รู้จักให้ชัวร์! คุณเข้าข่ายที่ควรไปตรวจภาวะมีบุตรยากหรือไม่

haileyb

ขีดเขียนชั้นอนุบาล (85)
เด็กใหม่ (0)
เด็กใหม่ (0)
POST:129
เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 15.46 น.

สำหรับคู่รักบางคู่ การได้มีลูกและอยู่กันอย่างพร้อมหน้าอาจเป็นหนึ่งในสิ่งที่ใฝ่ฝัน แต่จะทำอย่างไรเมื่อพยายามเท่าไรก็ยังไม่เห็นผล ลองตรวจเช็กให้ดีหรือยังว่าคุณประสบปัญหาภาวะมีบุตรยากหรือไม่? และถ้าใช่แล้วควรทำอย่างไร ไม่ต้องกังวลไป เพราะที่นี่มีคำตอบให้แล้ว 



เริ่มทำความรู้จัก ภาวะมีบุตรยาก

ก่อนจะทำการตรวจภาวะมีบุตรยาก ต้องมาทำความรู้จักกันให้ดีเสียก่อนว่าภาวะมีบุตรยากคืออะไร โดยภาวะมีบุตรยากหมายถึงภาวะที่คู่สมรสหรือคู่รักที่พยายามมีบุตรที่มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอและไม่มีการคุมกำเนิด ไม่สามารถมีบุตรได้ในระยะเวลา 1 ปี หรือในระยะเวลา 6 เดือนในกรณีที่ฝ่ายหญิงมีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป ซึ่งสาเหตุอาจเกิดได้จากทั้ง 2 ฝ่าย 

โดยในฝ่ายหญิงสามารถเกิดได้จากปัญหา เช่น ความผิดปกติของฮอร์โมน ความผิดปกติของท่อนำไข่ หรือความผิดปกติของมดลูก ที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตไข่และการมีลูก รวมถึงปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพใจทั้งความเครียด ความวิตกก็สามารถส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์อีกด้วย ส่วนสาเหตุจากฝ่ายชาย เกิดขึ้นได้ เช่น การมีจำนวนอสุจิน้อย มีปัญหาการหลั่งน้ำอสุจิ ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ หรือแม้แต่ปัญหาสุขภาพทั่วไป ก็อาจทำให้เกิดการสร้างตัวอสุจิน้อยลง

สรุปได้ง่าย ๆ ว่าปัจจัยที่มีผลต่อการมีภาวะมีบุตรยาก ได้แก่

  • ปัญหาการสร้างน้ำเชื้อของผิดปกติในฝ่ายชาย
  • ปัญหาจากโครงสร้างอวัยวะสืบพันธ์ภายในของฝ่ายหญิง
  • ภาวะไม่ตกไข่เรื้อรังที่ทำให้การตกไข่ไม่สม่ำเสมอ
  • อายุที่มากขึ้นที่ส่งผลให้รังไข่จะเริ่มเสื่อมจนจำนวนไข่และคุณภาพเริ่มลดน้อยลง

ซึ่งก็ยังมีปัจจัยประกอบอื่น ๆ อีก เช่น ปัญทางสุขภาพร่างกาย หรือพฤติกรรมทั้งการสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์ รวมถึงความเครียดก็ส่งผลเช่นกัน

 

การตรวจภาวะมีบุตรยาก

สำหรับผู้หญิง จะเน้นการตรวจภาวะมีบุตรยากที่มดลูก ท่อนำไข่ ฮอร์โมนเพศ เพื่อดูว่ามีความเกี่ยวข้องกับการปฏิสนธิและฝังตัวของตัวอ่อนที่ผิดปกติอยู่หรือไม่ หรือมีภาวะใดที่ส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อนหรือไม่

สำหรับผู้ชายจะเน้นการตรวจภาวะมีบุตรยากที่น้ำเชื้อ ซึ่งคือการตรวจความสมบูรณ์ของเชื้ออสุจิ ว่ามีปริมาณ ความเร็วในการเคลื่อนที่ และมีขนาด รูปร่าง สมบูรณ์ดีหรือไม่ ซึ่งในการตรวจน้ำเชื้อ จะต้องงดการมีเพศสัมพันธ์และหลั่งอสุจิอย่างน้อย 2-3 วันก่อนรับการตรวจ รวมถึงงดดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติดทุกชนิด และทำการพักผ่อนให้เพียงพอ

เมื่อทำการตรวจภาวะมีบุตรยากและพบว่าตัวเองกำลังประสบปัญหา สิ่งที่ควรทำต่อมาคือการตั้งสติ ให้กำลังใจ และพูดคุยกันระหว่างคู่รักว่าจะทำอย่างไรต่อ หากยังต้องการมีบุตรก็ยังมีทางออกอีกมากมาย เพียงปรึกษากับแพทย์ประจำคลินิกมีบุตรยาก

โพสตอบ

* ต้องล็อกอินก่อนครับ ถึงสามารถเโพสตอบได้

 
รอสักครู่กำลังโหลดข้อมูล
ข้อความ : เลือกเล่นเสียง
สนทนา