลเลอร์ เนื่องจากเป็นกลุ่มยาที่อาจส่งผลให้บวมง่าย ช้ำง่าย 
  • งดยาทาผลัดเซลล์ผิว การดึงหรือโกนขนบริเวณที่ต้องการฉีดฟิลเลอร์ เช่น Tretinoin (Retin-A), Retinols, Retinoids, Glycolic Acid หรือครีมในกลุ่ม Anti-Aging ทุกชนิด 1 สัปดาห์ก่อนฉีดฟิลเลอร์
  • งดคอร์สเลเซอร์และนวดหน้าอย่างน้อย 3 วัน 
  • หากมีโรคประจำตัวหรือยาที่ต้องรับประทานประจำควรแจ้งแพทย์ก่อนทำทุกครั้ง และงดดื่มแอลกฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนฉีดฟิลเลอร์
  • งดกิจกรรมที่ทำให้เลือดสูบฉีด เช่น ซาวน่า ออกกำลังกายชนิด Cardio อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนฉีดฟิลเลอร์
  • สามารถแจ้งเพื่อขอแปะยาชาและฉีดยาชาก่อนฉีดฟิลเลอร์ หรือขอฉีดยาชาอย่างเดียวก็ได้
  • หากมีผิวหนังอักเสบ หรือติดเชื้อ ในบริเวณที่ต้องการฉีดฟิลเลอร์แนะนำปรึกษาแพทย์ก่อน
  • แพทย์จะพิจารณาให้กินยาห้ามเลือดหรือฉีดยาลดบวมในบางเคส เพื่อลดความเสี่ยงในการบวมช้ำ อักเสบติดเชื้อ



ฉีดฟิลเลอร์แล้ว ควรทำอย่างไร

 

หลังฉีดฟิลเลอร์

โดยปกติแล้วหลังฉีด filler มักจะไม่พบปัญหาใด ๆ และสามารถฟื้นตัวได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง หรืออย่างมากเพียง 2 - 3 วันเท่านั้น โดยมีข้อแนะนำในการดูแลตนเอง เมื่อกลับมาพักผ่อนที่บ้านดังนี้

  • หากก่อนทำไม่ได้กินยาฆ่าเชื้อ หลังทำควรรีบกินยาฆ่าเชื้อทันที นอกจากนี้ยังมียาแก้ปวด ลดบวมกลับไปให้ทานด้วย
  • ห้ามนอนราบในช่วง 2 - 3 วันแรก ต้องนอนให้ศีรษะสูงกว่าหน้าอก อาจใช้หมอนหนุน 2 ใบซ้อนกัน และไม่ควรนอนตะแคง โดยใช้หมอนข้างวางข้างลำตัวทั้งซ้ายและขวา เพื่อป้องกันการกดทับใบหน้า
  • ปรับอุณหภูมิห้องนอนให้อยู่ระหว่าง 18 - 23 °C ควรพักในที่ที่อากาศเย็น หลีกเลี่ยงความร้อนทุกชนิด และกิจกรรมที่ทำให้หน้าแดงอย่างน้อย 2 วัน เช่น ซาวน่า ตากแดด
  • ควรล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าหรือสบู่อ่อน ๆ ด้วยความระมัดระวัง และใช้เวลาในการล้างหน้าไม่เกิน 15 นาที
  • งดแต่งหน้าหรือใช้ครีมบำรุงผิว อย่างน้อย 2 วัน 
  • หลังฉีดฟิลเลอร์ 2 วัน สามารถโดนน้ำได้ และทาครีมบำรุงผิวบริเวณรอยเข็มได้
  • หลีกเลี่ยงการขยับใบหน้าเท่าที่ทำได้ โดยเฉพาะในช่วง 3 วันแรกอย่าขยับบริเวณในจุดที่ทำมากโดยเฉพาะช่วง  3 วันแรก เพราะอาจทำให้ฟิลเลอร์เคลื่อนได้
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสแตะ แกะ บีบ  เกา และกดนวดในบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ อาจมีอาการบวมแดงหรือเขียวช้ำเป็นปกติ จะค่อย ๆ ดีขึ้นใน 2-3 วัน 
  • ควรดื่มน้ำวันละ 1.5- 2 ลิตร หรือประมาณ 12 แก้ว ในช่วง 4 วันแรก เพื่อให้ผิวมีความชุ่มชื้น
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด งดสูบบุหรี่ งดรับประทานของหมักดอง ของดิบ และอาหารรสเผ็ดจัด หวานจัด อย่างน้อย 2 สัปดาห์ และในกรณีฉีดฟิลเลอร์ปากให้หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มร้อนด้วย เพราะจะทำให้ยุบบวมช้าและส่งผลการรักษาอยู่ได้สั้นลง
  • งดออกกำลังกายหนัก ๆ อย่างน้อย 1 เดือน
  • งดทำเลเซอร์ อบซาวน่า ที่ร้อนลงถึงชั้นผิวลึกทุกชนิด และไม่ควรประคบร้อน อย่างน้อย 1 เดือน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน และยาแก้อักเสบบางชนิด อย่างน้อย 1 สัปดาห์
  • งดรับประทานวิตามิน หรืออาหารเสริมเพราะอาจทำให้เสี่ยงกับภาวะช้ำง่าย เช่น วิตามินอี น้ำมันพริมโรส กระเทียม โสม สารสกัดจากใบแปะก๊วย อย่างน้อย 1 สัปดาห์
  • ควรกินยาตามที่เเพทย์จ่ายให้อย่างต่อเนื่องจนหมด เพื่อลดอาการบวมเเละป้องกันการติดเชื้อ
  • หากมีอาการเจ็บปวด หรือมีหนอง หรือมีอาการรุนแรงอื่น ๆ ให้รีบไปพบแพทย์



ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ภาวะแทรกซ้อนจากการฉีด filler ขึ้นอยู่กับความถูกต้องของการฉีดรักษาและประเภทของฟิลเลอร์ที่ใช้ ซึ่งฟิลเลอร์ชนิดถาวรนั้นจะมีความเสี่ยงสูงที่สุดและแพทย์บางคนอาจหลีกเลี่ยงที่จะเลือกนำมาฉีดให้คนไข้ โดยส่วนใหญ่หากฉีดฟิลเลอร์ที่ผ่านอย. มักไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง แต่จะมีผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ดังนี้

  • อาจมีรอยแดงหรือภาวะฟกช้ำจากเข็มผ่านเส้นเลือด ซึ่งจะหายไปเองได้ใน 2 - 3 วัน
  • อาจพบอาการบวมเล็กน้อย นูนเป็นก้อน และขรุขระซึ่งจะหายไปเองได้ใน 7 - 14 วัน ก่อนที่ฟิลเลอร์จะเข้าที่
  • อาการแพ้ฟิลเลอร์ ซึ่งพบได้ต่ำกว่า 1% โดยอาการที่เกิดอาจเป็นลมพิษ หรืออาจเกิดการอักเสบ เป็นก้อนบวมแดง  หรือการติดเชื้อเฉียบพลันให้รีบปรึกษาแพทย์
  • เส้นเลือดอุดตัน ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเนื้อตาย และอาจเข้าไปสู่เส้นเลือดที่เลี้ยงดวงตาทำให้ตาบอดได้หรือเกิดโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
  • มีหนองหรือน้ำเหลืองซึมจากการใช้ฟิลเลอร์ถาวร



สรุป

 

สรุปฉีดฟิลเลอร์

จะเห็นได้ว่า การฉีดฟิลเลอร์มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย ดังนั้น คนจึงนิยมฉีดเพื่อความสวยงาม และสร้างความมั่นใจให้แก่ตนเอง แต่เราก็ควรต้องศึกษาหาข้อมูลให้ดีว่า เราต้องการฉีดที่บริเวณใด เหมาะสมกับฟิลเลอร์ประเภทไหน และที่สำคัญ เราต้องเลือกสถานที่ที่ฉีดฟิลเลอร์ที่ได้รับมาตรฐาน แพทย์มีความเชี่ยวชาญและน่าเชื่อถือ

 

แก้ไขครั้งที่ 1 โดย GUEST1649747579 เมื่อ17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 18.48 น.

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา